ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 6,556
[16.3937891, 98.9529695, ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร]
ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ
ใบบอกเมืองกำแพงเพชร มีจำนวนมาก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนหน้านั้นเราไม่พบ อาจมีแต่ถูกทำลายไปสิ้นในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ใบบอกของเมืองกำแพงเพชรมีมากในสมัยปฏิรูปการเมืองของรัชกาลที่ 5 เพื่อให้หัวเมืองได้รายงานความเคลื่อนไหวทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องเล็กน้อยเพื่อสะดวกในการควบคุมดูแล มิให้กระด้างกระเดื่องหรือแข็งเมือง และสามารถควบคุมจัดการมิให้หัวเมืองได้มีโอกาสจัดการอะไรด้วยตนเองได้ นับว่าเป็นการลดความสำคัญของเจ้าผู้ครองนครลงกำแพงเพชรก็เช่นกัน
ใบบอกเมืองกำแพงเพชร จะขึ้นต้นด้วย ที่ตั้งคือเมืองกำแพงเพชร ใช้จุลศักราช เป็นสำคัญในการวันเดือนปี และจะขึ้นต้นด้วยคำว่า………
ข้าพเจ้า พระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะ ผู้สำเร็จราชการเมือง พระอินทแสนแสง ปลัดเมือง พระมนตรีราชยกบัตร... ซึ่งทั้งสามท่านเป็นกรรมการเมืองกำแพงเพชร แสดงถึงมิให้รายงานคนเดียวเพื่อให้ข้อความเป็นจริง ตอนจบลงนาม พร้อมประทับตราทุกท่าน บางฉบับจะมีเฉพาะชื่อของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะเพียงท่านเดียว และต่อด้วยกรมการเมืองเลย เจ้าเมืองกำแพงเพชร มีชื่อราชทินนามว่า พระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะ มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ก็เรียกกันสั้น ๆ ว่าพระยาราม น่าจะสืบเชื้อสายในคนตระกูลเดียวกันมาหลายยุคสมัย....มีหลักฐานจากหลายแห่งในพงศาวดารเกือบทุกฉบับ ซึ่งเราจะมิได้กล่าวถึงในที่นี้ แต่จะกล่าวถึงเฉพาะพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะในใบบอกเมืองกำแพงเพชรที่ค้นคว้ามา เริ่มตั้งแต่พระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะ (เกริก) ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี คือราวพุทธศักราช 2310-2325 เรียกกันโดยสามัญว่าเจ้าคุณเกริก ไม่ทราบชื่อภริยา เจ้าคุณเกริกมีบุตรหนึ่งคน ชื่อเจ้าคุณนุชๆ มีภริยาชื่อเกา ภายหลังบวชเป็นชี และได้สร้างวัดมีนามว่าวัดชีนางเกา (อยู่บริเวณเยื้องกับที่ทำการไปรษณีย์กำแพงเพชร) ในสมัยรัชกาลพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้นายนุชร่วมทัพไปตีทัพแขกที่เมืองปัตตานีกับนายบุญศรี บุตรชาย ได้ชัยชนะกลับมา ได้รับพระราชทานความดีความชอบให้ดำรงตำแหน่งพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะแทนบิดา เมื่อบิดาถึงแอนิจกรรมแล้ว พระราชทานครอบครัวแขกมาหนึ่งร้อยครอบครัว มาอยู่ที่บริเวณเกาะแขก ซึ่งอยู่ตอนใต้โรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันไม่มีแขกปัตตานีในบริเวณบ้านแขกแล้ว) และพระราชทานดาบฝักทองให้เป็นบำเหน็จมือ ซึ่งต่อมาดาบฝักทองได้เป็นพระแสงราชศัตราประจำเมืองกำแพงเพชร ส่วนคุณบุญศรีบุตรชาย ได้พระราชทานให้ไปกินเมืองศรีสัชนาลัย นามว่าพระยาฤทธิ์เดช และได้พระราชทานหม่อมฉิม ให้เป็นภริยา นับว่ามีความดีความชอบมาก สังเกตจากการพระราชทานสิ่งของและบุคคลให้ ในส่วนพระยาฤทธิเดชกับหม่อมฉิม มีธิดาชื่อคุณหญิงพลับๆ ได้สมรสกับพระยากบัตร เมืองสุโขทัย มีบุตรธิดา 4 คน คือ พระยานิ่ม พระยาพุ่มพิจิตร เจ้าคุณอ่อง และพระยารณชัย... และเนื่องจากไปกันเมืองอื่นจึงไม่ได้สืบค้นต่อ...
