สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้ชม 2,453
[16.4569421, 99.3907181, สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า]
“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)
สาวบ้านปากคลอง ในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ใช้กำไลแสดง ฐานะการครองตัว ว่าโสดหรือไม่โสด การมองผู้หญิง จะเกี้ยวพาราสีได้หรือไม่ เขาจะมองกำไลที่ข้อเท้า ถ้าสวมอยู่ก็สามารถเกี้ยวได้แต่ถ้าถอดกำไลแล้ว ผู้ชายเขาจะไม่เกี้ยวพาราสี กับผู้หญิงคนนั้น นับว่าเป็นภูมิปัญญาในการใช้กำไลข้อเท้าบอกสถานภาพทางสังคม : กำไลข้อเท้าสามารถเป็นเครื่องแสดงถึงสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ได้ สำหรับเจ้านายและเจ้าฟ้าในวัง จะนิยมใส่กำไลข้อเท้าซึ่งโดยมากแล้วคือกำไลหัวบัว ทำด้วยเนื้อโลหะเงินหรือทองคำ หัวบัวสลักด้วยลวดลวยที่วิจิตร ในหมู่ชาวบ้านที่มีฐานะก็อาจจะใส่กำไลหัวบัวที่ทำด้วยโลหะเงินสลักลายที่หัวบัวแบบเรียบง่าย และในหมู่ชาวบ้านทั่วไปก็อาจจะใส่เป็นกำไลที่ทำด้วยโลหะสำริด
กำไลข้อเท้ากับสถานภาพการสมรสของสตรี : กำไลข้อเท้าจะสวมใส่ตั้งแต่เด็ก และเปลี่ยนขนาดไปเรื่อยจนเป็นสาว จะถอดกำไลออกก็ต่อเมื่อถึงวันแต่งงาน และผู้ที่จะเป็นคนถอดกำไลให้ก็คือคนที่เป็นสามีนั่นเอง จนมีสำนวนบ้านปากคลองว่า ข้าจะถอดกำไลให้เอง ซึ่งหมายถึง ข้าจะมาเป็นสามีของเอง หรือมาแต่งงานกับเอง
ปัจจุบันประเพณีการถอดกำไล หายไปจากบ้านปากคลอง กว่าห้าสิบปีแล้ว เสียดายถ้ารื้อฟื้นขึ้นมาจะเป็นประโยชน์ในการแสดงสถานะของสตรีในสังคม
คำสำคัญ : กำไลข้อเท้า
ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า. สืบค้น 14 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1419&code_db=610004&code_type=01
Google search
ในปัจจุบันนี้พิธีโกนจุกได้เลือนหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเด็กไม่นิยมที่จะไว้ผมจุก เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมจึงทำให้พิธีกรรม ในสมัยโบราณได้สูญหายไป พิธีโกนจุกจะกระทำเมื่อเด็กย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หมายความว่า ชายจะมีอายุ 13 ปี ส่วนหญิงจะมีอายุ 11 ปี จึงมีการบอกกล่าวแก่ญาติมิตรโดยเรียกว่า พิธีมงคลโกนจุก ในพิธีการสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ 1 วัน วันรุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วต้องตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ในตอนบ่ายจะมีการเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กตามแบบพิธีพราหมณ์ โดยส่วนมากพิธีโกนจุกจะหาโอกาสทำร่วมกับพิธีมงคลอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญวันเกิด เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,458
เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 6,648
ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,082
เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและของท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,133
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 8,189
โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ คุยกัน เกี้ยวพาราสี กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมาก??ซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,221
ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 4,091
ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 31,851
“เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเซิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นวรรณกรรมจากปลายปากกาของ “จรัสศรี จิรภาส” อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถ ปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 369
ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 4,333