เรือนสาวห้อม

เรือนสาวห้อม

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้ชม 1,469

[16.4264988, 99.2157188, เรือนสาวห้อม ]

         ริมถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นับแต่วัดเสด็จขึ้นมา มีบ้านเรือนไทยอยู่มากมาย แต่ละหลังอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกำแพงเพชร เมื่อเดือนเมษายน 2506 ทางด้านซ้ายมือ เมื่อขึ้นมาทางเหนือตามถนนเดินรถทางเดียว พบบ้านสามหลังต่อเนื่องกันยาวเหยียดลงในในสวนหลังบ้าน บ้านแต่ละหลังล้วนมีสถาปัตยกรรมเป็นของตนเอง หาชมที่อื่นใดไม่ได้อีกแล้ว
         บ้านที่กล่าวถึงนี้คือ บ้านสาวห้อม แต่เดิมอยู่เรียงกันตามถนนเทศา เป็นเรือนค้าขายของแม่สาวห้อม หรือคนกำแพงเพชร สมัยนั้นเรียกขานกันว่า ยายสายห้อม ปัจจุบันเจ้าของบ้านคืออาจารย์ผ่องศรี มั่นเขตวิทย์ ได้เลื่อนบ้านไปเรียงไว้ใหม่จากขนานแนวถนนกลายเป็นตอนลึก ทำให้น่าสนใจไปอีกแนวทางหนึ่ง
         แม่สาวห้อม เจ้าของบ้าน เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2458 เคยเป็นเรือนร้านค้า (ขายของชำ)และเรือนอยู่อาศัย แม่สาวห้อม ดำเนินการค้าขายด้วยตนเอง แม่สาวห้อมเสียชีวิตในวันที่ 15 ตุลาคม 2521 รวมอายุ 63 ปี เรือนหลังนี้สร้างมาก่อนแม่สาวห้อมเกิด ดูจากสถาปัตยกรรมแล้ว อายุไม่ต่ำ กว่า 120 ปี ยังคงสภาพที่สมบูรณ์มาก
         สถาปัตยกรรม มีสามหลงัต่อเนื่องกันเป็นตอนลึก หลังแรกจะเป็นเรือนไทยโบราณของกำแพงเพชร หลังที่ต่อออกไปเป็นเรือนไทยมนิลา หลังที่ 3 เป็นเรือนไทยปั้นหยา ทั้งสามหลังเชื่อมเป็นหลังเดียวกัน นับเป็นสิ่งที่น่าค้นหาที่สุดในกำแพงเพชร
         หลังแรกเรือนไทย หลังคามีอ่อนช้อย มีความลาดชันมาก เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้เร็ว แต่น้ำฝนที่ไหลมาตามความลาดชั้นที่มากนั้น ย่อมททำให้น้ำฝนมีโอกาสถูกลมพัดเข้าไปในบ้านได้ง่าย ไทยจึงออกแบบกัน สาดให้มีความลาดชันน้อยกว่าหลงัคารองรับน้ำฝนอกีชั้นหนึ่ง เพื่อให้น้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคากระเด็นออกไปให้ห้างจากตัวบ้านมากที่สุดนั่นเอง และในด้านความสวยงามแล้วหลังนี้น่าสนใจที่สุด เรือนไทยหลังนี้ เหมือนเรือนไทยทั่วไปคือมีโครงสร้างแบบเสาและคาน ซึ่งถ่ายน้ำหนักมาจากหลังคาลงพื้น โดยผ่านเสาลงสู่ฐานราก เสาบ้านมีลักษณะสอบเข้าและเป็นเสากลม โคนโต ปลายสอบ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของเรือนไทยไม่ให้ทรุดตัวได้ง่าย เนื่องจากฤดูน้ำหลากพื้นดินจะเป็นโคลนตม และตัวเรือนอาจเกิดการทรุดตัวได้ง่ายหากไม่มี การลม้สอบของเสาเรือน ประตหูน้าต่างออกแบบเปิดเข้าภายใน มีบานเฟี้ยมที่ใหญ่และงดงาม ฝาเป็นไม้ขนาดใหญ่ที่ตีแบบตั้งขึ้น เข้าลิ้น ไม่ให้ฝนสาดเข้าในตัวเรือน ยังรักษาสภาพไว้ดีเยี่ยม
        หลังที่ 2 เป็นทรงมะนิลา หลงัคาทรงมนิลา หรือหลังคาหน้าจั่ว เป็นหลังคาที่มีสันตรงกลาง และลาดลงทั้ง 2 ข้าง เป็นรปูทรงที่สืบทอดกันมาเคยทรงไทยแต่ไม่อ่อนช้อยและประณีตเท่า มีมาแต่สมัยกอ่นกรงุศรีอยุธยาเป็นราชธานี เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเขตร้อนอย่างบ้านเรา เนื่องจากมีฝนตกชุกหลังคาจั่วสามารถระบายน้ำฝนออกไปได้เร็ว และป้องกันแดดได้ดีเนื่องจากชายคายื่นยาวสองด้านส่วนด้านสกัดหรือด้านแคบ ยังรักษาสภาพได้ดี เป็นที่พำนักของเจ้าของบ้าน  
        หลังที่ 3 หลงัคาทรงปั้นหยา ได้แพร่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นหลังคาที่กันแดดกันฝนได้ทุกด้าน เป็นหลังคารูปทรงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้พราะหลังคาทรงนี้สามารถยื่นชายคาเพื่อบังแดดและฝนได้ทั้งสี่ด้าน การระบายน้ำฝนและการป้องกันการรั่วซึมค่อนข้างจะเสียเปรียบ หลังคาจั่วเนื่องจากมีรอยต่อมากกว่าแต่ถ้ามุงได้ถูกวิธีและดูแลรักษาตามสภาพก็จะไม่รั่วซมึ เดิมหลังนี้ไว้เก็บของ แต่ปัจจุบันเจ้าของบ้านปรับเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยอีกหลังหนึ่ง มาชมเรือนสาวห้อมหลังเดียว ก็เหมือนได้ชมเรือนไทยในกำแพงเพชรทุกหลังผ่านไปมาลองแวะชม เจ้าของอัธยาศัยไมตรีเยี่ยมจริง ๆ

