ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 805
[16.8784698, 98.8779052, ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก]
ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก
เมื่อมาถึงปากทางเข้าซอยทางเข้า เราจะเห็นป้ายชื่อตรอกบ้านจีนด้านหน้า ให้หาที่จอดรถในละแวกนั้นแล้วเดินเข้าไป เพราะซอยค่อนข้างเล็กรถสวนกันไม่ได้ เดินชมตัวบ้านจะสะดวกกว่า จากปากซอยไปจนถึงสุดซอยไม่ไกล ใช้เวลาเดินชมชมถ่ายภาพ แค่ 15-30 นาที แนะนำให้มาช่วงเช้าไม่เกิน 10 โมง หรือช่วงบ่าย 4 โมงครึ่ง แสงจะส่องกระทบลงมายังตัวบ้านได้แสงเงาแบบเก่า ๆ
ตรอกบ้านจีน เป็นศูนย์กลางการค้าขายของเมืองตากตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากพื้นที่อยู่ติดแม่น้ำปิงและเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าจากที่ต่าง ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตรอกบ้านจีนได้รับผลกระทบจากการทิ้งระเบิด ชาวบ้านต้องอพยพย้ายถิ่นจึงทำให้ชุมชนเงียบเหงา แต่ในปัจจุบันทางชุมชนได้รวมตัวกันดูแลรักษาฟื้นฟูและซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกจีนให้มีชีวิตชีวา จึงทำให้ชุมชนนี้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง
บ้านเรือนในชุมชนตรอกบ้านจีน เป็นบ้านไม้ที่มีลักษณะผสมผสานกันทั้งศิลปะสมัยอยุธยา แบบจีน และคลาสสิคในสมัยรัชกาลที่ 5 บางหลังยังมีผู้อาศัยอยู่ บางหลังก็ถูกทิ้งร้าง แต่ทุกหลังมีความงดงามในแบบของตัวเอง แน่นอนว่าบ้านเหล่านี้เป็นถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนาของลูกหลานในตระกูลสำคัญของจังหวัดตาก
บริเวณชุมชนตรอกบ้านจีน มีบ้านที่อนุรักษ์และปรับปรุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ อาทิ บ้านไม้หลังใหญ่ติดป้ายพรรคประชาธิปัตย์ บ้านของตระกูลไชยนันท์ เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น มีระเบียงฉลุลายสวยงาม ปัจจุบันเป็นที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ด้านในมีห้องสมุดการเมืองที่สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้
บ้านสีฟ้าของตระกูลโสภโณดร เป็นอาคารไม้แบบตะวันตก 2 ชั้น ทรงขนมปังขิง ขอบประตู หน้าต่าง และเชิงชายหลังคาเป็นไม้ฉลุลายโปร่งแบบตะวันตก สร้างโดยหลวงบริรักษ์ประชากร ในอดีตบ้านหลังนี้ถูกใช้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหรือข้าราชการต่าง ๆ ที่ต้องเดินทางโดยทางน้ำเพื่อติดต่อราชการขึ้นล่องระหว่างเชียงใหม่กับกรุงเทพมหานคร
เดินไปสุดซอยจะพบกับ บ้าน(จีนทองอยู่) หลวงบริรักษ์ประชากร ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแนวผสมผสานไทย ตะวันตกและจีน ทางเข้าโดดเด่นด้วยซุ้มประตูแบบตะวันตก มีบันได้โค้งเดินขึ้นด้านบน ภายในบ้านมีลวดลายสลักเสลาด้วยไม้ประดับสวยงาม และมีการสะสมของเก่าของโบราณ เช่น โถกระเบื้องเคลือบ ปิ่นโต ตะเกียง เครื่องถ้วยชามโบราณ ภาพเก่าเตียงโบราณที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
มาถึงตรอกบ้านจีนแนะนำต้องไม่พลาดมาทาน ผัดไทยตรอกบ้านจีน ผัดไทยโบราณราคาแสนถูก ตัวร้านเป็นบ้านไม้เก่าแก่มีที่นั่งประมาณ 5 โต๊ะ เมนูมีทั้งผัดไทย ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่เกี๊ยว ราคาอยู่ที่ 20-25 บาท เราสั่งผัดไทยใส่ไข่จานเล็กในราคา 20 บาท หน้าตาดูธรรมดา เครื่องอาจไม่ได้มากเหมือนผัดไทยทั่วไป คิดในใจรสชาติคงไม่เท่าไหร่ แต่หลังจากคลุกเคล้าเครื่องปรุงและผักเครื่องเคียงให้เข้ากัน ตักเข้าปากเท่านั้นแหละว้าวเลย เป็นรสชาติผัดไทยที่ไม่เคยทานมาก่อน เพราะเป็นสูตรโบราณ ใช้เส้นผัดไทยแบบก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเส้นนุ่มกำลังดี ผัดด้วยน้ำมันจากกากหมูจึงมีความหอมอร่อยพอดีแบบไม่ต้องปรุงเพิ่ม หากใครอยากมาลิ้มรสผัดไทยสูตรโบราณ ร้านนี้เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 – 16:00 น.
คำสำคัญ : บ้านคนจีน
ที่มา : https://www.paiduaykan.com/travel/ตรอกบ้านจีน
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2054&code_db=610001&code_type=TK001
Google search
หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 562
วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 398
การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 474
เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 829
บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 308
เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 473
การรังสรรค์งานศิลปะบนฝาผนังของศิลปิน เรียกว่า จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่ต้องใช้พลังความศรัทธาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วิหาร ของวัดอันเป็นจุดกลางของชุมชน ศิลปินต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ชำนาญทั้งการวาดภาพประกอบ การจิตนภาพชาดก วรรณกรรมพื้นบ้าน การจัดวางองค์ประกอบตัวละคร รวมไปถึงการสอดแทรกเรื่องราววิถีชาวบ้านสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจของการชมผนังเก่าเล่าเรื่อง หรือจิตรกรรมนั้นเอง ในเมืองตากยังมีหลายวัดที่ยังคงพยายามรักษาจิตกรรมศิลปะพื้นบ้านไว้เป็นอย่างดี อย่างเช่น วัดไม้งามหลวง ตำบลไม้งาม จังหวัดตาก
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 431
ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 310
พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 2,412
รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 553