สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 1,523
[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”]
หลังจากที่พระเจ้ามังระสวรรคต ทางพม่าก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันภายในอยู่หลายปี ทำให้กรุงธนบุรีมีโอกาสได้หายใจหายคอ ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีลาวและกัมพูชาเพิ่มเติม จนสร้างเขตแดนของอาณาจักรกรุงธนบุรี จรดเวียดนาม ส่วนพระองค์เร่งวางรากฐานให้กรุงธนบุรี
ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พม่าไม่ได้เผาเฉพาะเมือง แต่ได้ทำลายวัฒนธรรมไทยทั้งหมดด้วย เพื่อไม่ให้เหลือเชื้อไว้สำหรับการสร้างชาติขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย
ช่างฝีมือทุกสาขาถูกต้อนกลับไปพม่าหมด แม้แต่พระภิกษุยังถูกไล่สังหารยกวัด มีบันทึกจากมิชชันนารีที่ยังอาศัยอยู่ในกรุงศรีฯ เขียนไว้ว่า เช้าวันหนึ่งทหารพม่านำพระภิกษุมารวมกลุ่มกันแล้วสังหารไปนับสิบรูป ในคราเดียว
กรุงธนบุรีจึงต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่ง เพื่อสร้างวัฒนธรรมกันใหม่
การสร้างชาติมิใช่เพียงการขยายราชอาณาเขต แต่ประชาชนคนในชาติต้องมีเอกลักษณ์ วัฒนธรรม อันเป็นคุณสมบัติทางนามธรรมของชาตินั้นด้วย
สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงพยายามเสาะหาพระเถระต่างๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อมาเผยแผ่พระศาสนาในกรุงธนบุรี และพบว่าพระอาจารย์ศรีวัดพนัญเชิงได้หลบภัยพม่าไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช จึงนิมนต์กลับสู่กรุงธนบุรี
ทุกครั้งที่ตีหัวเมืองใหญ่ของไทย เช่น นครศรีธรรมราช ราชสีมา พิมาย พิษณุโลก และเชียงใหม่ได้ พระองค์จะโปรดเกล้าฯ ให้นำผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมของแต่ละภาคมาถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นแก่ชาวกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงให้รวบรวมความรู้ทุกสาขาที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก มาแยกเป็นหมวดหมู่ และตั้งโรงสอนอย่างเป็นระบบ เช่น วิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปูนปั้น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง วิชาเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน ฯลฯ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระปรีชาสามารถทางด้านการประพันธ์ จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ถึง 4 ตอน และตำราการฝึกกรรมฐานอีก 1 เล่ม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านโขน ละคร รำไทย ปี่พาทย์ ฯลฯ ตั้งโรงฝึกสอนได้อย่างไม่จำกัด ทรงส่งเสริม ตั้งรางวัลให้มีการประกวด ประขัน ประชันกัน อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้นาฏศิลป์ นาฏดุริยางค์ และศิลปะการละครในสมัยกรุงธนบุรีรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
ในสมัยกรุงธนบุรี การค้าระหว่างไทย–จีน เจริญสุดขีด เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีเชื้อสายจีน และทรงเชี่ยวชาญภาษาจีนถึงสามสำเนียง คือ จีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน พระองค์จึงทรงติดต่อสื่อสารกับพระเจ้ากรุงจีนได้โดยตรง โดยใช้พระนาม “เสียมล่อก๊กแต้เจียว”
เรือสำเภาของไทยที่ส่งสินค้าไปขายยังเมืองจีนทำกำไรได้อย่างมหาศาล โดยที่จีนไม่เก็บภาษีขาเข้าเลย ได้ดุลการค้า จนสามารถนำมาใช้จ่ายเป็นเงินเดือนของข้าราชการทั้งหมดได้โดยที่ไม่ต้องเก็บภาษีจากประชาชน บางวันมีเรือสำเภาขนสินค้าออกจากท่าธนบุรีไปยังเมืองจีนถึง 12 ลำ พร้อมๆ กัน
