สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 3,036

[16.718234, 98.4881056, สะพานมิตรภาพไทย-พม่า]

สะพานมิตรภาพ ไทย–พม่า 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเมยขนาดใหญ่แห่งที่สอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านวังตะเคียนใต้ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากของประเทศไทย เข้ากับบ้านเยปู หมู่ที่ 5 เมืองเมียวดี จังหวัดเมียวดี ของประเทศพม่า เป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง มีความยาว 760 เมตร มีขนาด 2 ช่องจราจรไป-กลับ แยกช่องจราจรด้วยเกาะคอนกรีตแบบต่ำ ช่องผิวจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร และทางเดินเท้ากว้างข้างละ 1.50 เมตร แบ่งเป็นฝั่งไทย 515 เมตร และฝั่งเมียนมา 245 เมตร มูลค่าการก่อสร้างจำนวน 4,132 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

 

คำสำคัญ : สะพานมิตรภาพไทย-พม่า สถานที่ท่องเที่ยว

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สะพานมิตรภาพไทย-พม่า. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1846&code_db=610002&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1846&code_db=610002&code_type=TK007

Google search

Mic

สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ)

สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ)

สนามกีฬา 5 อำเภอชายแดน (นานาชาติ) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นสนามกีฬาของอาเซียน ที่รองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนตาก จากการเชื่อมโยง ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างประเทศได้ และรองรับโรงเรียนกีฬาของเทศบาลนครแม่สอด สำหรับสนามกีฬา 5 อำเภอชายแดนเป็นสนามกีฬามาตรฐาน มีลู่วิ่งยางสังเคราะห์ที่ให้ความรู้สึกแตกต่างจากการวิ่งบนถนน และสามารถใช้แข่งขั้นกีฬาในระดับภูมิภาคจนไปสู่ระดับชาติได้ สถานที่จัดการเรียนการสอนของโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครแม่สอดอย่างเป็นทางการ

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 838

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคี

วัดไทยสามัคคีเดิม มีชื่อว่า วัดเหนือ หรือวัดใหม่ ตั้งอยู่ บ้านแม่กื้ดหลวงหมู่ที่ 1 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 โดยมี ท่านพระครูอุทัย (ครูบามูล) เจ้าคณะตำบลแม่สอด มาเป็นประธานการก่อสร้าง โดยมีนายจักร แผ่กาษา ได้มอบที่ดินถวายให้สร้างวัด ต่อมาคณะศรัทธาสาธุชนได้ร่วมแรงกันสร้างกุฏิไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกพอเป็นที่พักพิงอาศัยของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรขึ้นมา 1 หลัง เพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านพระครูอุทัยก็ได้จัดให้พระวัน (ครูบาวัน) มารักษาการแทนเจ้าอาวาสได้ 11 พรรษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้นิมนต์พระทอหล่อ กันทะวํโส มาเป็นแทนเจ้าอาวาส ปี 2501 ท่านได้มรณภาพไป จึงได้นิมนต์พระบุญช่วย โสปาโก มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ 9 พรรษาท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,106

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ”

อุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “ทีปังกรรัศมีโชติ” เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สอด และจังหวัดตาก คือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากการผสมผสานองค์ประกอบในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างลงตัว โดยจะเน้นเกี่ยวกับสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคนิคแสง สี เสียงในการนำเสนอโดยมีทั้งส่วนที่ให้เรียนรู้ภายในอาคารและส่วนที่ให้เรียนรู้ภายนอกอาคาร ได้เปิดให้บริการแก่นักเรียน เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป เป็นการจัดให้มีการศึกษาที่เกื้อหนุนให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 501

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

ศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก

อำเภอแม่สอด ได้รับงบประมาณตามแผนปฏิบัติไทยเข็มแข็ง 2555 ของจังหวัดตาก โครงการก่อสร้างศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตาก งบประมาณ 25,000,000 บาท (ยี่สิบห้าบาทถ้วน) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ อำเภอแม่สอด ได้ขอให้จังหวัดตากส่งมอบศูนย์กีฬาและสวนสาธารณะอเนกประสงค์จังหวัดตากให้กับเทศบาลนครแม่สอดเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการใช้งาน และเป็นผู้ควบคุมดูแลบำรุงรักษาจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 736

