ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12
เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้ชม 2,234
[16.4569421, 99.3907181, ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12]
ในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 งานประเพณีลอยกระทงที่ชาวบ้านจะร่วมใจสืบทอดประเพณีวิถีถิ่นของในตำบลนครชุมด้วยการ "แกงขี้เหล็ก” ซึ่งเป็นความเชื่อคนโบราณว่า เป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะ โดยเมืองนครชุม เป็นเมืองแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมในด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ชุมชน ชาวบ้านย้อนอดีตและออกมารักษาวัฒนธรรมประเพณีนี้กันอีกมากมาย ทำให้สร้างอาชีพ กระจายรายได้และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่มาจากบรรพบุรุษเรามานานนม แสดงถึงวิถีชีวิตความเอื้ออาทร ต่อกันเคยทำแจกกันในสมัยก่อน ปู่ ย่า ตา ยาย เคยทำมาและอวยพรให้ชาวบ้าน อยู่ดีมีสุข สุขภาพแข็งแรง
ประวัติความเป็นมา
แกงขี้เหล็ก มีส่วนประกอบของแกงขี้เหล็ก ใบขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืด โดยมีความเชื่อที่ว่า การปรุงแกงขี้เหล็กเพื่อ เป็นยาอายุวัฒนะ ก่อนหน้าการลอยกระทงเพียง 12 ชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาคอยรักษา จึงต้องทำพิธีนี้ขึ้นเพื่อขออนุญาตนำดอกขี้เหล็กและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารและต้องแกงขี้เหล็กให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง การหักช่อดอกต้องทำด้วยความสุภาพและระมัดระวัง ให้ความเคารพต่อเทพเทวดาที่สถิตอยู่กับต้นขี้เหล็กนั้น ปัจจุบันจะมีแกงกันในวันเพ็ญดังกล่าว เฉพาะบ้านผู้รู้ในตำราแพทย์แผนไทย กล่าวว่า แก้ท้องผูก นอนไม่หลับ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร ส่วนคนที่มารับประทาน แกงขี้เหล็กได้ฟรี หรือจะทำบุญแล้วแต่กำลังศรัทธา จะนำเงินที่ได้ทั้งหมดไปถวายวัด
ขั้นตอน/วิธีการ
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้ร่วมใจกันรื้อฟื้นตำนานแกงขี้เหล็ก ที่หายไปจากตำบลนครชุม กว่า 50 ปีแล้ว เพื่อสืบทอดประเพณีวิถีถิ่นของนครชุมเมืองโบราณ โดยหลังเที่ยงคืนเข้าสู่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวตำบลนครชุมจะออกจากบ้านไปเก็บขี้เหล็ก ซึ่งก่อนทำการเก็บนั้นจะต้องมีการจุดธูปขอขมา บอกกล่าวกับต้นขี้เหล็ก เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารรับประทาน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ได้ ซึ่งเป็นความเชื่อของคนโบราณว่า ต้องเก็บวันนั้น แกงวันนั้น และกินให้หมดวันนั้น จะเป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะ
ใบขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญเดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืดและแกงให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้น สรรพคุณจะไม่ขลัง ปัจจุบันจะมีแกงกันในวันเพ็ญดังกล่าวเฉพาะบ้านผู้รู้เท่านั้น ซึ่งในตำราแพทย์แผนไทย กล่าวว่า ขี้เหล็กแก้ท้องผูก นอนไม่หลับ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร
