แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้ชม 2,326
[16.4791684, 99.5041122, แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม]
พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง ซึ่งที่นี่มีกรุพระเครื่องทั้งที่ขุดค้นพบแล้วและยังไม่ได้ค้นพบอีกเป็นจำนวนมาก กรุพระเครื่องที่มีชื่อเสียงของกำแพงเพชรได้แก่ กรุทุ่งเศรษฐี โดยพระเครื่องที่พบที่กรุทุ่งเศรษฐีได้แก่ พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงพลูจีบ โดยเฉพาะพระกำแพงซุ้มกอนั้น ถือเป็นชุดพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียง ได้รับการยกย่องจากผู้คนในวงการพระเครื่องให้บรรจุรวมอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคี ถือเป็นพระเครื่องห้าชนิดที่เป็นสุดยอดในวงการพระเครื่องของไทย เพราะฉะนั้นเราจึงพลาดไม่ได้ที่จะมาชมการทำเครื่องโบราณที่แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่อง ซึ่งเจ้าของคือ คุณลุงสมหมาย ซึ่งนอกจากจะยึดการทำพระเครื่องโบราณเป็นอาชีพแล้วยังเปิดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วย เข้าชมฟรีโดยไม้คิดค่าใช้จ่าย โดยสามารถติดต่อคุณลุงสมหมายเพื่อขอนัดวันเวลาล่วงหน้าได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 089 641 2543
คุณลุงเล่าว่าจุดเริ่มต้นที่ให้มาทำพระเครื่อง เพราะมีใจรักคลุกคลีอยู่ในวงการและสะสมพระเครื่องมาตั้งแต่อายุ 20 ปีจนถึงปัจจุบัน ลุงชอบดู จำและศึกษา วิธีการทำพระเครื่องจากช่างในกำแพงเพชร จนมีโอกาสได้ทดลองทำพระซุ้มกอเป็นอันดับแรก ลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จในการทำพระเครื่อง และยึดเป็นอาชีพหลักมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนจะกลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม พระเครื่องที่ผลิต ได้แก่ พระซุ้มกอ พระกลีบบัว พระเม็ดขนุน พระนางพญา พระเม็ดมะลื่น พระกำแพงลีลา พระกำแพงเปิดโลก พระเม็ดมะเคล็ด ฯลฯ
ระหว่างที่คุณลุงเล่าไปก็เริ่มสาธิตการทำพระเครื่องให้ได้ชมกว่าจะมาเป็นพระพิมพ์ที่หรือพระเครื่องที่เรารู้จักนั้น ต้องผ่านกระบวนการใดมาบ้าง เล่าแบบไม่หวงวิชากันเลยทีเดียว ถึงแม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปเทคโนโลยีก้าวหน้าไปเพียงใด แต่ก็ยังคงยึดหลักการทำพระเครื่องแบบโบราณโดยใช้แรงงานคนทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มนวดดินและการโรยส่วนผสมต่างๆ เมื่อได้ดินมาแล้วก็โรยแป้งบนพิมพ์จากนั้นก็กดดินลงบนแม่พิมพ์ โดยแม่พิมพ์ก็ได้มาจากการจำลองจากพระเครื่องนครชุมของแท้ ที่เป็นของเก่าของแก่ ต่อด้วยการนำพระไปเผาที่เตาประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องคอยเติมถ่าน และควบคุมไม่ให้ไฟแรงเกินซึ่งการเผายังคงเป็นกรรมวิธีแบบโบราณคือเผาด้วยถ่าน แบบนี้จะเรียกว่าการเผาดำ ซึ่งพระจะมีสีดำตามรูป คุณลุงบอกว่าในนี้มีพระเป็นพันองค์เลยทีเดียว เมื่อเผาจนครบกำหนดเวลาแล้วก็นำพระออกจากเตาจากนั้นนำมาวางเรียงเพื่อใส่รา ใส่คราบพระ สุดท้ายให้นำใบตองแห้งของกล้วยน้ำว้ามาขัด ก็จะได้พระเครื่องนครชุมที่ดูคล้ายของเก่าแก่
คำสำคัญ : การทำพระเครื่อง, พระเครื่อง
ที่มา : http://www.paiduaykan.com/travel
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1401&code_db=610007&code_type=01
Google search