เนื่องจากเรือสินค้าในสมัยนั้นยังไม่ใช้เครื่องยนต์ และขนาดไม่ใหญ่นัก ต้องแล่นลัดเลาะชายฝั่งเพื่อความปลอดภัย เรือจากยุโรปเลาะมาทางนครศรีธรรมราช สุดที่กรุงธนบุรี ในขณะที่เรือจากจีนก็เลาะมาทางเวียดนาม กัมพูชา จังหวัดตราด สุดที่กรุงธนบุรีเช่นกัน เราจึงเป็นศูนย์กลางของการค้าโลก (ในปัจจุบันเรือใช้เครื่องยนต์ จึงพักที่สิงคโปร์ แล้ววิ่งฝ่ามหาสมุทรไปจีน ญี่ปุ่นได้เลย) นอกจากนั้น กรุงธนบุรียังเป็นศูนย์กลางการต่อเรือของโลกอีกด้วย
พระองค์ทรงเลือกสถานที่สร้างกรุงแห่งใหม่ที่ “ธนบุรี” ซึ่งแปลความหมายตรงตัวได้ว่า “เมืองแห่งเงิน” หรือ “เมืองแห่งความมั่งคั่ง” เพราะมีชัยภูมิที่เหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางแห่งการค้าและการเดินเรือ เมื่อเทียบแล้ว กรุงธนบุรีจึงมีความสำคัญมากกว่าเกาะสิงคโปร์ในเวลานั้นเสียอีก
กรุงธนบุรีเริ่มเป็นปึกแผ่นมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาต้องใช้เวลาถึงกว่าสามร้อยปีจึงจะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าของเอเชียอาคเนย์ แต่พระองค์กลับทรงสร้างกรุงธนบุรีให้เจริญมั่งคั่งเกินหน้าสมัยอยุธยาได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น
.......และแล้ว พม่าก็เริ่มผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการแย่งชิงอำนาจ ผู้ชนะคือ พระอนุชาของพระเจ้ามังระ นามว่า “พระเจ้าปดุง” ซึ่งมีความหมายมั่นจะยกทัพมายึดแผ่นดินไทยอีกครั้งอย่างแรงกล้ายิ่ง เมฆฝนแห่งสงครามครั้งใหญ่ กำลังก่อตัวขึ้น.......คราวนี้หนักกว่าเมื่อครั้งศึกอะแซหวุ่นกี้เสียอีก...... (ส่วนอะแซหวุ่นกี้ยอดขุนศึกคู่บัลลังค์กษัตริย์องค์ก่อน ถูกพระเจ้าปดุงยัดข้อหาว่าเป็นกบฏ รับโทษถูกประหารชีวิตไปตามระเบียบ)
ในรัชสมัยพระเจ้าปดุง ไทยต้องทำสงครามครั้งใหญ่กับพม่า ถึง 7 ครั้ง
คำสำคัญ : พระเจ้าตากสินมหาราช
ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”. สืบค้น 14 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2137&code_db=610001&code_type=TK001
Google search
หลังจากที่พระเจ้ามังระสวรรคต ทางพม่าก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันภายในอยู่หลายปี ทำให้กรุงธนบุรีมีโอกาสได้หายใจหายคอ ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีลาวและกัมพูชาเพิ่มเติม จนสร้างเขตแดนของอาณาจักรกรุงธนบุรี จรดเวียดนาม ส่วนพระองค์เร่งวางรากฐานให้กรุงธนบุรี
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,523
เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 705
ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 479
ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,330
ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,264
เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มนักดนตรีมอญด้วย หรือวงปีพาทย์รามัญ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก ยังมีปรากฏจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของผู้คนในเมืองตากที่สัมพันธ์กัน ในปัจจุบันยังคงพบวงดนตรีปีพาทย์มอญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานการตั้งถิ่นฐานย่านชุมชนมอญที่เมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,114
เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,452
การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 577
ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 951
กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 997