เรือนพระโป้
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้ชม 1,644
[16.4845416, 99.490729, เรือนพระโป้]
เมืองกำแพงเพชร มีบ้านโบราณจำนวนมาก เนื่องจากกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี บ้านหลังหนึ่งเป็นห้างทำไม้ของพะโป้ในอดีต ยังหลงเหลือความยิ่งใหญ่ให้เห็น เพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอดีต จากตัวเมืองกำแพงเพชรเดินทางไปยังฝั่งนครชุมแล้วข้ามคลองสวนหมากผ่านวัดสว่างอารมณ์ ขึ้นไปชมบ้านไม้สองชั้นใต้ถุนสูงหลังใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านห้าง หรือ บ้านห้าง ร. 5 หรือบ้านพะโป้ตั้งตระหง่านอยู่ริมคลองด้วยสภาพที่ทรุดโทรม พื้นบ้านผุพัง เรือนไม้หลังนี้มีประวัติความเป็นมาที่ทรงคุณค่าของชาวนครชุม และเมืองกำแพงเพชร บ้านห้างเป็นแหล่งรวมเรื่องราวการทำไม้ในป่าคลองสวนหมากกับตำนานพะโป้วีรบุรุษของชาวปากคลองผู้บูรณะวัดพระบรมธาตุให้อยู่คู่ เมืองนครชุมมาจนถึงทุกวันนี้
พะโป้เจ้าของบ้าน มีชื่อเต็มๆ คือ พะโป้พะเลวาซวยล่า สะมะเย เป็นพ่อค้าไม้ผู้มั่งคั่งชาวกะเหรี่ยงอยู่ในบังคับของอังกฤษ เดินทางจากพม่าเข้ามาทำไม้ในเขตพื้นที่ป่าคลองสวนหมาก โดยการนำพาของ มองม่อ มองปีล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 พะโป้ก็ได้แต่งงานกับคนไทยที่ชื่อ แม่ทองย้อย บุตรสาวผู้ใหญ่บ้านวัน และอำแดงไทย ซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ริมคลองสวนหมากใกล้กับบ้านห้าง และได้มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน (ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว) เท่าที่พอสืบค้นได้รู้จักชื่อ เพียง 3 คนคือ ป้าแกล ป้าทับทิม และนายทองทรัพย์ ซึ่งได้ตั้งนามสกุล “รัตนบรรพต” ซึ่งเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 สืบสายมาจนถึงทุกวันนี้
ลักษณะสถาปัตยกรรม บ้านห้างหรือเรือนปั้นหยาประยุกต์สองชั้น ขนาดหน้ากว้าง 20.50 เมตร ลึก 11.50 เมตร มีเรือนประกอบด้านข้างอีกสองหลัง มีนอกชานแล่นกลางขนาดกว้าง 10 เมตร ยาวเกือบ 20 เมตร เชื่อมบ้านสามหลังเข้าด้วยกัน ด้านหลังมีสะพานเชื่อมต่อไปยังครัว และห้องน้ำห้องส้วม ห่างจากตัวบ้าน ราว 7 เมตร โครงสร้างทั้งหมดทำด้วยไม้เบญจพรรณ สภาพบ้านรื้อมา (มีเรื่องเล่าขานว่า ซื้อมาจากเรือนพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร) นำมาปลุกใหม่ แต่ดัดแปลงบางส่วนออกให้เหมาะกับการเป็นสำนักงานห้างค้าไม้ ระเบียงด้านหลังทั้งหมดได้กั้นเป็นห้องทำงานเพื่อให้กว้างขวางขึ้น ชั้นล่างเรือนใหญ่ มี 4 ห้อง คือห้องพัสดุกองช้าง ห้องเสมียนพนักงาน ห้องโถงใหญ่ เป็นห้องทำงานของพะโป้มีบันไดขึ้นลง 2 ทาง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ชั้นบนมีลักษณะเหมือนชั้นล่าง แต่มีระเบียงยื่นออกไปทางคลองสวนหมาก เล่าว่าพะโป้นั่งชมการต่อแพบนเรือนหรือบ้านห้างนี้เอง บ้านห้างเป็นเรือนที่สร้างได้ละเอียดอ่อน มีลายฉลุแบบเครือเถารอบเรือน สวยงามสมกับเป็นเรือนและห้างสำหรับคหบดีผู้ใหญ่ในเมืองกำแพงเพชร
เจ้าของบ้านคนปัจจุบันคือ นางวัฒนา อุดมรัตน์ศิริชัย ข้าราชการครูบำนาญ มีเจตนาเสียสละจึงเคยทำเรื่องยกบ้านและที่ดินหลังนี้ให้กับทางราชการ กรมศิลปากร โดยการประสานงานของชมรมผู้รักษ์เมืองกำแพงเพชร (อาจารย์ สันติ อภัยราช ประธานชมรม) ในปีพ.ศ. 2540 เพื่อทำพิพิธภัณฑ์พระพุทธเจ้าหลวง ประพาสต้นกำแพงเพชร แต่ทางราชการปฏิเสธมา บ้านหลังนี้จึงยังมิได้ดำเนินการอย่างไรต่อไป นับว่าน่าเสียดายอย่างยิ่ง
คำสำคัญ : เรือนโบราณ
ที่มา : สันติ อภัยราช. (2558). เรือนโบราณกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เรือนพระโป้. สืบค้น 26 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1354&code_db=610007&code_type=01
Google search
การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มของประชาชนที่มีความรู้และทักษะของการทอผ้า ที่สืบทอดกันมาจากครอบครัว เป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่นได้มีการรวมตัวของประชาชนหลังจากว่างงานเกษตรกร โดยมีหัวหน้ากลุ่ม ได้แก่ นางสาวธโยธร ลายทอง เป็นหัวหน้ากลุ่มกลุ่มผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เริ่มผลิตผ้าจากการปั่นด้าย จนกระทั่งถึงการทอผ้า ตัดเย็บ ขายปลีกและขายส่งอย่างครบวงจร มีระบบและสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดกำแพงเพชร และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทอผ้า ตัดเย็บและเลี้ยงตัวได้ หลังจากการทำไร่ทำนา หรือว่างจากการทำเกษตรกรรมนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการรวมกลุ่มการทำงานอย่างเข้มแข็ง ของประชาชน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 1,078