ส่วนพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะ (พระยากำแพงนุช) กับท่านผู้หญิงเกา หรือท่านผู้หญิงชิ มีธิดาท่านหนึ่งนามว่า ท่านผู้หญิงแพง ท่านผู้หญิงแพงได้สมรสกับเจ้าคุณนาคและดั้บพระราชทานตำแหน่งเป็นพระยากำแพง พระยากำแพงนุชและท่านผู้หญิงแพง มีบุตรธิดา 7 ท่าน ล้วนได้รับพระราชทานตำแหน่งที่สำคัญทั้งสิ้น แสดงถึงบารมีของพระยากำแพงนุช ยังมีถึงลูกหลายอย่างทั่วถึงจึงได้รับพระราชทานตำแหน่งสำคัญเรียงตามอายุคือ
1. พระยากำแพง (บัว) ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อจากพระยากำแพงนาค นามพระราชทานว่า พระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะ (บัว)
2. พระยากำแพง (เถื่อน) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถวิล ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมาจากพระยากำแพง (บัว) ได้รับพระราชทานให้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรนามพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะ (เถื่อน)
3. พระยากำแพง (น้อย) ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อจากพระยากำแพง (เถื่อน) ได้รับพระราชทานนามว่า พระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะ (น้อย)
4. พระยากำแพง (เกิด) ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรต่อจากพระยากำแพง (น้อย) ได้รับพระราชทานนามว่า พระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริย์ภาหะ (เกิด)
5. หม่อมสุดใจ ได้ถวายตัวเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
6. พระยาพลไกร (อ๋อง)
7. คุณฉิม (สืบไม่ได้น่าจะเป็นสตรี)
8. พระยากำแพง (เกิด) กับท่านผู้หญิงทรัพย์ มีบุตรธิดา 9 คน คือ
9. คุณย่าหุ่น แต่งงานกับหลวงพินิจ
10. คุณย่านก แต่งงานกับคุณปู่เสือ
11. คุณย่าขา ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย
12. หลวงวิเศษสงคราม (ดศิ)
13. คุณย่าผึ้ง แต่งานกับพระพล (เรียม นุชนิยม)
14. หลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย (ต่าย)
15. พระยากำแพง (อ้น)
16. คุณหญิงภู่ (ภริยาพระยารามรณรงคสงคราม หรุ่น อินทรสูต) คือพระยากำแพงคนสุดท้าย ในสกุลนี้
17. คณุยา่หญิงทองหยิบ ถวายตัวเป็นนางห้าม รัชกาลที 4
หลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย (ต่าย) มีภรรยาชื่อคุณหญิงกระจับ ๆ เป็นภรรยาในนามของพระยากำแพง (อ้น) ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่สะใภ้ สันนิษฐานว่า เมื่อหลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย (ต่าย) ถึงแก่กรรม หลวงพิพิธอภัย (หวล) ผู้เป็นบุตร ได้มาเป็นบุตรบุญธรรมของพระยากำแพง (อ้น) จากพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุประพาสต้นกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 บันทึกว่า หลวงพิพิธอภัย (หวล) เป็นบุตรพระยากำแพง (อ้น) ผู้ถวายดาบฝักทองแด่รัชกาลที่ 5
หลวงพิพิธอภัย (หวล) มีภรรยา 2 คน คือนางจัน มีบุตรธิดา 2 คน คือ
