วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้ชม 2,531

[16.2499545, 99.8911707, วันเข้าพรรษา]

        เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11  วันเข้าปัจฉิมพรรษา  คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12 เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้ 
        1. เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้            
        2. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้            
        3. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้ 
        4. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้ 
        5. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้ 
        6. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธา สามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้ 
        7. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
        8. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
        9. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้
        ในวันเข้าพรรษาถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า อิมสฺมึ  อาวาเส  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ  หรือ  อิมสฺมึ  วิหาเร  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ แปลว่า  ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้ (ว่า 3 ครั้ง) หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

 ภาพโดย : https://3.bp.blogspot.com/-RTTNcnaubco/V4oKlKTO1zI/AAAAAAAAABM/tQHslFQg4QIqw3wl3T-wq9BPeZJOCv7KwCLcB/s1600/64226.jpg

 

คำสำคัญ : วันเข้าพรรษา

ที่มา : http://guru.sanook.com/4160/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วันเข้าพรรษา. สืบค้น 21 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=164&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=164&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 6,583

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

เพลงฉ่อยตำบลลานดอกไม้

บ้านร้านดอกไม้ ในอดีต กลายมาเป็นบ้านลานดอกไม้ในปัจจุบัน ริมฝั่งน้ำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรไปเล็กน้อย มีชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ชุมชนโบราณบ้านลานดอกไม้ ในชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนดั้งเดิม ประชาชนอาศัยอยู่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมจึงฝังรากลึก ในบ้านลานดอกไม้ เพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมากว่าร้อยปี จึงอยู่ในสายเลือดของชาวบ้าน การตามหาเพลงพื้นบ้าน โดยการไปพบแม่เปรื่อง ผิวพรรณ วัย 70 ปี ลูกศิษย์เอกของแม่ต่อ นุ่มน่วม แม่เพลงในอดีต ที่เสียชีวิตไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,562

ระบำ ก. ไก่

ระบำ ก. ไก่

ชุมชนบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หลายด้าน เช่น นิทานเรื่องท้าวแสนปม การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงระบำ ก. ไก่ ซึ่งมีลักษณะการใช้ภาษาที่โดดเด่นเล่นคำอักษร ก ถึง ฮ เนื้อหาของบทร้องเป็นไปในเชิงเกี้ยวพาราสี โดยสะท้อนถึงชีวิตของคนไทยสมัยหนึ่ง จึงเป็นกิจกรรมที่พึงกระทำ และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อมา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 8,131

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,223

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)มีขึ้นภายหลังจากที่มีการอยู่กรรมจากการเผาไฟในไร่ช่วงกลางเดือนเมษายน ตรงกับเดือนอาข่า "ขึ่มสึ บาลา"อาข่าจะประกอบพิธี "ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว" เป็นประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีปีใหม่ชนไข่ เนื่องจากประเพณีนี้มีการนำไข่มาใช้ประกอบพิธี เด็กๆ จะมีการเล่นชนไข่ โดยการย้อมเปลือกไข่ให้เป็นสีแดง และใส่ตะกร้าห้อยไปมา เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 7,618

รำแม่ศรีจังหวัดกำแพงเพชร

รำแม่ศรีจังหวัดกำแพงเพชร

รําแม่ศรี เป็นชื่อที่ใช้เรียกการรํา ที่ได้นําการละเล่นการเข้าทรงในสมัยโบราณมาประยุกต์ให้เข้ากับศิลปะการรําของภาคกลางของชาวบ้านปากคลองสวนหมากหรือในปัจจุบันคือนครชุม โดยเป็นการเข้าทรงแม่ศรี หลักเมือง ตํานานกล่าวกันว่าที่เวียงจันทน์มีสตรีนามว่าสีได้ตั้งครรภ์ท้องแก่ได้ยอมสละชีวิตตัวเองลงไปฝังอยู่กับเสาหลักเมืองเพื่อเป็นผีบรรพบุรุษคอยปกป้องคุ้มครองลูกหลาน คนสมัยก่อนจึงมีความเชื่อเรื่องการเข้าทรง เพื่อให้แม่ศรีหลักเมืองอยู่คุ้มครองลูกหลาน

เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 378

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 7,204

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 10,959

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 6,249

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษา

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,183