จีนกี้

จีนกี้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 750

[16.8784698, 98.8779052, จีนกี้ ]

 

จีนกี้ หรือคุณหลวงโสภณเพชรรัตน์ (จีนกี้ โสภโณดร) กลุ่มลูกหลานคหบดีชาวจีนที่มีต้นทุนการสร้างฐานะมาจากรุ่นพ่อที่ตรอกบ้านจีน สืบต่อธุรกิจค้าไม้จากรุ่นพ่อ นำไปสู่การสร้างธุรกิจโรงสี เดินเรือสมุทร และยังเป็นกรรมการธนาคารสยามกัมมาจล (ธนาคารไทยพาณิชย์) ในรุ่นแรกได้รับความนับถือ เป็นหัวหน้าจีนที่สำคัญ ปัจจุบันหากไปเทียนฟ้ามูลนิธิยังปรากฏภาพเป็นประจักษ์พยานถึงจีนที่มีบทบาทหนึ่งในจีนกลุ่มห้าภาษาจีนกี้ สนองพระราชนิยมด้วยการสร้างสะพานข้ามคลองสามเสน กรุงเทพฯ เป็นประจักษ์พยานผ่านกาลเวลาจวบจนปัจจุบัน ผู้คนต่างกล่าวขานนามสะพานว่าโสภณ ตามนามผู้อุทิศเป็นหมุดหมายกาลเวลาให้กล่าวขานถึงค่านิยมคนรุ่นก่อนที่สนองคุณด้วยการสร้างสาธารณูปโภคแก่แผ่นดิน


(ที่มา วิทยานิพนธ์ แนวทางจัดการแหล่งเรียนรุ้ตรอกบ้านจีน นครินทร์ น้ำใจดี)

คำสำคัญ : สะพาน

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/915746808515527

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). จีนกี้ . สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2069&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2069&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,150

ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,244

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,324

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 862

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,175

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,273

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,124

ฤ

ฤ " ระแหง " จะเพียงนามย่านตัวเมือง

หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 875

มหาชนก ร่วมสมัย

มหาชนก ร่วมสมัย

การรังสรรค์งานศิลปะบนฝาผนังของศิลปิน เรียกว่า จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่ต้องใช้พลังความศรัทธาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วิหาร ของวัดอันเป็นจุดกลางของชุมชน ศิลปินต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ชำนาญทั้งการวาดภาพประกอบ การจิตนภาพชาดก วรรณกรรมพื้นบ้าน การจัดวางองค์ประกอบตัวละคร รวมไปถึงการสอดแทรกเรื่องราววิถีชาวบ้านสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจของการชมผนังเก่าเล่าเรื่อง หรือจิตรกรรมนั้นเอง ในเมืองตากยังมีหลายวัดที่ยังคงพยายามรักษาจิตกรรมศิลปะพื้นบ้านไว้เป็นอย่างดี อย่างเช่น วัดไม้งามหลวง ตำบลไม้งาม จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 615

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ผี วิถีบรรพกาล สายธารคนเมืองตาก

ความเชื่อเรื่องผี เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมคนอุษาคเนย์มายาวนาน และเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบความเชื่อในเรื่องหลังความตายมากมาย ความเชื่อดังกล่าวสืบทอดส่งผ่านมายังกลุ่มชนต่าง ๆ โดยความเชื่อเรื่องผีจะถูกผูกร้อยตามบริบทของกลุ่มชนและพื้นที่ของกลุ่มชนนั้น ๆ ผีถูกแบ่งตามหน้าทีเป็นผีดี ได้แก่ ผีเสื้อบ้าน(อารักบ้าน) ผีปู่ย่า ฯลฯ และผีร้ายคือผีที่สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับคนทั่วไปโดยทั่วไปคนเชื่อว่าหากทำเรื่องไม่ดีไม่เป็นคุณผีดีจะกลายเป็นผีร้ายมาาร้างความทุกข์ร้อนให้คนทั่วไป เช่น ไม่เคารพกราบไหว้ ไม่ทำการบูชาเซ่นสรวงเมื่อถึงวาระสำคัญเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 788