1. นางหวีด รามสูต ภรรยารองอำมาตย์ตรี ขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสาวงามกำแพงเพชร ในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวง ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวง พระองค์บันทึกไว้ว่า ...ผู้หญิงเมืองนี้นับว่ารูปพรรณสัณฐานดีกว่าเมืองอื่นในข้างเหนือ คนงามทั้ง 4 ที่จะให้ถ่ายรูปนั้น เขาให้ถือกระเช้าหมากคอยแจก คือหวีด บุตรหลวงพิพิธอภัย อายุ 16 ปี คนนี้รู้จักโปสต์ถ่ายรูป จึงได้ถ่ายรูปเฉพาะคนเดียว... แม่หวีดผู้นี้คือมารดาของคุณครูวัฒนา ศุภดิษฐ์ ขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์) ได้บันทึกไว้ว่า ได้แต่งานกับแม่หวีด เมื่อเดือนแปด มีมะแม พุทธศักราช 2450 หลังจากพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ 1 ปี แม่หวีดถึงแก่กรรม เมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2461 เวลา 7 นาฬิกา อายุได้ 29 ปี (แม่หวีดเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนสาม มีขาล พุทธศักราช 2433)
2. นายหอม รามสูต (มีรายละเอียดมากยังไม่นำเสนอ)
ส่วนภรรยาอีกคนหนึ่งคือ นางพัน มีบุตรธิดา 8 คน จะไม่นำเสนอในครั้งนี้ .....นับว่าสิ้นสุดประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อสิ้นสุดรัชกาลที่ 5 ส่วนรายละเอียดได้เก็บไว้นำเสนอในคราวต่อไป
ใบบอกกำแพงเพชร ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีจำนวนมากแต่จะนำเสนอในบางส่วนที่น่าสนใจ
เรื่องที่ 1 การเบิกเงินของหัวเมืองกำแพงเพชร เพื่อจ่ายค่าทำทางสายโทรเลข เมื่อวันพุธขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนสิบ ปีระกาสัปตศก ศักราช 1247 ความโดยย่อกล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงษ์ กรมหลวงภานุพันธ์วรเดช สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข กราบทูลว่าให้หม่อมเทวาธิราชนุกุลไปทำงานสายโทรเลข เบิกเงิน 1,400 บาทจากเมืองกำแพงเพชรเป็นเงินเดือน จำนวน 7 เดือน
เรื่องที่ 2 รายงานการสืบสวนจับกุมผู้ร้ายระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับเมืองตาก เมื่อวันพุธขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนสิบ ปีระกาสัปตศก ศักราช 1247 ความโดยย่อ กล่าวถึงระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับเมืองตาก มีโจรผู้ร้ายชุกชุมมาก ลูกค้าอังกฤษทำมาค้าขายเป็นที่ลำบากมาก ให้พระยารามฯ แต่งตั้งพระมนตรีราชยกระบัตรออกชำระจับตัวผู้ร้ายให้ได้ จับได้ไอ้เสือถิ่น ไอ้เสือแย้ม ปล้นจีนถุ้ง และไอ้เอมผู้ร้ายปล้นฆ่าที่เมืองตาก มาซ่อนตัวที่ลานดอกไม้ จับตัวได้และพิจารณาตัดสินความแล้ว
เรื่องที่ 3 การขอเปลี่ยนทนายความของพระยากำแพงเพชร จากจีนแดงเป็นหลวงเทพสุภา ณ วันศุกร์ แรมสองค่ำ เดือนสิบ ปีระกา สปัตศก 1247 ความโดยย่อกล่าวถึง นายกักฟ้องกล่าวโทษพระยากำแพง หลวงวัง หลวงพิไชยภักดี หลวงพรหม หลวงเทพอาญา นายขุนทอง นายผู้คุม โดยมีจีนแดงเป็นทนายความให้ พระยากำแพงกับพวก ต่อมาพระยากำแพงกับพวกขอเปลี่ยนทนายความจีนแดงเป็นหลวงเทพสุภาแพ่ง
เรื่องที่ 4 รายงานการติดตามเก็บส่วยคงค้างเพื่อนำส่งเข้าพระคลังมหาสมบัติ วันพุธ ขึ้นสิบสามค่ำ เดือนสิบเอ็ด ปีระกา สปัตศก ศักราช 1247 ความโดยย่อกล่าวถึง ตามที่ให้เก็บส่วยส่งถึงพระคลังมหาสมบัติให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยนั้น ได้พยายามเก็บส่วยอย่างละเอียดแล้ว รวมเงินหกชั่งสิบห้าตำลึง พร้อมบัญชีหางว่าวให้ขุนรักษาพลคุมลงมาส่งกรุงเทพมหานคร (ส่วยในที่นี้คือเงินรัชชปุการเงินที่เรียกเก็บจากราษฏรชายที่มิได้รับราชการทหาร เป็นรายบุคคล)