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เทศบาลนครแม่สอด เล็งเห็นความสําคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เยาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด และจัดให้มีการบริการสาธารณะ เช่น การคมนาคมทางบก ระบบรางระบายน้ํา ตลอดจนทํานุบํารุงถนนภายในเขตเทศบาลนครแม่สอด เพื่อสามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างแลนด์มาร์ก (Landmark) ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เทศบาลนครแม่สอดจึงได้จัดทําโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อําเภอแม่สอด ขึ้นเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้สืบไป 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 767

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่

ชมความมหัศจรรย์แห่งองค์พระธาตุที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูง โดยมีหินก้อนใหญ่ซึ่งมีฐานคอดกิ่วราวกับจะแยกขาด จากกันวางตัวอยู่บนหน้าผานั้น ซึ่งชาวบ้านต่างพากันขนานนามว่า “เจดีย์หินพระอินทร์แขวน” อีกทั้งหินที่อยู่บนดอยนี้ยังมีสีดำหรือน้ำตาลไหม้ บางคนจึงเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า “พระธาตุดอยดินจี่” ซึ่งหมายถึงดินที่ถูกไฟไหม้นั่นเอง ทั้งนี้ภายในเจดีย์มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ที่เรียกกันว่า “พญาล่อง” ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียง และในบริเวณวัดพระธาตุฯ ยังมีเรือโบราณที่มีอายุประมาณ 200 ปี พบเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 โดยชาวบ้านวังตะเคียนได้ช่วยกันกู้ขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่เชิงดอยดินจี่เรือลำนี้เป็นเรือขุดจากไม้ซุงทั้งต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,468

อโรคยาโป่งคำราม

อโรคยาโป่งคำราม

อโรคยาศาลโป่งคำราม หรือ บ่อน้ำแร่โป่ง โป่งคำรามออนเซ็นแห่งแม่กาษา ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก เป็นการแช่ออนเซ็นในถังไม้โอ๊คแบบญี่ปุ่นแบบเก๋ๆ โดยใช้สายธารน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มาปรับปรุงเสริมแต่งเพื่อความเหมาะสม ใช้เป็นสถานที่บำบัดรักษาโรค และพอกบ่อโคลนเพื่อสุขภาพ จุดเด่นของน้ำแร่โป่งคำราม คือ เป็นน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส ปราศจากกรด และกลิ่นกำมะถัน มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ คนที่เคยมาแช่น้ำแร่ร้อนที่นี่จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าผ่อนคลายดี 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 818

วัดโพธิคุณ

วัดโพธิคุณ

สถานที่ตั้งวัดโพธิคุณก่อนปีพุทธศักราช 2523 ยังเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่เคยมีที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ หรือวัดมาก่อนเลย มีประชาชนในตัวอำเภอแม่สอดมาจับจองแผ้วถางทำไร่พืชผักผลไม้อยู่ 5 เจ้าของด้วยกัน ประชาชนหมู่ที่ 6 ตำบลแม่ปะเป็นชาวพุทธทั้งสิ้น เพราะมีร่องรอยที่จะทำเป็นที่พักสงฆ์อยู่ทั้งที่บ้านห้วยหินฝนและบ้านห้วยเตย (เรื่องชื่อบ้านนั้นเอาไว้เล่าในเรื่องสันติเกนิทาน) แต่ไม่มีพระภิกษุ-สามเณรมาอยู่ประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นยากแก่การสันนิษฐาน แต่พออนุมานได้ว่า อาจเป็นเพราะสถานที่ตรงนี้ขณะนั้นยังมีไข้ป่า  เช่น ไข้มาลาเรียชุกชุมก็เป็นได้ และชาวบ้านโดยรวมมีความเป็นอยู่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก   

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,699

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา

เมื่อเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น มูเซอดำ ม้ง ลีซอ ฯลฯ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิตที่น่าสนใจของชนเผ่าต่าง ๆ โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ และบริเวณด้านนอกยังจัดทำเป็นลานเต้น “จะคึ” ซึ่งคือการเต้นรำของเผ่ามูเซอที่นิยมเต้นกันในงาน “กินวอ” หรืองานขึ้นปีใหม่นั่นเอง  
 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 2,062

คอกช้างเผือก

คอกช้างเผือก

ตั้งอยู่เขตบ้านท่าอาจ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 105 ก่อนถึงตลาดริมเมยประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาผ่านหน้าวัดไทยวัฒนารามตามทางลาดยางประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบโบราณสถานคอกช้างเผือก หรือพะเนียดช้างทำเป็นกำแพงก่อด้วยอิฐมอญ มีความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ กว้างประมาณ 25 เมตร ยาวประมาณ 80 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 3,953