วัตถุดิบ
- ใบเพสลาดและดอก (จากพิธีพลียา)
- พริกแกง (พริกแห้งเม็ดใหญ่ มะกรูด ข่า ตะไคร้ กะปิ กระชาย กระเทียม หัวหอม ปลาย่าง)
- กะทิ
- ปลาย่าง
- น้ำปลาร้า หรือปลาอินทรีย์เค็ม
- เนื้อและหนังหมูย่าง
- น้ำปลา
- เกลือป่น
การเลือกวัตถุดิบ
ต้นขี้เหล็ก ขี้เหล็กมี 2 พันธุ์ คือ
1. ขี้เหล็กยอดแดง (ขี้เหล็กเลือด) จะมีรสชาติขมมาก ไม่นิยมนำมาทำอาหาร
2. ขี้เหล็กยอดขาว จะมีรสชาติขมเล็กน้อย เหมาะแก่การทำอาหาร
ใบ เลือกเอายอดอ่อน (ใบเพสลาด) ใบอ่อน จนถึงใบกลาง เป็นการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย จะไม่ใช้ใบแก่ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ เกิดเป็นโรคตับได้
ปลาย่าง ปลาที่ใช้ คือ ปลาดุก ปลาช่อน ปลากด ปลาสร้อย เลือกปลาย่างที่เพิ่งย่างใหม่ จะได้ไม่มีกลิ่นเหม็น (เวลาเลือกต้องดมกลิ่นด้วย)
ปลาอินทรีย์เค็ม เลือกปลาที่มีเนื้อสีแดง เพราะจะเป็นปลาอินทรีย์ใหม่ จะมีกลิ่นหอมเมื่อนำไปทำอาหาร สูตรนครชุมจะใช้เนื้อปลาอินทรีย์ (ถ้าไม่ใส่น้ำปลาร้า) สัดส่วนที่ใช้ขึ้นอยู่กับปริมาณขี้เหล็ก แต่จะไม่ใช้เยอะ ใส่พอแค่มีกลิ่นหอม
กะทิ เลือกใช้กะทิคั่นสด (คั่นเอง หรือ ซื้อแบบสำเร็จแยกหัวกะทิ หางกะทิ) ไม่ใช้กะทิแบบกล่องอัตราส่วนหัวกะทิ หางกะทิ (ต้องสอบถามเพิ่ม)
หมู เนื้อหมูช่วงสะโพกเนื้อแดงสด ขนาดกว้าง 1 ฝามือ หนา 1 นิ้ว ส่วนหนังหมู ติดมัน (หนังหมูที่ใช้ทำลาบ) ขนาดกว้าง 1 ฝามือ
ดอก
- นำดอกที่เก็บมาเด็ดและล้างให้สะอาด
- ต้มดอกขี้เหล็กแยก เพราะดอกจะสุกช้ากว่าใบ (จะได้สุกและไม่แข็ง)
- ดอกจะใส่ในอัตราส่วนประมาณ 1 ต่อ 10
ต้มใบขี้เหล็ก
- นำใบล้างน้ำให้สะอาด (แยกดอก กับใบ)
- นำใบใส่หม้อ ใส่น้ำและโรยเกลือเม็ด
- คนให้เกลือกระจายทั่วหม้อและกดให้ใบมิดน้ำ
- ต้มด้วยไปกลางให้เดือดประมาณ 30 นาที (รอบแรก)
- เมื่อครบเวลา 30 นาที ตักน้ำต้มออกจนแห้ง แล้วใส่น้ำใหม่ลงไป
- โรยเกลือ แล้วคนเกลือให้ทั่วหม้อ ต้มอีก 30 นาที (รอบสอง)
- เมื่อครบเวลา 30 นาที ให้ลองชิมใบว่ายังมีรสชาติขมอยู่ไหม (ถ้าขมให้ต้มจนกว่าจะเบาขม)
- ถ้าไม่ขมให้ตักน้ำออกจนแห้ง แล้วใส่น้ำเย็นลงไป
- คั่นเอาน้ำออกให้หมด แล้วใส่ภาชนะพักไว้
ปลาย่าง
- นำมาปลาย่าง มาย่างไฟอ่อนๆ ให้มีกลิ่นหอม
- ถ้าปลาตัวใหญ่ ให้แกะเอาก้างออก
- แบ่งเนื้อบางส่วนโขลกกับพริกแกง
- ที่เหลือนำมาตำให้ละเอียดจนป่น
ปลาอินทรีย์เค็ม
- นำมาย่างไฟอ่อนๆ ให้สุกและมีกลิ่นหอม
- นำมาแกะก้างออก แล้วบี้ให้เนื้อปลาเป็นชิ้นเล็กๆ
พริกแกง
เครื่องพริกแกง คือ พริกแห้งเม็ดใหญ่ มะกรูด ข่า ตะไคร้ กะปิ กระชาย กระเทียม หัวหอม ปลาย่าง
- ล้างพริกแห้งเม็ดใหญ่ มะกรูด ข่า ตะไคร้ กระชายให้สะอาด
- หั่นเปลือกมะกรูด กระชาย ข่า ตะไคร้
- ปอกกระเทียม หัวหอม แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
- เด็ดก้านพริกแห้งออกและพริกแห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
- ตำพริกแห้ง ข่า มะกรูด ตะไคร้ กะปิ ให้ละเอียด (ตำของแข็งๆก่อน)
- ใส่หัวหอม กระเทียม กระชาย ลงไปตำให้ละเอียด (ตำเพิ่มทีหลังเพราะจะได้ไม่กระเด็น)