เรื่องที่ 5 รายงานการใช้เงินหลวง ให้สำหรับซื้อข้าวจ่ายราชการ ณ วันศุกร์ ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ เดือนยี่ ปีระกา สปัตศก ศักราช 1247 ความโดยย่อกล่าวถึง พระยารามได้แต่งขุนพิพิธสาลี ว่าที่หลวงนาไปเบิกเงินพระราชทานหกชั่ง เพื่อจัดซื้อข้าวสารจ่ายข้าราชการ ข้าวเปลือกเกวียนละห้าตำลึก และจัดทำฏีกาเพื่อเบิกเงินหลวงอีกสิบชั่ง เพื่อจัดซื้อข้าวอีกสำหรับจ่ายราชการบ้านเมือง
เรื่องที่ 6 รายงานการตัดไม้จากกำแพงเพชร เพื่อนำไปใช้ในการทำพระเมรุงานพระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังวรสถานมงคล ณ วันศุกร์ ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ เดือนยี่ ปีระกา สปัตศก ศักราช 1247 ความโดยย่อกล่าวถึงพระยารามฯ ได้รับตราพระราชสีห์ โดยหลวงพิจารณาถือมาว่ากรม พระราชวังบวรสถานมงคลทิวงคต ให้หาไม้ไปทำพระเมรุที่ท้องสนามหลวง จึงได้ให้พระสวัสดิ์ภักดี คุมไพร่ออกตัดไม้ ได้ไม้รวมทั้งสิ้นหนึ่งร้อยหกสิบเจ็ดต้น แต่ปีนี้น้ำน้อยทำแพงมาส่งไม่น่าจะทันราชการ แต่ส่งไม้ไผ่สองพันลำ ไม้ใช้ร้อยหน้าสิบต้น ได้ผูกแพรบรรทุกเครื่องพระเมรุมาแล้ว
เรื่องที่ 7 คดีหลวงบรรเทา ณ วันจันทร์ ขึ้นหกค่ำ ปีระกา สปัตศก ศักราช 1247 ความโดยย่อกล่วถึง พระยารามฯ ได้ชำระคดีระหว่างขุนทรมาทิพย์ โจทย์หลวงบรรเทาจำเลยขัดข้องจึงส่งสำนวนใส่ชะลอมและให้หลวงพิชัยภักดี ผู้ช่วยนำหลักฐานและนำทั้งโจทย์และจำเลยมาส่งที่กรุงเทพ เพื่อให้ตัดสินความ
เรื่องที่ 8 ขุนบานบุรี ฟ้องนายศิษย์กับพวก คดีทำร้ายร่างกาย ณ วันจันทร์ ขึ้นหกค่ำ ปีระกา สปัตศก ศักราช 1247 ความโดยย่อว่า พระยารามบอกมาว่าขุนบานบุรีฟ้องนายศิษย์กับพวกทำร้ายร่างกายแต่คดีซับซ้อนมาก จึงมอบให้หลวงพิไชยภักดีนำเรื่องมาส่ง ณ กรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ 9 เกณฑ์กองทัพกำแพงเพชร เพื่อไปทัพเมืองพิชัย ณ วันจันทร์ แรมสิบสามค่ำ ปีระกา สปัตศก 1247 ความโดยย่อว่า พระยารามฯ ว่าได้มีตราพระราชสีห์ให้เกณฑ์พระอินทรแสนแสง ปลัดหนึ่ง ขุนหมื่น ไพร่ร้อยหนึ่งช้างสิบช้าง เข้ากองทัพเจ้าหมื่นไวยวรนาถ พร้อมด้วยอาวุธไปคอยรับกองทัพที่เมืองพิไชย และให้เพิ่มอีกยี่สิบช้างรวมสามสิบช้าง แต่ในกำแพงเพชรมีช้างทั้งสิ้นยี่สิบสองช้าง พระอินทรแสนแสงได้ไปส่งให้พระยาสีสิงหเทพ ณ เมืองพิไชยแล้ว
เรื่องที่ 10 หม่อมเทวาธิราชทำสายโทรเลขเมืองกำแพงเพชร ณ วันจันทร์ เดือนเก้า ขึ้นสิบสามค่ำ ปีระกา สัปตศก 1247 ความโดยย่อว่า หม่อมเทวาธิราช เจ้าพนักงานโทรเลข เบิกเงินเดือน 1,400 บาท พระยารามได้แจ้งให้ทราบและให้หลวงพิไชยภักดีนำฏีกามาถวายขอหักเงินค้าไม้เกณฑ์ตัด ประจำปีระกาเบญจศกต่อเจ้าพนักงานแล้ว
นอกจากเรื่องราวเหล่านี้แล้ว ยังมีเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
- กงสุลอังกฤษแจ้งว่ากำแพงเพชรและตากมีโจรผู้ร้ายชุกชุม
- ให้หลวงชำนาญสิงขรกับหมื่นแสวงภุมรา เสียค่าตัดฟันไม้
- ตั้งหลวงพิไชยภักดีเป็นพระกำแหงสงครามพระพล
- การทำทะเบียนคนจีนในกำแพงเพชร
- มองม่อพม่าขอทำไม้ขอนสักที่คลองขลุง
- การจัดช้างไปเมืองพิชัย
- เรื่องฉลองพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 4
- โจรผู้ร้ายชุกชุมที่ขาณุ
- กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทิวงคต ใช้ชักลากไม้ทำพระเมรุ
- ให้ทำบัญชีวัดในกำแพงเพชร
- ผู้ร้ายลักม้าสีหมอกของหลวงประเวศ
- ค่าผูกปี ค่าแรงจีน
