คอกช้างเผือก

คอกช้างเผือก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 3,321

[16.701945, 98.5095832, คอกช้างเผือก]

        คอกช้างเผือก ตั้งอยู่เขตบ้านท่าอาจ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 105 ก่อนถึงตลาดริมเมยประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาผ่านหน้าวัดไทยวัฒนารามตามทางลาดยางประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบโบราณสถานคอกช้างเผือก หรือพะเนียดช้างทำเป็นกำแพงก่อด้วยอิฐมอญ มีความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ กว้างประมาณ 25 เมตร ยาวประมาณ 80 เมตร

ประวัติความเป็นมา
       สันนิษฐานว่า เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นสำคัญในสมัยกรุงสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามเกล็ดพงศาวดาร กล่าวว่าเมื่อมะกะโท (คนเลี้ยงช้างชนชาติมอญ กาลต่อมาได้เป็นขุนวัง) ได้ลักพาเจ้าหญิงพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงหนีไปอยู่กรุงหงสาวดี ต่อมามะกะโทได้รับแต่งตั้งสถาปนาเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว ที่กรุงสุโขทัยในเวลานั้น มีช้างเผือกอยู่เชือกหนึ่งดุร้ายมาก พ่อขุนรามคำแหงจึงทรงเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า หากช้างเผือกเชือกนั้นเป็นช้างคู่บารมีของกษัติรย์นครใดก็ขอให้บ่ายหน้าไปทางนั้น เมื่อทรงประกอบพิธีเสร็จก็ปล่อยไป ช้างเผือกเชือกนั้นจึงชูงวงเป็นทักษิณาวัตรเปล่งเสียงร้องสามครั้งแล้วบ่ายหน้าออกจากประตูเมืองไปทางทิศตะวันตก พระองค์ทรงทราบทันทีว่าเป็นช้างคู่บารมีของพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) จึงร่างสาส์นให้ทหารนำไปให้พระเจ้าฟ้ารั่ว แจ้งว่าให้คอยมารับเอาช้างเผือกเชือกนั้น พร้อมกับให้ทหารสะกดรอยตามเชือกเผือกเชือกนั้นไปจนถึงเชิงเขาแห่งหนึ่งมีแม่น้ำขวางกั้น จึงได้ทรงพะเนียดล้อมไว้และได้ประกอบพิธีมอบกันที่บริเวณนี้

ลักษณะทั่วไป
       คอกช้างเผือกนี้เป็นกำแพงก่ออิฐโบกปูนรูปสี่เหลี่ยม ปากคอกกว้าง 15 เมตร เป็นรูปสอบเล็ก ๆ ขนานกันไปทั้งสองด้าน ยาวประมาณ 50 เมตร

หลักฐานที่พบ
       คอกช้างเผือก เป็นกำแพงรูปสี่เหลี่ยม

เส้นทางเข้าสู่คอกช้างเผือก
        จากอำเภอแม่สอดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร แยกขวาจากทางหลวงหมายเลข 105 ตรงกิโลเมตรที่ 82-83 เข้าทางลูกรังประมาณ 35 กิโลเมตร ที่ปากทางเข้ามีป้ายเขียนว่าโรงเรียนท่าอาจ และโรงเรียนวังตะเคียน

คำสำคัญ : คอกช้างเผือก

ที่มา : https://www.thai-tour.com/place/tak/maesot/2847

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). คอกช้างเผือก. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=824&code_db=610002&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=824&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

 สะพานมิตรภาพ ไทย–พม่า 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเมยขนาดใหญ่แห่งที่สอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านวังตะเคียนใต้ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากของประเทศไทย เข้ากับบ้านเยปู หมู่ที่ 5 เมืองเมียวดี จังหวัดเมียวดี ของประเทศพม่า

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,533

เนินพิศวง

เนินพิศวง

อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 68 สายตาก-แม่สอด มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินที่แปลก คือเมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่องรถจะไหลขึ้นเนินไปเอง นอกจากความพิศวงของเนินแห่งนี้แล้ว ที่นี่ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 2,919

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เทศบาลนครแม่สอด เล็งเห็นความสําคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เยาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด และจัดให้มีการบริการสาธารณะ เช่น การคมนาคมทางบก ระบบรางระบายน้ํา ตลอดจนทํานุบํารุงถนนภายในเขตเทศบาลนครแม่สอด เพื่อสามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างแลนด์มาร์ก (Landmark) ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เทศบาลนครแม่สอดจึงได้จัดทําโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อําเภอแม่สอด ขึ้นเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้สืบไป 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 565