การสวมเสื้อลายดอกเป็นเอกลักษณ์สำคัญของภาคกลาง ในเทศกาลสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดกำแพงเพชร มีเอกลักษณ์การสวมเสื้อผ้าลายดอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเทศกาลสำคัญประจำเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร ด้วยเหตุดังกล่าว เสื้อลายดอกและผ้าไทย จึงเป็นที่น่าสนใจของทุกสถาบันพากันสวมเสื้อลายดอกกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ทั้งระบบสถาบันและชาวกำแพงเพชร นิยมที่จะสวมใส่เสื้อลายดอกและผ้าไทยกันทุกรุ่นทุกวัย ทำให้กิจกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าลายดอกที่กำแพงเพชรจึงมีหลายร้าน ที่น่านิยมและสนใจ
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,393
แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง อายุ ๖๓ ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์
เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 4,038
พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ” โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 1,173
บ้านที่มีอายุกว่า ๑๒๐ ปี และยังรักษาสภาพเดิม ๆ ไว้ได้กว่าร้อยละ ๘๐ คือ บ้านครูมาลัย ชูพินิจ อยู่ปากซอยชากังราว อยู่เลยวัดพระบรมธาตุมาทางนครชุมเล็กน้อย ตามถนนสายหน้าเดิม ติดกับคลองสวนหมาก โดยหันหน้าออกไปทางคลองสวนหมาก และแม่น้ำปิง ครูมาลัยเป็นบุตรของกำนันสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ กำนันตำบลปากคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เดิมกำนันสอนตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกันกับบ้านหลังนี้ บ้านหลังนี้เป็นฉากสำคัญในนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,055
พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,326
เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙ หมู่ที่๕ ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช ๒๔๔๖ สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี ๒๔๖๕ บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว ๙๔ ปี
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,236
นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่งหรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดเป็นเตาแบบโบราณที่ใช้ปู้หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมากแทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,551
การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,383
ลักษณะสถาปัตยกรรม บ้านห้างหรือเรือนปั้นหยาประยุกต์สองชั้น ขนาดหน้ากว้าง ๒๐.๕๐ เมตร ลึก ๑๑.๕๐ เมตร มีเรือนประกอบด้านข้างอีกสองหลัง มีนอกชานแล่นกลางขนาดกว้าง ๑๐เมตร ยาวเกือบ ๒๐ เมตร เชื่อมบ้านสามหลังเข้าด้วยกัน ด้านหลังมีสะพานเชื่อมต่อไปยังครัว และ ห้องน้ำห้องส้วม ห่างจากตัวบ้าน ราว ๗ เมตรโครงสร้างทั้งหมดทำด้วยไม้เบญจพรรณ สภาพบ้านรื้อมา (มีเรื่องเล่าขานว่า ซื้อมาจากเรือนพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร) นำมาปลุกใหม่ แต่ดัดแปลงบางส่วนออกให้เหมาะกับการเป็นสำนักงานห้างค้าไม้
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,112
บ้านหลังนี้ เป็นบ้านทรงปั้นหยา (เรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่วเรือนปั้นหยาปรากฏมีอยู่ที่หลังคาพระราชวังต่าง ๆ ที่สร้างในสมัยต้นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นแบบปั้นหยา จากเรือนปั้นหยาได้วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมะนิลา คือบางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้ว เปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลาซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา) เข้ามาสู่ความนิยมอย่างแพร่หลายในพระราชวัง แล้วสู่วังของเจ้านายในราชสำนัก และมาสู่เรือนของผู้มีอันจะกินในต่างจังหวัดในที่สุด
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,115