- เมื่อตำเริ่มละเอียด ให้ใส่เนื้อปลาย่างตำให้เข้ากัน
กะทิ
- นำกะทิตั้งอุ่นบนไฟอ่อนๆ หัวกะทิ 1 หม้อ หาง 1 หม้อ ต้องไฟอ่อนอย่าให้กะทิแตกมัน
- อัตราส่วนกะทิ ขึ้นอยู่กับปริมาณขี้เหล็ก (ต้องสอบถามเพิ่ม)
เนื้อหมูและหนัง
- ล้างให้สะอาด โรยเกลือป่น (แค่ปลายนิ้ว)
- ย่างเนื้อสะโพก ด้วยไฟอ่อนๆ (ต้องใจเย็น) จนแห้ง
- เมื่อสุกแล้วหั่นเป็นชิ้นบางๆ ยาวประมาณ 1 นิ้ว
- หนังหมู ย่างไฟอ่อนๆ จนเหลืองอมส้ม
- เมื่อสุก หั่นหนังหมูเป็นชิ้นบางๆ ยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่ง
- ตั้งหัวกะทิด้วยไฟกลาง พอกะทิเริ่มร้อนให้ใส่พริกแกงลงไป ให้เติมลงไปทีละน้อย ผัดกับพริกแกงจนหอม ไม่ให้กะทิแตกมันพอประมาณ
แกงขี้เหล็กต้องกะทิข้นน้อย เค็มนำ เผ็ดน้อยจึงจะอร่อย โดยขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้มจนถึงแกงเสร็จ ใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง ขี้เหล็กจึงจะยุ่ยน่ารับประทาน
ประชาชนในตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่โบราณมาเชื่อกันว่า ในวันที่พระจันทร์เต็มดวง (วันเพ็ญเดือน 12) จะทำให้สารอาหารและสรรพคุณทางยาดึงดูดขึ้นไปที่ยอดต้นขี้เหล็ก เมื่อเก็บยอดขี้เหล็กมาประกอบอาหาร(แกงขี้เหล็ก) และรับประทานแล้วจะมีประโยชน์ที่สุด เนื่องจากสรรพคุณทางยา ในการแก้ท้องผูก แก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร เป็นต้น และสิ่งที่สำคัญจะต้องประกอบพิธีการพลียาตอนเช้ามืดหรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ประมาณตี 4 ตี 5 ของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เพราะมีความเชื่อที่ว่าดอกและยอดของต้นขี้เหล็กนั้นเปรียบเสมือนลูกของต้นขี้เหล็กจะไปเก็บเฉยๆไม่ได้ ต้องทำการบอกกล่าวกับต้นขี้เหล็ก ซึ่งเปรียบเสมือนแม่ก่อน (มีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กมีเทวดาปกปักษ์รักษา) ก่อนจะนำไป ปรุงอาหาร โดยจุดธูปสามดอกและตั้งนะโมสามจบ ต่อจากนั้นก็ทำการเก็บยอดไปประกอบอาหาร(แกงขี้เหล็ก) พร้อมขอพรจากต้นขี้เหล็ก ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อาการเจ็บป่วยนั้นหายไป
คำสำคัญ : แกงขี้เหล็ก
ที่มา : https://www.m-culture.go.th/kamphaengphet/ewt_news.php?nid=3667&filename=index
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2150&code_db=610004&code_type=01
Google search
ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 5,454
งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จัดขึ้นเพื่อเป็นการบวงสรวง พระอิศวร ซึ่งมีตำนานพื้นบ้าน เล่าลือกันมาว่า พญาแถน เป็นเทพยดา มีหน้าที่บันดาลให้ฝนตกในเมืองมนุษย์ พญาแถนเกิดความไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลไม่ให้ฝนตกตามฤดูกาล แล้งตลอด 7 ปี 7 เดือน 7วัน ทำให้พืช สัตว์ มนุษย์ ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองทนไม่ไหว จึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนไม่ได้ จึงถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัยอยู่ พญาคางคกนั้นคือพระโพธิสัตว์ บรรดาผู้หนีการล่าของพญาแถน ตกลงทำสงครามกับพญาแถนพญาปลวก ก่อจอมปลวกไปถึงสวรรค์ พญามอดไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถนพญาผึ้ง ต่อ แตน ไปต่อยทหารพญาแถน พญาแถนกับเทวดาพ่ายแพ้