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เมื่อเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น มูเซอดำ ม้ง ลีซอ ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิตที่น่าสนใจของชนเผ่าต่าง ๆ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ และบริเวณด้านนอกยังจัดทำเป็นลานเต้น “จะคึ” ซึ่งคือการเต้นรำของเผ่ามูเซอที่นิยมเต้นกันในงาน “กินวอ” หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง  
 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,722

อโรคยาโป่งคำราม

อโรคยาโป่งคำราม

อโรคยาศาลโป่งคำราม หรือ บ่อน้ำแร่โป่ง โป่งคำรามออนเซ็นแห่งแม่กาษา ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก เป็นการแช่ออนเซ็นในถังไม้โอ๊คแบบญี่ปุ่นแบบเก๋ๆ โดยใช้สายธารน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มาปรับปรุงเสริมแต่งเพื่อความเหมาะสม ใช้เป็นสถานที่บำบัดรักษาโรค และพอกบ่อโคลนเพื่อสุขภาพ จุดเด่นของน้ำแร่โป่งคำราม คือ เป็นน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส ปราศจากกรด และกลิ่นกำมะถัน มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ คนที่เคยมาแช่น้ำแร่ร้อนที่นี่จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าผ่อนคลายดี 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 665

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

อำเภอแม่สอด ได้รับงบประมาณตามแผนปฏิบัติไทยเข็มแข็ง 2555 ของจังหวัดตาก โครงการก่อสร้างศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก งบประมาณ 25,000,000 บาท (ยี่สิบห้าบาทถ้วน) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ อำเภอแม่สอด ได้ขอให้จังหวัดตากส่งมอบศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตากให้กับเทศบาลนครแม่สอดเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการใช้งาน และเป็นผู้ควบคุมดูแลบำรุงรักษาจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 566

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย

ตลาดริมเมย หรือ สุดประจิมที่ริมเมย สะพานมิตรภาพไทย-พม่า (ประตูเชื่อมอันดามันสู่อินโดจีน) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,436

วัดมณีไพรสณฑ์

วัดมณีไพรสณฑ์

วัดมณีไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ถนนอินทรคีรี เขตเทศบาลเมืองแม่สอด พื้นที่ตั้งหน้าวัดติดถนนใหญ่ด้านหลังติดลำห้วยแม่สอด สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2328 ภายในวัดมีปูชนียวัตถุโบราณสถาน

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 539

อ่างเก็บน้ำห้วยลึก

อ่างเก็บน้ำห้วยลึก

เป็นอ่างเก็บกักน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค และผลิดกระแสไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นที่รู้จักดีของชาวแม่สอดเพราะว่าถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นสถานที่พักผ่อนได้เลยทีเดียว เนื่องจากมีบรรยากาศดี ด้านทิศตะวันออกจะมองเห็นหุบเขาพะวอ ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน พอตกตอนเย็นก็จะมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อน มาออกกำลังกาย และชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็นบรรยากาศดีมาก ชาวแม่สอดของยืนยันกับอีกหนึ่งความประทับใจนี้ จึงอยากให้มาเยี่ยมชมกันด้วย

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,300

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคีเดิม มีชื่อว่า วัดเหนือ หรือวัดใหม่ ตั้งอยู่ บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ที่ 1 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 โดยมี ท่านพระครูอุทัย (ครูบามูล) เจ้าคณะตำบลแม่สอด มาเป็นประธานการก่อสร้าง โดยมีนายจักร แผ่กาษา ได้มอบที่ดินถวายให้สร้างวัด ต่อมาคณะศรัทธาสาธุชนได้ร่วมแรงกันสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกพอเป็นที่พักพิงอาศัยของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรขึ้นมา 1 หลัง เพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านพระครูอุทัยก็ได้จัดให้พระวัน (ครูบาวัน) มารักษาการแทนเจ้าอาวาสได้ 11 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้นิมนต์พระทอหล่อ กันทะวํโส มาเป็นแทนเจ้าอาวาส ปี 2501 ท่านได้มรณภาพไป จึงได้นิมนต์พระบุญช่วย โสปาโก มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ 9 พรรษาท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,776