เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,433

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา]

          เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร มีข้อความในพงศาวดารอีกฉบับหนึ่งซึ่งเป็นฉบับคู่แฝดกับพงศาวดารฉบับปลีกของนายไมเคิล ริคคารี ซึ่งบอกให้ทราบว่าเจ้าแสนสอยดาวผู้ครองเมืองกำแพงเพชรนั้นเป็นพี่ของพระยาเชลียง และมีข้อความเกี่ยวพันกับเมืองไตรตรึงษ์ตอนหนึ่งกล่าวว่า
          “เจ้าศรีวภักดี ซึ่งเป็นรองจากแสนสอยดาว ได้เจรจากับพระยาราม และมหาธรรมราชาที่ 4 ว่าจะเป็นทัพหน้ายกขึ้นไปไตรตรึงษ์ ข้อความในพงศาวดารที่ยกขึ้นมาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในช่วงนั้นเมืองกำแพงเพชรมีเจ้าแสนสอยดาวปกครองอยู่ เมืองกำแพงเพชรต้องสู้รบกับเมืองอื่น ๆ ทัพหน้าที่ยกมาเมืองไตรตรึงษ์ถูกตีกลับมาจนต้องให้พระยาเชลียงไปช่วยตีเมืองแล้วแต่งตั้งให้เจ้าไกรได้ครองเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วง พ.ศ. 1975 เมืองไตรตรึงษ์มีเจ้าเมืองจากทางเหนือเข้ามาปกครองเมืองไตรตรึงษ์ จากหนังสือลิลิตยวนพ่าย ซึ่งแต่งขึ้นมาเพื่อสรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นเรื่องราวการทำศึกสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนา กล่าวถึงพระยายุทธิษฐิระ เจ้าเมืองพิษณุโลกว่าเอาใจออกห่างจากกรุงศรีอยุธยา โดยไปติดต่อกับพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้ยกทัพมาตีเมืองชัยนาท สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยาตราทัพไปประชิดทัพเมืองเชียงใหม่เพื่อตีเมืองเชียงชื่น ทัพทั้งสองสู้รบกันเป็นสามารถโดยทัพเชียงใหม่เป็นฝ่ายปราชัย ในจำนวนโคลงดั้น 365 บท มีอยู่หลายบทที่กล่าวถึงเมืองกำแพงเพชร เมืองไตรตรึงษ์ และเมืองเทพนคร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหลักฐานของความเป็นบ้านเป็นเมืองที่ยังคงมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ ดังบทที่ 183 ความว่า หยหัศดิพิรพ่าหพ้องพลแขวง หนึ่งฤา ปูนแปดพันปลายปอง เกลื่อนแก้ว หัวเมืองกำแพงเพชร ครองเคลื่อน ไคลแฮ ธงเทศพรายแพร้วกั้ง กูบเงิน เมื่อทัพของพระเจ้าติโลกราชจากหัวเมืองล้านนายกลงมาตีเมืองพิษณุโลกซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองอยู่กองทัพจากเมืองกำแพงเพชรจึงยกทัพเพื่อจะไปร่วมรบกับทัพของกรุงศรีอยุธยา ส่วนอีกบทหนึ่งกล่าวถึงกองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้เมืองไตรตรึงษ์ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในตอนนั้นเมืองไตรตรึงษ์และเทพนครคงเข้ากับเมืองทางล้านนา ดังบทที่ว่า ชัยชัยยศโยคก้องไตรตรึงษ์ บุญเบิกเวียงทองปือ ไต่เต้าชัย ชัย ล้าพึงเสียง ฤาลาภ สรนั่น นิ้วนอบเข้า อยู่มือ บทต่อมากล่าวถึงเมืองเทพนครก็ยอมเข้าถวายตัวคือโคลงบทที่ 290 ชัยชยานุภาพ เทียมทิน กรแฮ เมืองเทพคนธรรม์ฤา อยู่ถ้อย ชัยชัยพ่อเพียงอินทร์นุภาพ บุญบอกเมืองถ้วนร้อย รอบถวาย และบทต่อมากล่าวถึงเมืองกำแพงเพชร ชัยชัยเมื่อปราบอ้อมกำแพงเพชร ผืนแผ่นสายเสมา ออกกว้าง ชัยชัยท่านไตรเตร็จในนารถ ยศโยกบุญท้าวอ้าง อาจครวญ
             นอกจากจะถูกกล่าวถึงในลิลิตยวนพ่ายซึ่งเป็นสมัยพระบรมไตรโลกนาถแล้ว เมืองไตรตรึงษ์ยังเป็นเมืองที่ปรากฏชื่อในจารึกหลักที่ 38 (ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร) สรุปใจความได้ว่า ในบรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งเสด็จมาประทับที่ในเมืองกำแพงเพชรในตอนที่จะสร้างศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรนั้น มีเจ้าเมืองไตรตรึงษ์รวมอยู่ด้วยองค์หนึ่ง ช่วงอายุของศิลาจารึกหลักที่ 38 อยู่ในช่วงระหว่างรัชกาลของสมเด็จพระนครินทราธิราชมาถึงรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา แสดงให้เห็นว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีความเป็นบ้านเป็นเมืองมาอย่างต่อเนื่องผิดกับเมืองนครชุมที่หมดความสำคัญและหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์แล้ว  

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1331&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1331&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,880

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,621

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,369

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) 

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,835

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 6,111

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,399

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,473

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,575

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,539

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,489