การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 3,843
[16.4264988, 99.215725, การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร]
ประเพณีการแต่งงาน จังหวัดกำแพงเพชร
ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก แม้ระยะเวลาจะห่างกันกว่าหนึ่งร้อยปี ซึ่งประเพณีการแต่งงานของกำแพงเพชร แบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ
การสู่ขอ ฝ่ายหญิงจะพิจารณา ว่าผู้ชายเป็นคนดี มีศีลธรรม เป็นคนทำมาหากิน ฝ่ายชายจะพิจารณาว่าฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้านแม่เรือน มีกิริยามารยาทดี ไถ่ถามกันถึงสินสอดทองหมั้น ตกลงกันและฝ่ายชายจะยกขันหมากมาสู่ขอและหมั้นกันในที่สุด
พิธีหมั้น เมื่อได้ฤกษ์แล้วฝ่ายชายจะให้เฒ่าแก่คนเดิม หรือผู้ใหญ่ที่ตนนับถือ ซึ่งต้องเป็นคู่สามีภรรยา ที่อยู่กินกันอย่างปกติสุข อยู่ในศีลธรรมปฏิบัติแต่คุณงามความดี เป็นผู้นำของหมั้นไปโดยมีขันโตกสองใบใส่ของหมั้นและสิ่งที่เป็นสิริมงคล ตามความเชื่อ ได้แก่ ใบพลู หมาก ถั่ว งา ใบเงิน ใบทอง ใช้ผ้าคลุมสีสวยคลุมขันหมาก ห่อแล้วห้ามเปิดอีก จนกว่าจะถึงพิธี เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชาย นำขันหมากไปถึง ฝ่ายหญิงต้อง ต้องหาเฒ่าแก่มารับขันหมากหมั้น ประกาศการหมั้นโดยเฒ่าแก่ฝ่ายชายอาจจะกล่าวว่า
วันนี้เป็นวันดี ขอหมั้นนางสาว.... กับนาย.... เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะรับหมั้นและจะนำของหมั้นลงไปตรวจนับ โดยละเอียด และมอบสินสอดทองหมั้นทั้งหมดให้กับ ให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงเป็นผู้เก็บแล้วคืนขันให้ฝ่ายชาย อาจหมั้นตอนเช้า แต่งงานตอนกลางวัน หรือในตอนเย็นในวันเดียวกันก็ได้
ตอนเช้ามีพิธีสงฆ์ เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์แล้ว ฝ่ายชายจะต้องแห่ขันหมากมาบ้านฝ่ายหญิง ขันหมาก มีผ้าคลุม ทั้งหมดแปดคู่ คู่แรกถือสินสอดทองหมั้น คู่ต่อมาถือโตกใส่เป็ดไก่ ซึ่งอาจใช้เป็ดไก่จริงหรือใช้แป้งปั้นเป็นเป็ดไก่แทนก็ได้ จากนั้นมีขนมต้มขาว ขนมต้มแดง หัวหมูต้ม ขนมจีน ทุกอย่างต้องจัดเป็นคู่ ผ้าไหว้คือผ้าขาวและผ้าแดง อย่างละผืน ให้ญาติฝ่ายชายถือมา อาจเป็นเด็กผู้หญิง พรหมจารี การยกขันหมากจะแห่กันมาอย่างสนุกสนาน นำขบวนด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย อย่างละคู่ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการเริ่มครอบครัวใหม่ ให้มีกล้วยมีอ้อยปลูกไว้ประจำบ้านใหม่ หรือเรือนหอใหม่ ปิดท้ายขบวนด้วยถาดใส่ผลไม้ และขนมต่างๆ เช่นขนมกง ขนมโก๋ ขนมปุยฝ้าย ขนมถ้วยฟู มะพร้าวอ่อนเป็นลูก กล้วยดิบ เป็นหวี อ้อยเป็นท่อน ทุกอย่างต้องเป็นคู่ ก่อนเคลื่อนขบวนต้องโห่สามครั้ง เมื่อถึงบ้ายฝ่ายหญิง ต้องโห่อีกครั้ง เพื่อบอกให้ทราบว่ามาถึงแล้ว เมื่อเจ้าบ่าวจะขึ้นบ้าน จะต้องก้าวข้าม หญ้าแพรกที่วางอยู่บนก้อนหิน เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความหนักแน่น และความเจริญงอกงาม จะต้องผ่านประตูเงินประตูทอง ที่สมมุติขึ้นโดยใช้เด็กหรือผู้ใหญ่ 2 คน ถือสร้อยหรือเข็มขัดกั้นไว้ การผ่านประตูต้องเสียเงินและสุรา ปัจจุบันฝ่ายชายจะเตรียมเงินไว้จ่าย โดยเฉพาะประตูทอง ผู้กั้นจะเรียกเงินค่าผ่านประตูทองสูงกว่าประตูเงิน จึงจะเข้าไปในบ้านได้ ฝ่ายชาย