สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 1,660

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”]

        หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุดก็คือพิษณุโลก
        อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพกำลังพลราวสามหมื่นห้าเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกทุกทิศทุกทาง
        เมืองพิษณุโลกในขณะนั้นมีเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ สองพี่น้อง เป็นผู้สำเร็จราชการดูแลอยู่ ทั้งสองได้ทำการต่อสู้ปกป้องเมืองอย่างสามารถ พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า เจ้าพระยาทั้งสองผลัดกันนำทัพออกจากกำแพงเมืองเข้าตีค่ายพม่าอย่างดุเดือด ไม่ต่ำกว่าสิบครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ
        เมืองพิษณุโลก ถูกล้อมเป็นเวลายาวนาน ทำให้ขาดเสบียงอาหาร แม้กองทัพกรุงธนบุรีจะพยายามส่งเสบียงลำเลียงขึ้นไป แต่ก็ถูกทหารพม่ามาสกัดตัดเอาไปได้เสียกลางทางทุกครั้ง ชาวพิษณุโลกจำนวนประมาณหนึ่งหมื่นคนจึงเริ่มเสียชีวิตเพราะขาดอาหาร
        สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงตัดสินพระทัยนำกองทัพเรือหลวงจากกรุงธนบุรีเข้าตีกองทัพพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลก โดยยกทัพเข้าระดมตีค่ายพม่าทางด้านตะวันออกแบบสายฟ้าแลบในเวลากลางดึก และรบกันอย่างชุลมุนจนถึงเช้า แต่ก็ยังตีหักค่ายพม่าไม่ได้ จำต้องล่าถอยกลับออกมา
        สองวันต่อมา กองทัพใหญ่ของพม่ารุกไล่มาเข้าตีค่ายกองทัพหลวงบ้าง โดยได้ทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดตั้งใจเอาชนะให้ได้ และสามารถตีค่ายไทยจนแตก แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงใช้พระแสงดาบนำหน้าไล่ฟาดฟันพม่าจนกระทั่งชิงเอาค่ายกลับคืนมาได้ แล้วรับสั่งว่าต้องทิ้งค่ายโดยด่วน ให้พยายามรวบรวมอาวุธที่ตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปืนใหญ่จำนวนมาก ถอยร่นทัพหลวงลงมาตั้งค่ายแห่งใหม่ที่เมืองพิจิตรแทน
        จะเห็นได้ว่า กองทัพอะแซหวุ่นกี้ทัพนี้เก่งฉกาจนัก เพราะมีแม่ทัพฝีมือดีหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องชายของอะแซหวุ่นกี้ และแม่ทัพนามว่ากะละโบ่ ซึ่งประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าเป็นผู้มีฝีมือสูงส่งยิ่ง ดังนั้น แม้สมเด็จพระเจ้าตากสิน เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ จะผนึกกำลังกัน ก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้
        กลยุทธ์การศึกของอะแซหวุ่นกี้ก็ลึกล้ำ โดยได้ส่งทัพใต้อีกทัพเข้ามาทางด่านสิงขร ประจวบคีรีขันธ์ รุกขึ้นมาทางเพชรบุรีเพื่อจะเข้าตีกรุงธนบุรี ในขณะที่ทัพหลวงทั้งหมดต้องยกขึ้นไปช่วยเมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวว่าทหารพม่าบุกเข้ามาทางใต้ถึงเพชรบุรี จึงได้แบ่งกำลังทหารจากกองทัพหลวงบางส่วนให้รีบเร่งรุดลงมาปกป้องพระนคร ในขณะที่ทัพใหญ่ก็ไม่กล้ารุกขึ้นเหนือ เพราะพะวงศึกทางใต้
        เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เห็นว่าประชาชนเริ่มทยอยกันขาดอาหารตาย จึงทูลขอพระบรมราชานุญาตถอนกำลังออกจากเมืองพิษณุโลก วันที่จะทิ้งเมือง เจ้าพระยาจักรีได้ตั้งปืนใหญ่ยิงกราดไปยังทหารพม่าอยู่ตลอดเวลา เพื่อกันให้ประชาชนอพยพออกจากเมืองได้อย่างปลอดภัย โดยมีทหารกองหน้าฝีมือดีคอยตีทหารพม่าเพื่อเปิดทาง และใช้เวลาย่ำค่ำสามทุ่มเป็นฤกษ์ในการเริ่มอพยพ
        หลังจากทหารไทยถอยทัพ พม่าก็บุกเข้ายึดภายในตัวเมืองพิษณุโลกได้อย่างเด็ดขาด อะแซหวุ่นกี้สั่งเผาเมืองให้สิ้น ไฟลุกโชติช่วงสว่างราวกับกลางวันอยู่ตลอดคืน แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่าวิหารพระพุทธชินราชไม่ไหม้ไฟแม้แต่น้อย ในขณะที่ภายในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราบเรียบเป็นหน้ากลอง
        เมื่อได้เมืองพิษณุโลก อะแซหวุ่นกี้เตรียมยกทัพต่อเนื่องลงมายังนครสวรรค์ และตั้งเป้ายึดกรุงธนบุรี โดยประกบกับทัพใต้ที่ยกมาทางเพชรบุรี ข่าวพิษณุโลกแตก และกองทัพหลวงพ่ายแพ้ สร้างความตระหนกให้กับชาวกรุงธนบุรีมาก เพราะถ้าทัพเหนือและทัพใต้ของพม่ามาถึง การจะตีเข้ากรุงธนบุรี ง่ายกว่ากรุงศรีอยุธยามาก เนื่องจากไม่มีกำแพงเมือง และขณะนั้นจีนก็เข็ดขยาดกับการบุกภาคเหนือของพม่าไปแล้ว ไม่สามารถมาช่วยเราได้อีก (แม่ทัพที่รบกับจีนก็คืออะแซหวุ่นกี้)
        แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น ปรากฏว่าที่เมืองพม่า พระเจ้ามังระสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน มีการผลัดเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีท้องตราเรียกกองทัพพม่ากลับเมืองโดยด่วน อะแซหวุ่นกี้จึงรีบยกทัพกลับทันทีโดยออกไปทางด่านแม่ละเมา สงครามยุติแบบงวยงง แต่เป็นเรื่องดี มิฉะนั้น นึกภาพไม่ออกเลยว่า กองทัพไทยจะต้านทัพอะแซหวุ่นกี้ ที่กำลังฮึกเหิมไหวหรือไม่
        การสงครามคราวนี้ต้องรบกับพม่าแต่เดือนอ้าย พ.ศ.2318 ถึงเดือนสิบ พ.ศ.2319 รวมเป็นเวลาถึงสิบเดือนจึงเลิกรบ
        ขณะที่ไทยติดพันกับศึกอะแซหวุ่นกี้ ในปีเดียวกันนั้นเอง เจ้านครจำปาศักดิ์ได้กำเริบคิดเป็นกบฏ เมื่อเสร็จศึกกับพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพบุกไปตีนครจำปาศักดิ์ และให้จับเจ้าเมืองประหารเสีย หลังปราบกบฏลาวสำเร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรีเป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” (ผู้มีอำนาจสั่งการศึกเทียบเท่าพระมหากษัตริย์)

คำสำคัญ : พระเจ้าตากสินมหาราช, อะแซหวุ่นกี้

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2136&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2136&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 475

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 403

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 421

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 844

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 658

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,490

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 806

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 547

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 554

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 321