การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้ชม 3,806

[16.4258401, 99.2157273, การตีผึ้งหลวง]

       ผึ้งในประเทศไทยมีหลายชนิด อาทิ ผึ้งหลวง ผึ้งมิ้ม ผึ้งโพรง ซึ่งทุกชนิดล้วนมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติทั้งสิ้น การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อน เต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป  สิ่งที่มนุษย์ต้องการในการตีผึ้ง คือ น้ำผึ้ง ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลที่ย่อยง่าย มีโปรตีนและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์อย่างสูง น้ำผึ้งสามารถรักษาโรคได้สารพัดชนิด มีคุณสมบัติพิเศษคือ รวมตัวได้กับตัวยาทุกชนิด
       ผึ้งหลวงมีลักษณะตัวใหญ่ ลำตัวยาวรี ในหนึ่งรังจะมีผึ้งหลายหมื่นตัว มีรังขนาดใหญ่ บางแห่งอาจกว้างถึง 2 เมตร ผึ้งหลวงจะดุร้ายมาก เมื่อถูกรบกวนหรือทำลาย จะรุมต่อยศัตรูผู้มารุกราน จากเหล็กใน ทำให้ผู้รุกรานถึงตายได้ ผึ้งหลวงบินไปได้ไกลมาก มีประโยชน์ในการผสมเกสรดอกไม้ เพื่อทำให้พืชมีผลผลิตสูง การตีผึ้งหลวงจึงอาจทำให้เสียประโยชน์ในด้านการเกษตร ที่สำคัญการตีผึ้งหลวงไปป่าสงวนจะตีไม่ได้ ถือว่าผิดกฏหมาย

คำสำคัญ : ผึ้ง การตีผึ้ง

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). การตีผึ้งหลวง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1389&code_db=610007&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1389&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,999

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่งหรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดเป็นเตาแบบโบราณที่ใช้ปู้หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมากแทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,728

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,546

เรือนพระโป้

เรือนพระโป้

ลักษณะสถาปัตยกรรม บ้านห้างหรือเรือนปั้นหยาประยุกต์สองชั้น ขนาดหน้ากว้าง 20.50 เมตร ลึก 11.50 เมตร มีเรือนประกอบด้านข้างอีกสองหลัง มีนอกชานแล่นกลางขนาดกว้าง 10 เมตร ยาวเกือบ 20 เมตร เชื่อมบ้านสามหลังเข้าด้วยกัน ด้านหลังมีสะพานเชื่อมต่อไปยังครัว และ ห้องน้ำห้องส้วม ห่างจากตัวบ้าน ราว 7 เมตร โครงสร้างทั้งหมดทำด้วยไม้เบญจพรรณ สภาพบ้านรื้อมา (มีเรื่องเล่าขานว่า ซื้อมาจากเรือนพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร) นำมาปลุกใหม่ แต่ดัดแปลงบางส่วนออกให้เหมาะกับการเป็นสำนักงานห้างค้าไม้

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,388

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ”  โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 1,669

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

อย่างไรจึงเรียกว่า "กล้วยไข่เมืองกำแพง" กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร จะมีลักษณะลำต้นตรงกาบด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง และกาบด้านในเป็นสีชมพูอมแดง มีลักษระผิวกาบมันวาว ลำต้นมีกาบใบที่ประกบกันแน่น ปลายใบเรียว สีใบกล้วยเป็็นสีเหลืองอ่อน ผิวใบมันวาว ใบชูตั้งชันยาวและรี มีเส้นใบจะเรียงขนานกัน กล้วยไข่กำแพงเพชรจะเริ่มตกปลีหลังจากปลูก 6-8 เดือน ปลีจะเกิดที่ใจกลางของลำต้น มีลักษณะปลีขนาดเล็ก ด้านนอกเป็นสีแดงม่วง เมื่อลอกกาบปลีออก ด้านในจะเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 6,297

การขึ้นตาล

การขึ้นตาล

ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อยๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,461

บายศรี

บายศรี

บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์ คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย  ก่อนทำพิธีสู่ขวัญ ต้องมีการจัดทำพาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่องสังเวยบูชาก่อนการเรียกขวัญ ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบไม้ เช่น ใบตองกล้วย นำมาพับ เป็นมุมแหลมและเย็บซ้อนอย่างสวยงาม อาจทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัดพิธี บายศรีจึงเป็นความเชื่อของคนทุกภาคในประเทศไทย การทำพิธีโดยใช้บายศรี ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ ช่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญภยันตรายได้อย่างดี ทำให้เกิดโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้กระทำ การใช้บายศรี มีทั้งเหตุการณ์ดีและเหตุการณ์ไม่ดี

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 32,014

การประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพรเป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนไทยอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดไทย โดยมากมักใช้วิธีการประคบสมุนไพรหลังจากทำการนวดเสร็จเรียบร้อย ผลของการรักษาด้วยการประคบสมุนไพรเกิดจากผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ และผลจากการที่ตัวยาสมุนไพรซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,407

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

บ้านที่มีอายุกว่า 120 ปี และยังรักษาสภาพเดิมๆ ไว้ได้กว่าร้อยละ 80 คือ บ้านครูมาลัย ชูพินิจ อยู่ปากซอยชากังราว อยู่เลยวัดพระบรมธาตุมาทางนครชุมเล็กน้อย ตามถนนสายหน้าเดิม ติดกับคลองสวนหมาก โดยหันหน้าออกไปทางคลองสวนหมาก และแม่น้ำปิง ครูมาลัยเป็นบุตรของกำนันสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ กำนันตำบลปากคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เดิมกำนันสอนตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกันกับบ้านหลังนี้ บ้านหลังนี้เป็นฉากสำคัญในนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,301