จะเปิดขันหมากต่อหน้าพ่อแม่ฝ่ายหญิง จะนำเงินและทองมานับ และอวยพรให้คู่บ่าวสาว ให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข หลังจากนั้นทำพิธีไหว้ผีบ้านผีเรือน บอกเล่าแก่ ผีปู่ย่าตายาย ว่าบ่าวสาวขออนุญาต แต่งงานและอยู่กินกัน โดยการจุดเทียน 6 คู่ ของไหว้ผีบ้าน ผีเรือน ผีปู่ย่า ตายายได้แก่ ขนมจีน น้ำยา หัวหมู น้ำพริกดำ อาจเรียกว่า กินสี่ถ้วย เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ขนมนมเนยจะแบ่งกัน โดยแบ่งกันระหว่างบ้านเจ้าบ่าวและเจ้าสาวคนละครึ่ง
ส่วนการหลั่งน้ำพระพุทธมนตร์ ประเพณีดั้งเดิมนั้น คู่บ่าวสาวจะแต่งตัวอย่างงดงาม จะรดน้ำทั้งตัว โดยทั้งหนุ่มสาวจะเปียกโชก ตั้งแต่ศีรษะ ถึงปลายเท้า ต่อมารดน้ำแค่ศีรษะ และพัฒนามารดน้ำเพียงแต่มืออย่างเดียว เดิมต้องมีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว เพราะหนุ่มสาวไม่รู้จักกันดีพอ ภายหลังไม่ต้องมีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว เพราะทั้งคู่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ส่วนการปูที่นอนหรือเรียงหมอน ผู้ปูต้องเลือกคู่สามีภรรยา ที่อยู่กันอย่างมีความสุข มีศีลธรรมและมีบุตร เมื่อไหว้เจ้าที่เจ้าทางแล้ว ผู้ใหญ่ที่ปูที่นอน อาจลงนอนเป็นพิธี เมื่ออวยพรเสร็จแล้ว ผุ้ใหญ่จะกลับกันหมด แล้วห้ามคู่สมรส ออกมาจากห้องหออีก ส่วนการกล่อมหอด้วยมโหรี ปัจจุบันไม่มีแล้ว
การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร มีบางส่วนที่เหมือนเดิม บางส่วนที่แตกต่าง แต่ละท้องถิ่นจะมีประเพณีการแต่งงานที่แตกต่างกันไป แต่การแต่งงานที่กำแพงเพชรยังสามารถรักษาเอกลักษณ์ ของกำแพงเพชรไว้ได้ เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน
คำสำคัญ : การแต่งงาน
ที่มา : http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?topic=248.0
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร. สืบค้น 18 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=149&code_db=610004&code_type=01
Google search
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 10,692
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,428
แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 30,169
ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,086
พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,188
ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 7,051
ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 2,428
ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,110
ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 7,230
รําแม่ศรี เป็นชื่อที่ใช้เรียกการรํา ที่ได้นําการละเล่นการเข้าทรงในสมัยโบราณมาประยุกต์ให้เข้ากับศิลปะการรําของภาคกลางของชาวบ้านปากคลองสวนหมากหรือในปัจจุบันคือนครชุม โดยเป็นการเข้าทรงแม่ศรี หลักเมือง ตํานานกล่าวกันว่าที่เวียงจันทน์มีสตรีนามว่าสีได้ตั้งครรภ์ท้องแก่ได้ยอมสละชีวิตตัวเองลงไปฝังอยู่กับเสาหลักเมืองเพื่อเป็นผีบรรพบุรุษคอยปกป้องคุ้มครองลูกหลาน คนสมัยก่อนจึงมีความเชื่อเรื่องการเข้าทรง เพื่อให้แม่ศรีหลักเมืองอยู่คุ้มครองลูกหลาน
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 868