- เรียกตัวมองม่อไปกรมมหาดไทย
- จับโจรผู้ร้ายในแขวงเมืองกำแพงเพชร
- การลักช้างและพระรามยึดของกลาง
- การเกณฑ์ผู้คนดูแลเสาโทรเลขที่สร้างใหม่
- การผูกสีมาวัดบ้านลานดอกไม้
- การประเมินที่นาราษฏีกำแพงเพชร
- การติดตั้งสายโทรเลขประจำเมืองกำแพงเพชร
- หมื่นศรีสมบัติคุมเงินไปส่ง
- คดีหลวงพิพิธกับจีนชือเหียน
- ผู้ร้ายแย่งชิงนายร้อยคาปาง
- อำแดงแจงภรรยาหลวงพิพิธเป็นชู้กับจีนหวด
- เตือนนายกองปลัดกองให้เอาเงินส่วยของส่วยมาส่ง
- หลวงยกกระบัตรบัวชุม กล่าวโทษพระยากำแพงกับพวก
- พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากร เสด็จลำปาง ลำพูน เชียงใหม่
- นายสงกล่าวโทษพระวรลักษณ์แลกรมการเมือง
- การก่อสร้างพัทธสีมาที่วัดทุ่งสวน
- ให้ส่งตัวนายสงมายังเมืองขาณุบุรี
- นายฉ่ำกล่าวโทษนายยัง กำนันบ้านบ่อถ้ำ แขวงเมืองขาณุ
- จีนชิงหิน ไม้ขอนหายที่ลานดอกไม้
- คดีกระบือนายฉ่ำกับพวกหาย
- การเก็บเงินค่านาในแขวงเมืองกำแพงเพชร
- มิสเตอร์ยอดคูปองชาวอเมริกันทำไม้ขอนสักที่วังเจ้า
- ขอเบิกจ่ายค่าเซอร์เวย์ทางจากเมืองกำแพงเพชร
- อำแดงนวลกล่าวโทษนายฉาย
- เอาตัวไอ้แยมมอบให้หลวงนามาส่งยังกรุงเทพ
- หลวงเทพนรินทร์ซื้อไม้ขอนสักจากกำแพงเพชรมาซ่อมวิหารพระนอนจักรศรี
- ผู้ร้ายลักทรัพย์ลูกขุนตระเวน
- ผู้ร้ายลักกระบือหลวงรามราชปลัดอำแดงกลีบตักยางพระจัตุรงค์
- ขุนพินิจสุราการกล่าวโทษพระยาราม
- ให้ส่งพระยากำแพงกับพวกเข้ากรุงเทพ
- หลวงอินเกสรขอทำไม้ขอนสัก
- พระยากำแพงแต่งหลวงเมืองเป็นทนาย
- พระยารามรณรงค์ยื่นทัณฑ์บนรับผิดชอบของกลับรับราชการตามเดิม
- มองเตงเผในบังคับอังกฤษของเช่าไม้ตำบลคลองขลุง แขวงเมืองกำแพงเพชร
รายละเอียดของใบบอกต่างๆ นั้นล้วนเป็นเรื่องที่ฉายภาพสังคม การเมืองและวัฒนธรรมในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของเมืองกำแพงเพชรได้เด่นชัดมาก สมควรได้มีการศึกษา ค้นคว้า เพื่อจะได้เข้าใจในสังคมเมืองกำแพงเพชรมากขึ้น
ภาพที่ชัดที่สุด คือภาะการฉ้อราษฏรบังหลวงของพระยากำแพงเพชร (หรุ่น) ในปี พ.ศ.2447 ก่อนที่พระพุทธเจ้าหลวงส่งพระวิเชียรปราการ (ฉาย อัมพเศวต) นายอำเภอสรรค์บุรี มาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนและทำให้ตระกูลพระยากำแพงเพชร ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี คือ พ.ศ.2310 จนถึง 2447 เกือบหนึ่งร้อยสี่สิบปีที่ตระกูลพระยากำแพงมีอำนาจในกำแพงเพชรมีรายละเอียดจากใบบอกสามารถอ่านจากเอกสารอ่านเพิ่มเติมตอนท้าย....
คำสำคัญ : กำแพงเพชร, ใบบอก, ประวัติศาสตร์
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1299&code_db=610001&code_type=01
Google search
ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,487
ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,182
พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,134
ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,419
จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,627
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,155
เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,870
มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 826
สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,273
วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,559