หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์
หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน องค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์สาม สร้างราวพุทธศักราช ๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชร มิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คน มาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช ๑๖๐๐ อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)
16.4569421, 99.3907181
เผยแพร่เมื่อ 12-04-2021 ผู้เช้าชม 364
ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี
16.4861611, 99.4914297
เผยแพร่เมื่อ 12-04-2021 ผู้เช้าชม 722
หลวงพ่ออุโมงค์
16.4861611, 99.4936184
เผยแพร่เมื่อ 12-04-2021 ผู้เช้าชม 377
-
ฐานข้อมูล - 104 ประวัติ
- 151 แหล่งท่องเที่ยว
- 36 บุคคลสำคัญ
- 93 ประเพณี/วัฒนธรรม
- 121 พระเครื่อง
- 59 ตำนาน/วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 86 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 92 อาหารพื้นบ้าน/ขนมพื้นบ้าน
- 135 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 115 ร้านอาหาร/กาแฟ
- 58 โบราณวัตถุ
- 97 หน่วยงานราชการ
- 169 โรงแรม/ที่พัก
- 24 ของฝาก
- 19 การท่องเที่ยวตำบลบ้านคลองน้ำไหล
ชุมชนโบราณบ้านสระตาพรม ตำบลดอนแตง พบบริเวณที่มีคันดินล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่และเล็กสลับกันรวม 5 แห่ง พื้นที่ 2 ใน 3 ของแหล่งโบราณคดีเหล่านี้คื
เจดีย์เจ็ดยอด เป็นกลุ่มเจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไป
แม่พิมพ์ดินเผา (พระเเผง) ศิลปะรัตนโกสินทร์(พุทธศตวรรษที่15)พระครูวิมลวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดคูยาง จังหวัดกำเเพงเพชร