บายศรี

บายศรี

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้ชม 32,015

[16.4258401, 99.2157273, บายศรี]

          บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์ คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย
          ก่อนทำพิธีสู่ขวัญ ต้องมีการจัดทำพาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่องสังเวยบูชาก่อนการเรียกขวัญ ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบไม้ เช่น ใบตองกล้วย นำมาพับ เป็นมุมแหลมและเย็บซ้อนอย่างสวยงาม อาจทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัดพิธี บายศรีจึงเป็นความเชื่อของคนทุกภาคในประเทศไทย การทำพิธีโดยใช้บายศรี ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ ช่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญภยันตรายได้อย่างดี ทำให้เกิดโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้กระทำ การใช้บายศรี มีทั้งเหตุการณ์ดีและเหตุการณ์ไม่ดี
          การสู่ขวัญโดยใช้บายศรีในเหตุการณ์ดี เช่น การเกิด บวช แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองตำแหน่ง ผูกเสี่ยว การกลับมาบ้าน เพื่อให้เกิดสิริมงคลยิ่ง ๆ ขึ้นไป
          การสู่ขวัญโดยใช้บายศรีในเหตุการณ์ที่ไม่ดี เช่น การเจ็บป่วย การเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ ที่ทำให้เสียขวัญ เพื่อสะเดาะเคราะห์ ให้หายจากเหตุการณ์ร้าย
          หมอขวัญ จะเป็นผู้ประกอบพิธี โดยเชิญเทวดาอารักษ์มาเป็นสักขีพยาน และบันดาลให้เจ้าของขวัญประสบความสำเร็จ ความสุขและความเจริญ
          บายศรี ตั้งแต่โบราณมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกัน มีวิธีทำและวิธีใช้ไม่เหมือนกัน อาทิ
              1. บายศรีเทพ ใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ สำหรับบวงสรวง เทพ พรหม เทวาอารักษ์ ประกอบด้วย บายศรีเก้าชั้น ทั้งหมดแปดตัว ประดับพานด้วยดอกดาวเรือง กุหลาบและดอกรัก ยอดตัวบายศรีปักด้วยเม็ดโฟมและเข็มหมุด ห้อยอุบะดอกรัก ประดับยอดด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัว
              2. บายศรีพรหม ใช้ในงานพิธีใหญ่ สำหรับบวงสรวงเทพยดา หรือองค์พรหม ประกอบด้วย บายศรีตัวแม่เก้าชั้น 4 ตัว และตัวบายศรี 6 ชั้น 4 ตัว ประดับด้วยดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกบ้านไม่รู้โรย ห้อยอุบะดอกรัก ยอดประดับด้วยดอกบัวและดอกดาวเรือง
             3. บายศรีตอ ใช้ในงานบวงสรวงครูแขนงต่าง ๆ ประกอบด้วย บายศรีตัวแม่เก้าชั้น ตัวลูกเจ็ดชั้น ประดับพานด้วยดอกดาวเรือง กุหลาบ ห้อยอุบะดอกรัก ประดับยอดด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัว
             4. บายศรีปากชาม นิยมทำ 3 ชนิดคือ
                   4.1 บายศรีปากชาม 7 ยอด (เล็ก เป็นบายศรีขนาดเล็กที่มีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น ตั้งศาลพระภูมิ ทำบุญต่าง ๆ ยอดกรวยเสียบด้วยไข่ และดอกไม้ที่เป็นมงคล
                   4.2 บายศรีปากชาม 7 ยอด ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น ทำขวัญเด็กเกิดใหม่ โกนผมไฟ โกนจุก สร้างบ้าน ยกเสาเอก ไหว้ครู ตั้งศาลพระภูมิ
                   4.3 บายศรีปากชาม 9 ยอด ใช้ในงานพระราชพิธีใหญ่ ๆ เพื่อสักการะบูชาครูบาอาจารย์ บวงสรวงเทพยดา ประดับด้วยบายศรีตัวแม่ 9 ชั้น รอบพานประดับด้วย ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย ประดับยอดด้วยดอกดาวเรือง
          บายศรีจึงเป็นเป็นงานฝีมือของภูมิปัญญาไทย ที่ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้อยู่ในพิธี ซึ่งน่าสนใจว่าจะไม่สาบสูญอย่างแน่นอน เพราะคนไทยยังนิยมใช้บายศรีในพิธีต่าง ๆ อยู่เสมอ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ คนทำบายศรีเป็นมีน้อยลงทุกที การสืบทอดไม่สามารถเรียนรู้กันได้อย่างจริงจัง ขึ้นอยู่กับฝีมือและหัวใจ ดังเช่น คุณบุญลือ โอสา ที่ทำบายศรีสืบต่อจากแม่มา จนรุ่นลูก เราจึงหวังว่ารุ่นหลังคงสามารถสืบทอดต่อได้เช่นเดียวกัน
          บายศรี...คุณค่าแม่ภูมิปัญญาไทย...ที่คนไทยควรศึกษา และเรียนรู้อย่างยิ่ง เป็นงานฝีมือที่วิจิตร สามารถใช้วัสดุท้องถิ่นและใกล้ตัวอย่างน่าสนใจ

