การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 1,790

[16.2844429, 98.9325649, การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง]

       ชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอคลองลาน มีเป็นจำนวนมากที่ยังรักษาวัฒนธรรมและประเพณี ไว้ได้เป็นอย่างดี จากการสำรวจล่าสุด มีชาวม้งจำนวน 1,983 คน ชาวม้งที่อำเภอคลองลาน มีความเชื่อเรื่องพระพุทธศาสนา ผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผีมีผีเหย้าผีเรือน 6 ตน คือผีปู่ย่าตายายหรือผีบรรพบุรุษ ผีเสาเอก ผีเตาไฟ ผีเตาข้าวหมู ผีประตูและผีที่นอน และมีความเชื่อเรื่องผีป่า ชาวม้งยึดถือระบบครอบครัว บุรุษที่มีอาวุโสสูงสุดจะมีศักดิ์เป็นหัวหน้าหรือประมุขของตระกูล มีสิทธิขาดในการตัดสินใจ ขณะเดียวกันผู้อาวุโสจะต้องรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของคนในตระกูล มีครอบครัวชาวม้งครอบครัวหนึ่งและมีเพียงครอบครัวเดียว ที่ยังรักษาการตีมีดแบบโบราณไว้ได้เป็นอย่างดี และสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ตีมีดตั้งแต่อยู่เมืองจีน จนกระทั่งอพยพมาอยู่ที่ขุนเขาคลองลาน และอพยพมาอยู่พื้นล่างในที่สุดกว่า 20 ปี
       ท่านผู้นั้นคือ นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมา ตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่ง หรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดของนายยูเล่ง แซ่ม้า เป็นเตาแบบโบราณ ที่ใช้ ปู้ หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมาก แทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน คือการทำให้เหล็กอ่อนตัว คือเมื่อเผาเหล็กให้ร้อนจนแดงแล้วนำมากลบด้วยแกลบสักครู่ แล้วจึงไปตีใหม่หรือไปตะไบจะทำให้เหล็กอ่อนมากขึ้นและนำไปเข้าเล่ม ทำให้มีมีคมที่ถาวร และคมผิดกว่ามีดทั้งหลาย
        นายยูเล่ง แซ่ม้า เป็นห่วงมากในอาชีพการตีมีดแบบโบราณที่ไม่มีผู้สืบทอด อาจทำให้การตีมีดที่สืบทอดมาหลายร้อยปีต้องสาบสูญไปพร้อมภูมิปัญญาของชาวเขาเผ่าม้งที่จะต้องไร้ทายาทสืบทอดอย่าง น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง มีดที่นายยูเล่ง แซ่ม้า ตีขาย ขายในราคาถูก ทั้งๆ ที่มีคุณภาพอย่างมาก ขายดีมีผู้มาซื้อตลอดเวลาท่ามกลางกระแสแห่งการต่อสู้แห่งอารยธรรมชาวเขากับอารยธรรมพื้นราบ อารยธรรมชาวเขากำลังพ่ายแพ้ ต่ออารยธรรมตะวันตก ใครเล่าจะต่อชีวิตการตีมีดจากนายยูเล่ง แซ่ม้า ชาวเขาเผ่าม้ง ผู้มุ่งมั่นรักษาวัฒนธรรมการตีมีด ไว้ให้มีผู้สืบทอดการตีมีดต่อไป

คำสำคัญ : การตีมีด

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง. สืบค้น 9 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1439&code_db=610007&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1439&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง อายุ 63 ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 5,220

