สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 1,355
[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"]
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงเสด็จออกนำหน้าทัพเมื่อทำศึกสงคราม ซึ่งในขณะนั้นมีการใช้ปืนกันอย่างแพร่หลายแล้ว จึงเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง
สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว
ความล้มเหลวจากการตีเมืองพิษณุโลกทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ โดยเลือกตีเมืองที่อ่อนแอที่สุดก่อน นั่นก็คือเมืองพิมายและนครราชสีมา ขณะนั้นพิมายเป็นหัวเมืองใหญ่กว่านครราชสีมา มีอิทธิพลครอบคลุมไปจรดดินแดนลาวล้านช้างและกัมพูชา จัดว่ามีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก
เมื่อทรงหายประชวรจากการบาดแผลที่ต้องกระสุนปืนดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงจัดทัพเพื่อบุกตีพิมายในทันที
เจ้าเมืองพิมายในขณะนั้นคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ที่หนีทัพพม่ามาตั้งตนเป็นใหญ่ที่นี่ พงศาวดารบันทึกไว้ว่า เป็นเจ้านายที่มีพระปรีชาสามารถมากไม่แพ้พระเจ้าอุทุมพร เพียงแต่เกิดจากนางสนม จึงไม่มีโอกาสขึ้นครองราชย์
แต่อย่างไรก็ตาม กรมหมื่นเทพพิพิธก็มิอาจสู้สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ หลังจากเมืองพิมายแตก สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มีพระเมตตาหมายจะชุบเลี้ยงไว้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาเข้าเฝ้า แต่กรมหมื่นเทพพิพิธกลับแสดงกิริยาก้าวร้าว ยโสโอหังต่อหน้าพระที่นั่ง จึงถูกนำไปประหารชีวิต
หลังจากยึดพิมายและนครราชสีมาได้ พระองค์ทรงทัพต่อไปที่นครศรีธรรมราช ปรากฏว่า นครศรีธรรมราชแข็งแกร่งกว่าที่คิด สองแม่ทัพบก คือ พระยาเพชรบุรีและพระยาศรีพิพัฒน์ ได้เสียชีวิตขณะเข้าตีเมือง กองทัพเรือของสมเด็จพระเจ้าตากสินตัดสินใจ เปลี่ยนมาบุกนครศรีธรรมราชทางน้ำแบบสายฟ้าแลบ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคิดไม่ถึงว่ากองทัพกรุงธนบุรีจะมาทางเรือ จึงไม่ได้วางแผนคอยสกัดไว้ กว่าจะรู้ตัวก็ถูกเข้าประชิดปากน้ำเมืองนครแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำหน้ายกพลขึ้นบกตีกองทหารที่รักษาเมืองจนแตก เมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเห็นว่าจวนตัวสู้ไม่ได้แน่ จึงหนีไปอาศัยอยู่กับสุลต่านแห่งเมืองปัตตานี
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาเพียง 1 ปี (พ.ศ.2312) เท่านั้น หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงสามารถรวบรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ทั้งหมดเข้าไว้ในราชอาณาจักรธนบุรีได้สำเร็จ
หลังจากที่รวบรวมภาคใต้ได้ ปีต่อมา (พ.ศ.2313) สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงจัดทัพขึ้นตีพิษณุโลกเป็นครั้งที่สอง ด้วยบทเรียนความล้มเหลวจากครั้งก่อน ทำให้มีการวางแผนการรบอย่างรอบคอบ เมืองพิษณุโลกถูกตีแตกอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็มีรับสั่งให้กองทัพ เดินทางขึ้นเหนือต่อไปเพื่อยึดเมืองสวางคบุรี
เมื่อยึดเมืองสวางคบุรีและพิษณุโลกได้สมบูรณ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง ซึ่งต่อมาคือ ร.1) ขุนศึกที่มีบทบาทสำคัญในการกู้ชาติเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์ เลื่อนตำแหน่งเป็น “พระยายมราช” ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด
.....แล้วศึกที่สำคัญที่สุดก็มาถึง นั่นคือการยึดเมือง “เชียงใหม่” ที่ฝ่ายพม่าครอบครองอยู่ เป็นการเปิดศึกกับพม่าโดยตรง ผลปรากฏว่า แม้พระเจ้าตาก + เจ้าพระยาสุรสีห์ (พระอนุชา ร.1) + พระยายมราช (ต่อมาคือ ร.1) ร่วมกันต่อสู้สุดกำลัง ก็ยังไม่อาจเอาชนะได้ สูญเสียไพร่พลไปมากมาย จนต้องถอยทัพกลับธนบุรีแบบหมดกระบวนท่า
หลังจากกลับจากศึกเชียงใหม่ครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนตำแหน่งให้พระยายมราชเป็น “เจ้าพระยาจักรี”
กลับมาตั้งหลักที่กรุงธนบุรีได้สามปี ก็เตรียมการตีเชียงใหม่เป็นครั้งที่สอง ทรงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ สองพี่น้องเข้าเฝ้าฯ แล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพหน้ายกพลขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ คราวนี้ไม่พลาด เจ้าพระยาจักรีนำทัพเข้าตีประตูสวนดอกทางด้านตะวันตกและประตูเมืองเชียงใหม่ทางด้านใต้แตก ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ นำทัพเข้าตีทางด้านตะวันออกจนประตูท่าแพแตกกระจุย เจ้าเมืองเชียงใหม่อาศัยประตูทางด้านเหนือที่เหลืออยู่ หนีหัวซุกหัวซุนกลับประเทศไป
ครานี้สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปีติโสมนัสมากกว่าการชนะศึกทุกครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ข้าหลวงเข้ามาทูลว่า เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ตีเชียงใหม่แตกแล้ว พระองค์ทรงยกพระหัตถ์ตบพระเพลาทั้งสองข้าง ทรงพระสรวลและตรัสว่า “ศึกครั้งนี้เก่งทั้งพี่ทั้งน้อง นี่จะว่าพี่หรือน้องดีกว่ากันไฉน” การตีเชียงใหม่ครั้งนี้ยึดอาวุธและพาหนะได้เป็นจำนวนมาก เช่น ปืนใหญ่เป็นจำนวนถึง 2,110 กระบอก ม้า 200 ตัว
>>> หลังจากรวมชาติทุกภาคได้สำเร็จ ยังมิทันได้พักผ่อนพระวรกาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ต้องพบกับศึกเอาคืนครั้งใหญ่ที่สุดจากพม่า นำโดยแม่ทัพนามระบือโลก ผู้สร้างความเข็ดขยาดให้กับกองทัพจีนและอินเดียมาแล้ว ที่ชื่อว่า “อะแซหวุ่นกี้”
คำสำคัญ : สงคราม, พระเจ้าตากสินมหาราช
ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ". สืบค้น 7 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2135&code_db=610001&code_type=TK001
Google search
กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 661
ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 411
การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 375
ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 423
พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก
เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 2,443
เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 850
จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,494
การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 478
หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 575
บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 313