ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้ชม 1,124

[16.8784698, 98.8779052, ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง]

       ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์
      ก่อนที่จะมีการรื้ออาคารหลังนี้ มีเรื่องเล่าว่าเคยมีการรณรงค์เรื่องการอาคารหลังนี้ หนึ่งในบุคคลที่เป็นชาวเมืองตาก และเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับประเทศคือ ที่อาจารย์แม่ รศ. สุนีย์ สินธุเดชะ ชาวเมืองตากนั้นเอง เหตุการณ์นี้จึงเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนถึงปัญหาของความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ใช้ประโยชน์ปัจจุบัน ในฐานะผู้ใช้สอยอาคารที่การใช้งานอาจจะน้อยลง ไม่สนองต่อความต้องการของผู้ใช้ในยุคนี้ กับกระแสการที่จะพยายามอนุรักษ์อาคารโบราณที่ทรงคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ กรณีนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายของคนในท้องถิ่น และนักวิชาการท้องถิ่น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราคนท้องถิ่นต้องหันมาร่วมกันคิด ร่วมกันมอง ก่อนที่มรดกท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าของเราจะค่อยๆ หายไปจากบ้านเราพร้อมกับคนที่เคยมีประสบการณ์ร่วมก็หายไปพร้อมกับกาลเวลาด้วยหลักอนิจจัง สังขาร ไม่เที่ยงแท้ 

(ภาพจากศาลากลางจังหวัดตาก The provincial capitol building at Tak ตาก | Tak ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1936 (พ.ศ.๒๔๗๙) Photographer: Pendleton, Robert LarimoreImage Source: UWM Libraries)

 

 

คำสำคัญ : ศาลากลาง, ศาลากลางเมืองตาก

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/1330417880381749

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2075&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2075&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 3,102

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 543

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 710

จีนกี้

จีนกี้

จีนกี้ หรือคุณหลวงโสภณเพชรรัตน์ (จีนกี้ โสภโณดร) กลุ่มลูกหลานคหบดีชาวจีนที่มีต้นทุนการสร้างฐานะมาจากรุ่นพ่อที่ตรอกบ้านจีน สืบต่อธุรกิจค้าไม้จากรุ่นพ่อ นำไปสู่การสร้างธุรกิจโรงสี เดินเรือสมุทร และยังเป็นกรรมการธนาคารสยามกัมมาจลในรุ่นแรกได้รับความนับถือ เป็นหัวหน้าจีนที่สำคัญ ได้สนองพระราชนิยมด้วยการสร้างสะพานข้ามคลองสามเสน กรุงเทพฯ เป็นประจักษ์พยานผ่านกาลเวลาจวบจนปัจจุบัน ผู้คนต่างกล่าวขานนามสะพานว่าโสภณ ตามนามผู้อุทิศเป็นหมุดหมายกาลเวลาให้กล่าวขานถึงค่านิยมคนรุ่นก่อนที่สนองคุณด้วยการสร้างสาธารณูปโภคแก่แผ่นดิน

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 749

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 520

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,324

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 862

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 923

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 783

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มนักดนตรีมอญด้วย หรือวงปีพาทย์รามัญ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก ยังมีปรากฏจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของผู้คนในเมืองตากที่สัมพันธ์กัน ในปัจจุบันยังคงพบวงดนตรีปีพาทย์มอญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานการตั้งถิ่นฐานย่านชุมชนมอญที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 993