ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 1,347

[16.8784698, 98.8779052, ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก]

      คำว่าลาว จำกัดความของกลุ่มชนในภาคกลางที่เรียกกลุ่มที่ใช้ภาษาสำเนียงต่างจากการตนเอง ดังนั้นชาวสยามในช่วงต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา จึงเรียกกลุ่มตนที่ใช้ภาษาต่างจากต้นว่า ลาว อันหมายรวมถึง ชาวไทยทางภาคเหนือ และอีสาน ซึ่งในเรื่องนี้จะข้อกล่าวถึงเพียงชาวไทยทางภาคเหนือเท่านั้น
      คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่าง ติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ ต้นซอยตรอกบ้านจีน เป็นจุดขนและกระจายสินค้าใหญ่ที่กลุ่มคนไทยพื้นถิ่นแทบบ้านคลองสัก ตะลุกกลางทุ่ง นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือ ชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึง เมืองปากน้ำโพ มายังบริเวณตลาดริมน้ำที่เมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”
      ตลาดลาว จึงเป็นร่องรอยการค้าของผู้คนบนลำน้ำปิง แม้ในปัจจุบันตลาดลาวจะเหลือเพียงชื่อ และภาพ พร้อมทั้งเรื่องเล่าของลูกหลานนายฮ้อยเรือให้ระลึกถึงอาชีพเก่าแก่ของรุ่นบรรพบุรุษ


(ที่มาของเรืองและภาพ หนังสือเรื่องเล่าชาวปากน้ำโพ / ที่มาของเรื่องท้องถิ่น คุณระพี วงศ์นุ้ย, อาจารย์วิไลวรรณ อินทร์อยู่ อาจารย์เยาวเรศ บัวทอง และวิทยานิพนธ์ แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ตรอกบ้านจีนฯ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)

คำสำคัญ :

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/833244350099107

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก. สืบค้น 15 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2067&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2067&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 788

Amazing Journey Go Local : ตาก เมืองรองของไทยต้องไปให้รู้

Amazing Journey Go Local : ตาก เมืองรองของไทยต้องไปให้รู้

สำหรับใครหลายคน เมื่อพูดถึงจังหวัดตากมักนึกถึงเพียงน้ำตกและอำเภอแม่สอดที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศพม่า เมืองท่าสำคัญในการค้าขายระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเมื่อแรกก้าวเข้ามายังจังหวัดตาก บรรยากาศโดยรอบก็กระซิบกับเราทันทีว่าสถานที่แห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเริ่มต้นจากกลิ่นอายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กระจายตัวทั่วจังหวัด ทั้งชาวปกาเกอะญอ ชาวไทใหญ่ ชาวมูเซอ รวมถึงชาวไทยเชื้อสายพม่า ที่ทำให้จังหวัดนี้เต็มไปด้วยความหลากหลาย

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 24

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,609

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 3,585

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 742

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 723

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 657

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,585

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 603

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เมืองตาก วาทะท้องถิ่นกับการผลิตซ้ำ

เมืองตากแม้จะเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองกึ่งกลางเส้นทางลำน้ำปิงและเมืองชายแดนพม่าก็ตาม แต่จากเอกสารในหอจดหมายเหตุท่านไม่เคยเสด็จฯมาเมืองตาก คงจะมีเพียงมงกุฏราชกุมารซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 เท่านั้น การเสด็จในครั้งนั้นท่านเสด็จมาถึงเพียงปากน้ำโพเพื่อทรงเปิดทางรถไฟสายเหนือ ในคราวนั้น มงกุฏราชกุมารเสด็จฯพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปทำความคุ้นเคยกับเจ้านายหัวเมืองล้านนา ขากลับเสด็จฯ ลงมาตามลำน้ำปิงและเสด็จขึ้นเมืองตาก ในสมัยนั้นการสื่อสารคงยังไม่ทันสมัย ความแพร่ภาพเจ้านายต่อสาธารณะชนจึงน้อย และการเสด็จในครั้งนั้นเป็นการเสด็จแทนพระองค์ ชาวบ้านจึงอนุมานไปว่าเจ้านายที่เสด็จฯ คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 779