ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้ชม 1,411
[16.4264988, 99.215725, ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร]
ความเป็นมา
เนื่องจากประเพณีการนุ่งห่มของพระสงฆ์ กล่าวคือ สมัยพุทธกาล พระสงฆ์ทั้งหลายต้องเก็บเศษผ้าที่ชาวบ้านทิ้งแล้ว เพราะเปรอะเปื้อนด้วยของไม่สะอาด เป็นต้น จากที่ต่าง ๆ เอามาซัก ตัด เย็บย้อม ทำผ้านุ่งห่มดูเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร ชาวบ้านบางท่านประสงค์จะถวายผ้าแต่พระสงฆ์ก็รับไม่ได้ เพราะพระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้รับเพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวนชาวบ้าน และฟุ่มเฟือยเกินไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะให้พระสงฆ์มีผ้านุ่งห่มอย่างเพียงพอ โดยการนำผ้าไปทิ้งไว้ตามที่ต่าง ๆ พระสงฆ์ไปพบเข้าพิจารณาดูแล้วไม่มีเจ้าของหวงแหน จึงนำมาทำเป็นผ้านุ่งห่ม นี่เป็นมูลเหตุของการทอดผ้าป่า โดยจุดประสงค์รวม ๆ ก็คือ อุปถัมภ์พระสงฆ์ให้มีผ้านุ่งห่มนั่นเอง
ต่อมาพระพุทธองค์ ทรงเห็นความจำเป็นและความลำบากของพระสงฆ์ในเรื่องผ้านุ่งห่ม จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าจากผู้มีจิตศรัทธาได้ ฉะนั้นการทอดผ้าป่า จึงเป็นแต่สมัยพุทธกาลประเทศไทยเราก็คงรับประเพณีนี้มาพร้อมๆ กับการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา แต่คงเป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ไม่เด่นชัดนัก จนมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเพณีการทอดผ้าป่าจึงได้รับการรื้อฟื้นขึ้นใหม่จนเป็นที่นิยมปฏิบัติของชาวพุทธไทยเราตราบเท่าทุกวันนี้
กำหนดการจัดงาน
ไม่กำหนดแน่นอน จะทอดเมื่อไรก็ได้ แต่นิยมทอดกันในช่วงจวนออกพรรษาหรือออกพรรษาใหม่ๆ
พิธีการ
การทำบุญของชาวพุทธเมืองกำแพงเพชร ที่แปลกไปกว่าเมืองอื่น ๆ เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและเทศกาลวันสำคัญของไทย ชาวบ้านจะพร้อมกันมาทำบุญที่วัดทั้ง 3 คือ วัดคูยาง วัดบาง และวัดเสด็จ โดยแบ่งบุญต่าง ๆ ไปตามวัดทั้ง 3 ดังนี้ บุญตรุษ (สิ้นเดือน 4) บุญเข้าพรรษา (กลางเดือน6) และบุญออกพรรษา (กลางเดือน 11) ทำที่วัดเสด็จ บุญสงกรานต์ (13 เมษายน) บุญสารทไทย (สิ้นเดือน 10) และบุญผ้าป่าแถว (เพ็ญเดือน 12) ทำที่วัดบาง
คราวนี้ มาว่าถึงผ้าป่าแถวก็จะมีขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 ณ วัดบาง โดยมีรายละเอียดที่ควรทราบ ดังนี้ เมื่อถึงวันดังกล่าว ทางวัดจัดเตรียมสถานที่ โดยปักหลักสำหรับพาดพุ่มผ้าป่าแถว ไว้เป็นแถว ๆ รวมประมาณ 300-400 หลัก จัดทำสถานที่ขึ้น 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับพระสงฆ์จับตามจำนวนของพระสงฆ์ ทั้ง 3 วัด ในปีนั้น ๆ ชุดที่ 2 สำหรับสาธุชนทั่วไปจับ จำนวนเลขก็เท่ากับจำนวนพระสงฆ์ แต่อาจมีหลายรอบ กล่าวคือ เมื่อรอบแรกหมดก็จับรอบสองรอบสามต่อไปเรื่อย ๆ ฉะนั้น พระสงฆ์รูปหนึ่งอาจได้ผ้าป่าหลายกอง ถ้ามีสาธุชนมาร่วมพิธีมาก สำหรับสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาก็จะพากันจัดพุ่มผ้าป่า (ของใช้ต่างๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือผ้า) นำไปที่วัดบางในตอนค่ำ เมื่อไปถึงก็ไปจับสลากแล้วนำพุ่มผ้าป่าไปวางไว้ตามหลักที่ยังว่าง (ไม่มีการเรียงลำดับไว้ให้) แล้วเอาสลากที่จับไปติดไว้ที่พุ่มผ้าป้าของตนให้พระสงฆ์เดินดูแล้วมองเห็นได้ง่าย เมื่อถึงเวลาประมาณ 20.00 น. พระสงฆ์มาพร้อมกัน แล้วนำสลาดไปให้พระสงฆ์จับเสร็จแล้วก็เริ่มพิธีโดยกราบพระรับศีล ถวายผ้าป่าไปตามลำดับเสร็จแล้วพระสงฆ์จะเดินไปตามแถวผ้าป่า เพื่อชักพุ่มผ้าป่าที่ติดเลขตรงกับเลขของท่าน โดยแสดงเลขสลากให้เจ้าของพุ่มผ้าป่าให้เห็นด้วย ส่วนรูปหนึ่งจะได้กี่พุ่มกี่กองนั้นก็ขึ้นอยู่กับรอบของสลาก สาธุชนจับไป ซึ่งพิธีกรก็จะชี้แจงให้ท่านทราบว่าในครั้งนี้มีกี่รอบ หมายความว่าเลขนี้จะมีกี่ครั้งนั่นเอง
