เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้ชม 2,000

[16.4571068, 99.3907176, เรือนส่างหม่อง]

        ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน ดังนั้นจึงขอนางเถาและนายหุ่นมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมต่อมานางเถาได้สมรสกับนายบุญคง ไตรสุภา มีบุตรธิดา 5 คน ส่วนนายหุ่นได้สมรสกับนางบน แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน และต่อมานางเถาได้เสียชีวิตลง นายบุญคง ไตรสุภา จึงได้สมรสใหม่กับนางบนและได้ช่วยกันเลี้ยงดูบุตรของนายบุญคง และนางเถา นางกฤษณา เหลี่ยมเคลือบ (บุตรสาวนาย บุญคง ไตรสุภาเป็นผู้ให้ข้อมูล ปัจจุบันอายุ 78 ปี (2559) บ้านหลังนี้สันนิษฐานว่าควรสร้าง เมือง 120 ปีมาแล้ว คือสร้างราวปี พ.ศ. 2439 ส่างหม่องเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการร่วมบูรณะพระบรมธาตุร่วมกับพะโป้ โดยเป็นผู้อัญเชิญยอดฉัตรวัดพระบรมธาตุมาจากมะระแหม่ง ประเทศพม่าส่างหม่องเสียชีวิตก่อนนางเฮียง แต่ไม่มีใครสามารถระบุปีที่เสียชีวิตได้ เพราะไม่มี หลักฐานสนับสนุน ดูจากรูปถ่าย อายุราว 50 ปี แสดงว่าส่างหม่อง น่าจะมีอายุกว่า 50 ปี และสันนิฐานว่าเสียชีวิต ราว ปี 2480
        ลักษณะสถาปัตยกรรมบ้านส่างหม่อง เป็นเรือนทรงปั้นหยา (สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้ง 4 ด้าน ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า เรือนปั้นหยา (เปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ทำเป็นหัตถ์ ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดีซึ่งมีลักษณะหลังคา เช่นนั้น) เรือนปั้นหยา เป็นเรือนไม้อิทธิพลยุโรป ในยุคล่าเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศส พระราชวังและบ้านเรือนขุนนางนิยมสร้างแบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบี้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิดไม่มีหน้าจั่ว ถ้ามีหน้าจั่วจะกลายเป็นทรงมะนิลา ผสมกับปั้นหยา มีทั้งแบบใต้ถุนสูง และสองชั้น) ยกใต้ถุนสูง ใต้ถุนโล่งใช้เป็นพื้นที่เก็บของ หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์แบบยุโรป บ้านมีขนาดหน้ากว้าง 12 เมตร ลึก 8.50 เมตร มีสองระดับ คือนอกชานขนาดใหญ่ มีระเบียงภายนอกขนาดกว้าง ประมาณ 3 เมตร
        บริเวณทางเข้าสู่ตัวบ้านเป็นบันไดราว 7 ขั้น เข้าสู่ชานบ้าน ภายในพื้นที่โล่งส่วนกลางมีการยกพื้นราว 0.50 เมตร และยาวตลอดไปถึงพื้นที่ครัว ภายในบ้านมีห้องนอนใหญ่อยู่ด้านหน้า เป็นห้องนอนมีประตูบานเฟี้ยมส่วนด้านหลังมีห้องเก็บของ 1 ห้อง ปัจจุบันใช้เป็นที่อาศัยเพียงด้านเรือนชานด้านหน้า เนื่องจากในห้องจะใช้เก็บข้าวของเครื่องใช้ เช่น เตียงโบราณ ตู้เก็บถ้วยจาน โบราณ โต๊ะเครื่องแป้ง ซึ่งของใช้อยู่ในสภาพที่ดีทุกชิ้น หน้าถังบานเฟี้ยมขนาดใหญ่ มีลวดลายที่งดงาม ช่องลมมีลายที่งดงาม หน้าต่างเปิดออกต่างกับแบบเรือนไทย บ้านส่างหม่องเป็นบ้านที่มีสภาพสมบูรณ์มากเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายในบ้านมีเครื่องใช้ของส่างหม่องในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทันสมัยมากมาย อาทิ เครื่องกรองน้ำ ตู้เซพขนาดใหญ่ 2 ตู้ โต๊ะทำงาน เพียงเหล็กขนาดเล็ก และ ขนาดใหญ่ โต๊ะเครื่องแป้งขนาดใหญ่สวยมาก เครื่องมือใช้สอยครบถ้วน
        บ้านส่างหม่องปัจจุบันเป็นของนายบุญคง ไตรสุภา ตกมาเป็นของนางกฤษณา เหลี่ยมเคลือบ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 131 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร อยู่เลยโรงเรียนบ้านนครชุม มาทางตลาดนครชุมนิดเดียว น่าเที่ยวชมที่สุด บ้านส่างหม่องหลังนี้สมควรที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านประจำจังหวัดกำแพงเพชรอย่างยิ่ง เพราะเหมาะสมทุกอย่างทุกประการ

คำสำคัญ : เรือนโบราณ

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2558). เรือนโบราณกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เรือนส่างหม่อง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1359&code_db=610007&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1359&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์)

เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์)

บนถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วัดเสด็จขึ้นมาจนถึงการประปากำแพงเพชร มีบ้านเรือนไทยเก่าแก่อายุนับร้อยปีจำนวนมาก เป็นโชคดีของกำแพงเพชรที่บ้านเหล่านี้เหลือจากไฟไหม้ใหญ่ที่กำแพงเพชร เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10 น. เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือน 

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,220

เรือนนายหอม รามสูต

เรือนนายหอม รามสูต

บ้านหลังนี้ เป็นบ้านทรงปั้นหยา (เรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่วเรือนปั้นหยาปรากฏมีอยู่ที่หลังคาพระราชวังต่างๆ ที่สร้างในสมัยต้นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นแบบปั้นหยา จากเรือนปั้นหยาได้วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมะนิลา คือบางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้ว เปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลาซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา) เข้ามาสู่ความนิยมอย่างแพร่หลายในพระราชวัง แล้วสู่วังของเจ้านายในราชสำนัก และมาสู่เรือนของผู้มีอันจะกินในต่างจังหวัดในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,323

บายศรี

บายศรี

บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์ คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย  ก่อนทำพิธีสู่ขวัญ ต้องมีการจัดทำพาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่องสังเวยบูชาก่อนการเรียกขวัญ ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบไม้ เช่น ใบตองกล้วย นำมาพับ เป็นมุมแหลมและเย็บซ้อนอย่างสวยงาม อาจทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัดพิธี บายศรีจึงเป็นความเชื่อของคนทุกภาคในประเทศไทย การทำพิธีโดยใช้บายศรี ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ ช่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญภยันตรายได้อย่างดี ทำให้เกิดโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้กระทำ การใช้บายศรี มีทั้งเหตุการณ์ดีและเหตุการณ์ไม่ดี

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 32,015

เรือนพระโป้

เรือนพระโป้

ลักษณะสถาปัตยกรรม บ้านห้างหรือเรือนปั้นหยาประยุกต์สองชั้น ขนาดหน้ากว้าง 20.50 เมตร ลึก 11.50 เมตร มีเรือนประกอบด้านข้างอีกสองหลัง มีนอกชานแล่นกลางขนาดกว้าง 10 เมตร ยาวเกือบ 20 เมตร เชื่อมบ้านสามหลังเข้าด้วยกัน ด้านหลังมีสะพานเชื่อมต่อไปยังครัว และ ห้องน้ำห้องส้วม ห่างจากตัวบ้าน ราว 7 เมตร โครงสร้างทั้งหมดทำด้วยไม้เบญจพรรณ สภาพบ้านรื้อมา (มีเรื่องเล่าขานว่า ซื้อมาจากเรือนพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร) นำมาปลุกใหม่ แต่ดัดแปลงบางส่วนออกให้เหมาะกับการเป็นสำนักงานห้างค้าไม้

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,389

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 2,000

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,265

เรือนสาวห้อม

เรือนสาวห้อม

ริมถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นับแต่วัดเสด็จขึ้นมา มีบ้านเรือนไทยอยู่มากมาย แต่ละหลังอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกำแพงเพชร เมื่อเดือนเมษายน 2506 ทางด้านซ้ายมือ เมื่อขึ้นมาทางเหนือ ตามถนนเดินรถทางเดียว พบบ้านสามหลังต่อเนื่องกันยาวเหยียดลงในในสวนหลังบ้าน บ้านแต่ละหลังล้วนมีสถาปัตยกรรมเป็นของตนเอง หาชมที่อื่นใดไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,468

ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ

กล้วยเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เป็นอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ เส้นใยสิ่งทอ สมุนไพร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักกล้วยอย่างแท้จริง หากอยากรู้จักกล้วยให้มากขึ้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า เมืองกล้วยไข่ เพราะว่าจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าปลูกกล้วยไข่ได้รสชาติดีที่สุดในประเทศและด้วยชื่อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ซึ่งพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์กล้วยที่คุณค่าทางวัฒนธรรมต่อชาวกำแพงเพชร ซึ่งคนที่สนใจเรื่องกล้วยรวมไปถึงคนที่ชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 2,385

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มของประชาชนที่มีความรู้และทักษะของการทอผ้า ที่สืบทอดกันมาจากครอบครัว เป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่นได้มีการรวมตัวของประชาชนหลังจากว่างงานเกษตรกร โดยมีหัวหน้ากลุ่ม ได้แก่ นางสาวธโยธร ลายทอง เป็นหัวหน้ากลุ่มกลุ่มผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เริ่มผลิตผ้าจากการปั่นด้าย จนกระทั่งถึงการทอผ้า ตัดเย็บ ขายปลีกและขายส่งอย่างครบวงจร มีระบบและสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดกำแพงเพชร และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทอผ้า ตัดเย็บและเลี้ยงตัวได้ หลังจากการทำไร่ทำนา หรือว่างจากการทำเกษตรกรรมนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการรวมกลุ่มการทำงานอย่างเข้มแข็ง ของประชาชน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 844

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,806