ชำมะนาด

ชำมะนาด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้ชม 2,032

[16.4258401, 99.2157273, ชำมะนาด]

 

ชื่ออื่น : ชำมะนาดกลาง, ชมมะนาด, ดอกข้างใหม่, อ้มส้าย, ชำปะนาด, หางเม้นเครือ, หญ้าช้างย้อย, อุ่มฟูม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vallaris glabra Ktze.
ชื่อวงศ์ :  APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
      ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว
      ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร
      ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร
       ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยาง, ดอก
สรรพคุณชำมะนาด :
       ยางรสร้อนเมา ใส่แผลสด ช่วยสมานแผลและห้ามเลือด
       ดอกรสเมาเบื่อร้อน ช่วยถ่ายน้ำเหลือง ทำให้อาเจียน มีฤทธิ์ถ่ายแรงมาก เป็นยาอันตราย

คำสำคัญ : ชำมะนาด

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชำมะนาด. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1615&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1615&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กฤษณา

กฤษณา

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,215

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ

หากเอ่ยถึงเจ้าแห่งสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของชาวจีน แน่นอนว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเห็ดหลินจือ (Lingzhi) ซึ่งเห็ดหลินจือนี้ถือเป็นสมุนไพรของจีนที่มีใช้เป็นสรรพคุณทางยามานานถึงกว่าสองพันปีเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นสมุนไพรหายากอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าในการรักษาโรคต่างๆ ได้สูง โดยเห็ดชนิดนี้มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีการแบ่งออกไปตามสีและคุณค่าของเห็ด แถมยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลของชาวจีนอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,241

มะกอก

มะกอก

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร  ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ  เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,777

กระถินเทศ

กระถินเทศ

ต้นกระถินเทศเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีหนาม ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล กิ่งย่อยมีหนาม กิ่งออกในลักษณะซิกแซ็ก ใบกระถินเทศมีสีเขียวแก่ เป็นใบประกอบ เรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาว 5-8 ซม. มีใบย่อย 10-20 คู่ หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกกระถินเทศเป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนสั้น ๆ คลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้ม จะมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นหลอด ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ รังไข่ยาวเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้มาก ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,333

มะกรูด

มะกรูด

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,727

กานพลู

กานพลู

กานพลู (Clove) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ในภาคเหนือเรียกจันจี่ เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย ซึ่งมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวของกานพลู มีรสเผ็ด และมีเพาะปลูกกันมากที่สุดในแถบประเทศอินโดนีเซีย, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา เป็นต้น โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกานพลูนี้มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักนิยมนำมากลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยไว้สูดดม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,794

มะเขือขื่น

มะเขือขื่น

ต้นมะเขือขื่น สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง สำหรับการปลูกมะเขือขื่นนั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,495

แก้ว

แก้ว

ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 6,146

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,394

จันทน์กะพ้อ

จันทน์กะพ้อ

จันทน์กะพ้อ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปลา เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา หรือสีเทาคล้ำ และมักมียางใสซึมออกมาตามรอยแตก ส่วนเปลือกชั้นเป็นสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีร่มเงาจากไม้อื่น มีความชื้นในอากาศดี และลมไม่แรงมากนัก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 6,919