เมื่อเสร็จแล้วพระสงฆ์ก็จะกลับมายังอาสนะ เพื่ออนุโมทนียถา – สัพพี สาธุชนก็นั่งคอยกรวดน้ำรับพรอยู่ ณ ที่เดิม หลังจากนั้นก็มีมหรสพให้ผู้มาทอดผ้าป่าได้ชม บางปีไม่มีมหรสพ และต่อจากนั้นก็พากันไปลอยกระทงที่หาดทรายริมแม่น้ำปิง นี้เป็นประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของเมืองกำแพงเพชรที่มีเอกลักษณ์ควรอนุรักษ์อย่างยิ่ง
คำสำคัญ : ผ้าป่า
ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2554). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://164.115.23.146/kamphangphet/home/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=3
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=136&code_db=610004&code_type=01
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,586
ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 1,770
พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จ พญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อโดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 530
สงกรานต์แต่ละเมืองต่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป กำแพงเพชรเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มี เอกลักษณ์งานสงกรานต์เฉพาะตัว เพราะเป็นเมืองโบราณที่สืบทอดประเพณีสงกรานต์กันมาหลายร้อยปีโดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 787
เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,403
จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 2,640
ชุมชนบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณมีความเป็นมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หลายด้าน เช่น นิทานเรื่องท้าวแสนปม การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงระบำ ก. ไก่ ซึ่งมีลักษณะการใช้ภาษาที่โดดเด่นเล่นคำอักษร ก ถึง ฮ เนื้อหาของบทร้องเป็นไปในเชิงเกี้ยวพาราสี โดยสะท้อนถึงชีวิตของคนไทยสมัยหนึ่ง จึงเป็นกิจกรรมที่พึงกระทำ และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อมา
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,158
ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก
การตักบาตรข้าวต้ม กระทำขึ้นในช่วงเทศกาลสารทไทย หรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ มีตำนานเล่าต่อๆกันมาว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และกลับลงมายังโลก ณ เมือง สังกัสคีรี ในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งต่อมาถือว่าเป็นวันเปิดโลก หรือวันที่โลกมนุษย์ สวรรค์และนรกต่างมองเห็นกัน ในครั้งนั้น ประชาชนจำนวนมากต่างมาเฝ้ารอรับเสด็จ เพราะปรารถนาจะใส่บาตรกับพระพุทธองค์ แต่คนที่อยู่ห่างออกไป ไม่สามารถใส่ถึง จึงใช้วิธีโยนอาหารของตนลงในบาตรของพระพุทธเจ้า และพระสาวก และอาหารต่างๆเหล่านั้นก็ตกลงในบาตรได้พอดีเป็นที่น่าประหลาดใจ
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 757
ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน
เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 926
ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,018