คำสำคัญ : บายศรี

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บายศรี. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1390&code_db=610007&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1390&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

การขึ้นตาล

การขึ้นตาล

ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อยๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,461

เรือนปานะ

เรือนปานะ

เรือนนายไผ่–นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยกทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่-นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ 378 ถนนราชดำเนิน 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ปลายๆ สมัยรัชกาลที่ 5 หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 963

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,806

การปลูกกล้วยไข่

การปลูกกล้วยไข่

เราจะปลูกกล้วยไข่กำแพงเพชรให้ได้ผลผลิตที่สูง ลดการลงทุน ด้วยมาตรฐานการส่งออกได้อย่างไรกันนะ แรกสุดเรามาพิจารณาว่าพื้นที่สวนเรามีลักษณะที่กล้วยไข่กำแพงเพชรเติบโตได้ดีไหม สวนเราต้องเป็นที่ดอนหรือที่ราบที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ มีดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกมากกว่า 40 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.5-7.0 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 25-28 องศาเซลเซียล การเตรียมพื้นที่เริ่มที่ "การไถดะ" ด้วยรถไถแล้ว "ตากดิน" ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อปรับดินและกำจัดวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 10,476

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

บ้านที่มีอายุกว่า 120 ปี และยังรักษาสภาพเดิมๆ ไว้ได้กว่าร้อยละ 80 คือ บ้านครูมาลัย ชูพินิจ อยู่ปากซอยชากังราว อยู่เลยวัดพระบรมธาตุมาทางนครชุมเล็กน้อย ตามถนนสายหน้าเดิม ติดกับคลองสวนหมาก โดยหันหน้าออกไปทางคลองสวนหมาก และแม่น้ำปิง ครูมาลัยเป็นบุตรของกำนันสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ กำนันตำบลปากคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เดิมกำนันสอนตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกันกับบ้านหลังนี้ บ้านหลังนี้เป็นฉากสำคัญในนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,301

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,693

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,999

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่งหรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดเป็นเตาแบบโบราณที่ใช้ปู้หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมากแทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,729

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่นับว่าเป็น "ของดีของเมืองกำแพง" ที่ชาวบ้านปลูกกันมานับร่วมร้อยปี จนกลายเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และผูกพันกับประเพณีวิถีชีวิตของคนกำแพงมายาวนาน ทั้งงานบุญ งานสารทไทยกล้วยไข่ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการกินกระยาสารทของคนกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรปลูกกล้วยไข่กันมากในแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากทั้งดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีเอกลักษณ์โดดเด่น

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 2,338

ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

กล้วยเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เป็นอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ เส้นใยสิ่งทอ สมุนไพร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักกล้วยอย่างแท้จริง หากอยากรู้จักกล้วยให้มากขึ้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า เมืองกล้วยไข่ เพราะว่าจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าปลูกกล้วยไข่ได้รสชาติดีที่สุดในประเทศและด้วยชื่อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ซึ่งพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์กล้วยที่คุณค่าทางวัฒนธรรมต่อชาวกำแพงเพชร ซึ่งคนที่สนใจเรื่องกล้วยรวมไปถึงคนที่ชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 2,385