การสวมเสื้อลายดอกเป็นเอกลักษณ์สำคัญของภาคกลาง ในเทศกาลสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดกำแพงเพชร มีเอกลักษณ์การสวมเสื้อผ้าลายดอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเทศกาลสำคัญประจำเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร ด้วยเหตุดังกล่าว เสื้อลายดอกและผ้าไทย จึงเป็นที่น่าสนใจของทุกสถาบันพากันสวมเสื้อลายดอกกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ทั้งระบบสถาบันและชาวกำแพงเพชร นิยมที่จะสวมใส่เสื้อลายดอกและผ้าไทยกันทุกรุ่นทุกวัย ทำให้กิจกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าลายดอกที่กำแพงเพชรจึงมีหลายร้าน ที่น่านิยมและสนใจ
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,856
ที่วัดโขมงหัก หมู่ที่ 13 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านได้รวมกลุ่มกัน เพื่อทำยาอมมะขามป้อมเพชร เพื่อใช้รักษาบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้ไอ บำรุงกล่องเสียง แก้เสมหะที่ลำคอ แก้เสลดหางวัว ยาอมมะขามป้อมเพชร ประกอบไปด้วย มะขามป้อม มะขามเปียก ดอกดีปลี ดอกช้าพลู เกลือ น้ำตาล ที่ถูกนำไปตากแห้งและอบ จากนั้นนำมาเคี่ยวในกระทะที่ร้อนคลุกเคล้าให้เข้ากันใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,677
อย่างไรจึงเรียกว่า "กล้วยไข่เมืองกำแพง" กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร จะมีลักษณะลำต้นตรงกาบด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง และกาบด้านในเป็นสีชมพูอมแดง มีลักษระผิวกาบมันวาว ลำต้นมีกาบใบที่ประกบกันแน่น ปลายใบเรียว สีใบกล้วยเป็็นสีเหลืองอ่อน ผิวใบมันวาว ใบชูตั้งชันยาวและรี มีเส้นใบจะเรียงขนานกัน กล้วยไข่กำแพงเพชรจะเริ่มตกปลีหลังจากปลูก 6-8 เดือน ปลีจะเกิดที่ใจกลางของลำต้น มีลักษณะปลีขนาดเล็ก ด้านนอกเป็นสีแดงม่วง เมื่อลอกกาบปลีออก ด้านในจะเป็นสีเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 7,200
เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,672
การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,116
บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์ คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย ก่อนทำพิธีสู่ขวัญ ต้องมีการจัดทำพาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่องสังเวยบูชาก่อนการเรียกขวัญ ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบไม้ เช่น ใบตองกล้วย นำมาพับ เป็นมุมแหลมและเย็บซ้อนอย่างสวยงาม อาจทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัดพิธี บายศรีจึงเป็นความเชื่อของคนทุกภาคในประเทศไทย การทำพิธีโดยใช้บายศรี ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ ช่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญภยันตรายได้อย่างดี ทำให้เกิดโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้กระทำ การใช้บายศรี มีทั้งเหตุการณ์ดีและเหตุการณ์ไม่ดี
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 33,125
เราจะปลูกกล้วยไข่กำแพงเพชรให้ได้ผลผลิตที่สูง ลดการลงทุน ด้วยมาตรฐานการส่งออกได้อย่างไรกันนะ แรกสุดเรามาพิจารณาว่าพื้นที่สวนเรามีลักษณะที่กล้วยไข่กำแพงเพชรเติบโตได้ดีไหม สวนเราต้องเป็นที่ดอนหรือที่ราบที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ มีดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกมากกว่า 40 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.5-7.0 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 25-28 องศาเซลเซียล การเตรียมพื้นที่เริ่มที่ "การไถดะ" ด้วยรถไถแล้ว "ตากดิน" ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อปรับดินและกำจัดวัชพืช
เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 11,492
ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,860
เรือนนายไผ่–นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยกทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่-นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ 378 ถนนราชดำเนิน 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ปลายๆ สมัยรัชกาลที่ 5 หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,099