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 4,688
ในทุกๆ ปี คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน (เถ่านั๊ง) จะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านร้านค้าตลาดคลองลานพัฒนาทุกๆ บ้าน พ่อค้าประชาชนในตลาดคลองลานพัฒนาที่เลื่อมใสและศรัทธา จะทำการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง ผลไม้ห้าอย่าง ธูป เทียนแดง กระดาษไหว้ พร้อมด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน ออกมาเพื่อต้อนรับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่จะมาอำนวยอวยพรให้พวกเราทุกๆ คนประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,100
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,465
บ้านร้านดอกไม้ ในอดีต กลายมาเป็นบ้านลานดอกไม้ในปัจจุบัน ริมฝั่งน้ำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรไปเล็กน้อย มีชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ชุมชนโบราณบ้านลานดอกไม้ ในชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนดั้งเดิม ประชาชนอาศัยอยู่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมจึงฝังรากลึก ในบ้านลานดอกไม้ เพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมากว่าร้อยปี จึงอยู่ในสายเลือดของชาวบ้าน การตามหาเพลงพื้นบ้าน โดยการไปพบแม่เปรื่อง ผิวพรรณ วัย 70 ปี ลูกศิษย์เอกของแม่ต่อ นุ่มน่วม แม่เพลงในอดีต ที่เสียชีวิตไปแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 1,884
ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 16 จังหวัดขึ้นทุกวันที่ 21-23 สิงหาคมของทุกปี นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมและเลือกซื้ออาหารพื้นเมือง และสินค้าพื้นเมือง รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ดังนี้ การแสดงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในแต่ละจังหวัดในภาคเหนือรวม 16 จังหวัด
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,980
ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,679
ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 20,201
ระบำพุทธบูชา-มาฆ-ปรุณมี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงในงานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง วันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา ระบำชุดนี้เป็นการแสดงความเคารพและบูชาพระรัตนตรัย นบไหว้พระซึ่งในการประกอบพิธีทางศาสนา ได้นำเพลงสาธุการมาบรรเลงในการไหว้และเคารพบูชาใช้ได้กับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ผู้ประพันธ์ได้นำช่วงเพลงสาธุการเปิดโลกมาประพันธ์เป็นโครงสร้างของเพลง
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 632
ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,111