เรือนปานะ
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้ชม 789
[16.4264988, 99.2157188, เรือนปานะ]
เรือนนายไผ่ – นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยก ทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่ - นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๘ ถนนราชดำเนิน ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๒ ปลาย ๆ สมัยรัชกาลที่ ๕ หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง นายไผ่เป็นนักปราชญ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงมากในการทำขวัญนาค เจ้าพิธีการตั้งศาล พระภูมิ หมอดูและการสามารถดูฤกษ์ยามได้แม่นยำ คนกำแพงเพชรในยุคนั้นให้ความเคารพนับถือ นายไผ่ ประดิษฐ์เป็นบุคคลสำคัญของบ้านเมืองกำแพงเพชร นายไผ่ เชี่ยวชาญเรื่องแพทย์แผนไทยที่สุดในกำแพงเพชรอีกท่านหนึ่ง พระธรรมมาธิมุตมฺนี (หลวงพ่อผิว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เจ้าอาวาสวัดบาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยนั้น เป็นน้องชายของท่าน นายไผ่และนางพรวน ไม่มีบุตรและธิดาด้วยกัน บ้านหลังนี้จึงตกเป็นของหลาน นายไผ่เสียชีวิต เมื่ออายุได้ ๙๘ ปี ได้ยกบ้านเรือนไทยหลังนี้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนางทองอยู่ ปานะ (นางพี ปานะ) ปัจจุบันนางทองอยู่ ปานะ ได้โอนกรรมสิทธิ์การถือครองบ้านให้แก่นายวรพัฒน์ สินอนันต์วณิช ผู้เป็นบุตรชายดูแลรักษา
ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นเรือนไทยเดิม สร้างด้วยไม้สักชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง ขนาดหน้ากว้าง ๘.๕ เมตร ลึก ๖ เมตร ภายในบ้านจะเป็นห้องนอน ๑ ห้อง และห้องรับแขก ส่วนห้องครัวและห้องน้ำาจะเป็นชานยื่นออกไปจากตัวบ้าน ปัจจุบันได้รื้อนอกชาน ออกไปเนื่องจากมีสภาพผุพัง เหลือแต่เฉพาะตัวบ้านบ้าน ชำรุดไปตามกาล เนื่องจากไม่มีผู้อยู่อาศัยถูกทิ้งร้างมานาน
เรือนหลังนี้มีลักษณะเป็นเรือนเดี่ยว ยกพื้นสูงจากพื้นดินเสมอศีรษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคาทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง วางเรือนไปตามแนวถนนราชดำเนินอย่างเหมาะสมถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ฝาจะเป็นฝาปะกนงดงามมาก เรือนฝาปะกนถือเป็นเรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกันสนิท หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน เรือนหลังนี้หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หน้าจั่วของเรือนไทยอ่อนช้อยงดงามมาก หลังคาใช้ไม้ทำโครงและใช้จากกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะ ไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคา ทรงสูงนี้มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พักอาศัยหลับนอนเย็นสบาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้าจั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศ โดยใช้ไม้ตีเว้นช่องหรือ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก ชายคากันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด้านหน้าเป็นประตูบานเฟี้ยม หน้าต่างเปิดเข้าตามแบบเรือนไทยด้วยทั่วไป หน้าต่างแคบแต่สูง มีลูกกรงเหล็กไว้ป้องกันทรัพย์สินจากมิจฉาชีพ การเข้าไม้เข้าแบบโบราณ ประตูหน้าต่างใช้สลักแทนบานพับ เป็นภูมิปัญญาที่ยอดเยี่ยมมาก
เจ้าของรักและหวงแหน ดูแลบ้านหลังนี้อย่างเหมาะสม นับว่าเป็นเรือนไทยที่งดงามที่สุด หลังหนึ่งในกำแพงเพชร
คำสำคัญ : เรือนโบราณ, เรือนปานะ
ที่มา : สันติ อภัยราช. (2558). เรือนโบราณกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เรือนปานะ. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1357&code_db=610007&code_type=01
Google search
การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,374
ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,746
บนถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วัดเสด็จขึ้นมาจนถึงการประปากำแพงเพชร มีบ้านเรือนไทยเก่าแก่อายุนับร้อยปีจำนวนมาก เป็นโชคดีของกำแพงเพชรที่บ้านเหล่านี้เหลือจากไฟไหม้ใหญ่ที่กำแพงเพชร เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ค.ศ. ๑๙๖๓ เวลาประมาณ ๑๐ น. เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือน
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 942
เรือนนายไผ่ – นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยก ทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่ - นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๘ ถนนราชดำเนิน ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๒ ปลาย ๆ สมัยรัชกาลที่ ๕ หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 789
เราจะปลูกกล้วยไข่กำแพงเพชรให้ได้ผลผลิตที่สูง ลดการลงทุน ด้วยมาตรฐานการส่งออกได้อย่างไรกันนะ แรกสุดเรามาพิจารณาว่าพื้นที่สวนเรามีลักษณะที่กล้วยไข่กำแพงเพชรเติบโตได้ดีไหม สวนเราต้องเป็นที่ดอนหรือที่ราบที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ มีดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกมากกว่า 40 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.5-7.0 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 25-28 องศาเซลเซียล การเตรียมพื้นที่เริ่มที่ "การไถดะ" ด้วยรถไถแล้ว "ตากดิน" ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อปรับดินและกำจัดวัชพืช
เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 9,061
พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ” โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 1,157
ลักษณะสถาปัตยกรรม บ้านห้างหรือเรือนปั้นหยาประยุกต์สองชั้น ขนาดหน้ากว้าง ๒๐.๕๐ เมตร ลึก ๑๑.๕๐ เมตร มีเรือนประกอบด้านข้างอีกสองหลัง มีนอกชานแล่นกลางขนาดกว้าง ๑๐เมตร ยาวเกือบ ๒๐ เมตร เชื่อมบ้านสามหลังเข้าด้วยกัน ด้านหลังมีสะพานเชื่อมต่อไปยังครัว และ ห้องน้ำห้องส้วม ห่างจากตัวบ้าน ราว ๗ เมตรโครงสร้างทั้งหมดทำด้วยไม้เบญจพรรณ สภาพบ้านรื้อมา (มีเรื่องเล่าขานว่า ซื้อมาจากเรือนพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร) นำมาปลุกใหม่ แต่ดัดแปลงบางส่วนออกให้เหมาะกับการเป็นสำนักงานห้างค้าไม้
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,102
พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,321
ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อย ๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,570
เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย ๒ ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ ๒ เมตร
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,237