พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้ชม 1,671

[16.4569421, 99.3907181, พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก]

       วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก ทรงบันทึกเล่าไว้ว่า
       วันนี้ ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้าจึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง…ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ
        คลองสวนหมากนี้ ตามลัทธิเก่าถือว่าเป็นที่ร้ายนัก จะขึ้นล่องต้องเมินหน้าไปเสียข้างฝั่งตะวันออก เพียงแต่แลดูก็จับไข้ ความจริงนั้นเป็นที่มีไข้ชุมจริง เพราะเป็นน้ำลงมาแต่ห้วยในป่าไม้แต่เงินไม่เป็นเครื่องห้ามกันให้ผู้ใดกลัวความตายได้ แซงพอกะเหรี่ยงซึ่งเรียกว่า พญาตะก่า พี่พะโป้มาทำป่าไม้ราษฎรที่อยู่ฟากตะวันออกก็พลอยข้ามไปหากินมีบ้านเรือนคนมากขึ้น ความกลัวเกรงก็เสื่อมไป. กินข้าวแล้วล่องลงมาขึ้นที่วัดพระธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์อย่างเดียวกับที่วังพระธาตุใหญ่องค์หนึ่ง ย่อมสององค์ พญาตะก่าสร้างรวมสามองค์ เป็นองค์เดียว แปลงรูปเป็นพระเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพระยาตะก่าตาย พะโป้จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อ ได้ยกยอดฉัตรซึ่งมาแต่เมืองมะระแหม่งพึ่งแล้ว แต่ฐานชุกชียังถือปูนไม่รอบ พระเจดีย์นี้ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี
        มีราษฎรมาหาเป็นอันมาก ขากลับลงเรือชะล่าล่องไปขึ้นท้ายเมืองใหม่ เดินขึ้นมาจนถึงพลับพลา ที่เมืองใหม่นี้มีถนนสองสาย ยาวขึ้นมาตามลำน้ำ เคียงกันขึ้นมา แต่ท้ายเมืองถึงพลับพลาประมาณ 20 เส้นวันนี้ถ่ายรูป ได้มาก แต่สนุก ได้ตัดผมตามพระเทพาภรณ์ขึ้นมาจากบางกอกโดยทางรถไฟลงเรือมาแต่นครสวรรค์ เพราะหาเวลาตัดผมไม่ได้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงสำราญพระราชหฤทัยยิ่งนัก เมื่อประทับอยู่ที่กำแพงเพชร
        พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕) เสด็จประพาสต้น กำแพงเพชร ๑๐ วัน (๑๘ สิงหาคม—๒๗สิงหาคม ๒๔๔๙)ประพาสต้นหมายถึง เสด็จมาอย่างไม่เป็นทางการ พระองค์มาอยู่ที่ปากคลองสวนหมาก ทั้งวัน แสดงถึงบ้านปากคลอง เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในเมืองกำแพงเพชร ชาวปากคลองยังเล่าขานกันและประทับใจจนมาถึงปัจจุบัน

คำสำคัญ : พระพุทธเจ้าหลวง, ประพาสต้น, คลองสวนหมาก

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1411&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1411&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,517

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 733

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,338

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,512

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,881

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,370

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,773

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,451

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,852

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,517