เรือนพระโป้

เรือนพระโป้

ลักษณะสถาปัตยกรรม บ้านห้างหรือเรือนปั้นหยาประยุกต์สองชั้น ขนาดหน้ากว้าง 20.50 เมตร ลึก 11.50 เมตร มีเรือนประกอบด้านข้างอีกสองหลัง มีนอกชานแล่นกลางขนาดกว้าง 10 เมตร ยาวเกือบ 20 เมตร เชื่อมบ้านสามหลังเข้าด้วยกัน ด้านหลังมีสะพานเชื่อมต่อไปยังครัว และ ห้องน้ำห้องส้วม ห่างจากตัวบ้าน ราว 7 เมตร โครงสร้างทั้งหมดทำด้วยไม้เบญจพรรณ สภาพบ้านรื้อมา (มีเรื่องเล่าขานว่า ซื้อมาจากเรือนพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร) นำมาปลุกใหม่ แต่ดัดแปลงบางส่วนออกให้เหมาะกับการเป็นสำนักงานห้างค้าไม้

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,493

เรือนรัตนบรรพต

เรือนรัตนบรรพต

เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,583

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

ที่วัดโขมงหัก หมู่ที่ 13 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านได้รวมกลุ่มกัน เพื่อทำยาอมมะขามป้อมเพชร เพื่อใช้รักษาบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้ไอ บำรุงกล่องเสียง แก้เสมหะที่ลำคอ แก้เสลดหางวัว ยาอมมะขามป้อมเพชร ประกอบไปด้วย มะขามป้อม มะขามเปียก ดอกดีปลี ดอกช้าพลู เกลือ น้ำตาล ที่ถูกนำไปตากแห้งและอบ จากนั้นนำมาเคี่ยวในกระทะที่ร้อนคลุกเคล้าให้เข้ากันใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,479

ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

กล้วยเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เป็นอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ เส้นใยสิ่งทอ สมุนไพร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักกล้วยอย่างแท้จริง หากอยากรู้จักกล้วยให้มากขึ้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า เมืองกล้วยไข่ เพราะว่าจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าปลูกกล้วยไข่ได้รสชาติดีที่สุดในประเทศและด้วยชื่อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ซึ่งพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์กล้วยที่คุณค่าทางวัฒนธรรมต่อชาวกำแพงเพชร ซึ่งคนที่สนใจเรื่องกล้วยรวมไปถึงคนที่ชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 2,803

ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นพลับพลึง

ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นพลับพลึง

ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุมีลักษณะคล้ายรูปร่างดอกไม้ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากแรงงานฝีมือมนุษย์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์การผลิต โดยมีการใช้วัตถุดิบการผลิตจากธรรมชาติ หรือวัตถุดิบที่เกิดจากการสังเคราะห์มาผลิตโดยผ่านขั้นตอนการประดิษฐ์ ดัดแปลง อบ ย้อม เผา เคลือบสารเคมี รวมทั้งทำการตกแต่งตัดต่อเติม เพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม โดยดอกไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอาจจะมีความเหมือนหรือไม่เหมือนธรรมชาติก็ได้ขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้งาน โดยคุณสมบัติของดอกไม้ประดิษฐ์ที่สำคัญคือ มีความคงทน ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและดูแลรักษา มีความสวยงาม สามารถนำไปใช้ในการประดับในโอกาสต่างๆ 

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,320

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ”  โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 2,185

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

ตั้งอยู่ในอำเภอนครชุม ไม่ไกลจากแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม เป็นบ้านไม้เก่าแก่ของครูมาลัย นักประพันธ์ชื่อดังแห่งเมืองกำแพงเพชรซึ่งตกทอดมาสู่รุ่นหลาน ที่นี่คือแหล่งผลิตขนมโบราณหาชิมได้ยากอย่าง ขนมข้าวตอก ขนมโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยมสีขาว ดูคล้ายก้อนเกล็ดหิมะสีขาว ทำมาจากน้ำตาลปี๊บเคี่ยวกับกะทิ คลุกเคล้ากับข้าวตอกบดละเอียดที่ทำมาจากข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่คั่วไฟจนพอง ก่อนจะอัดพิมพ์แล้วอบด้วยเทียนหอม เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติหวานมัน นิยมนำไปใช้ในงานบุญ งานแต่ง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,407

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,634

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 2,101