คำสำคัญ : เรือนโบราณ

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2558). เรือนโบราณกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เรือนสาวห้อม . สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1360&code_db=610007&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1360&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

บายศรีเอกลักษณ์งานศิลป์ ถิ่นกำแพงเพชร

บายศรีเอกลักษณ์งานศิลป์ ถิ่นกำแพงเพชร

บายศรี มักจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นสำหรับวันสำคัญของชีวิต เช่น เมื่อเราเกิดจะมีพิธีช่วงขวัญเดือนสำหรับเด็กทารก เป็นพิธีผูกขวัญสำหรับเด็กทารกแรกเกิด บายศรีสู่ขวัญในการรับน้อง เมื่อเข้าสถานศึกษา เพื่อเป็นการเรียกขวัญที่คนไทยเชื่อว่า เมื่อเกิดมา เราจะมีเทพพิทักษ์ประจำตัว จำเป็นจะต้องทำพิธีเรียกหรือบอกกล่าวให้รับรู้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ประสบอุบัติเหตุ คนไทยจะนิยมทำพิธีเรียกขวัญเพื่อเรียกขวัญ(จิตใจ) ของผู้ประสบเหตุให้กับมาอยู่กับตัว เมื่อโตมาในช่วงวัยรุ่นก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ เราจะเห็นบายศรีในงานประเพณีบวชพระ ในช่วงที่ทำพิธีทำขวัญนาค โดยเฉพาะในพิธีการแต่งงานที่เป็นวันที่มีความสำคัญในชีวิตไม่แพ้วันอื่น ๆ ย่อมต้องมีพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตด้วยนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 3,622

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

อย่างไรจึงเรียกว่า "กล้วยไข่เมืองกำแพง" กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร จะมีลักษณะลำต้นตรงกาบด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง และกาบด้านในเป็นสีชมพูอมแดง มีลักษระผิวกาบมันวาว ลำต้นมีกาบใบที่ประกบกันแน่น ปลายใบเรียว สีใบกล้วยเป็็นสีเหลืองอ่อน ผิวใบมันวาว ใบชูตั้งชันยาวและรี มีเส้นใบจะเรียงขนานกัน กล้วยไข่กำแพงเพชรจะเริ่มตกปลีหลังจากปลูก 6-8 เดือน ปลีจะเกิดที่ใจกลางของลำต้น มีลักษณะปลีขนาดเล็ก ด้านนอกเป็นสีแดงม่วง เมื่อลอกกาบปลีออก ด้านในจะเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 6,298

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

บ้านที่มีอายุกว่า 120 ปี และยังรักษาสภาพเดิมๆ ไว้ได้กว่าร้อยละ 80 คือ บ้านครูมาลัย ชูพินิจ อยู่ปากซอยชากังราว อยู่เลยวัดพระบรมธาตุมาทางนครชุมเล็กน้อย ตามถนนสายหน้าเดิม ติดกับคลองสวนหมาก โดยหันหน้าออกไปทางคลองสวนหมาก และแม่น้ำปิง ครูมาลัยเป็นบุตรของกำนันสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ กำนันตำบลปากคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เดิมกำนันสอนตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกันกับบ้านหลังนี้ บ้านหลังนี้เป็นฉากสำคัญในนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,301

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง อายุ 63 ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 4,921

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,265

การขึ้นตาล

การขึ้นตาล

ตาลถูกกล่าวขานเปรียบเทียบในวรรณกรรมมาช้านาน ตาลจึงเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม ทุกส่วนของตาลล้วนนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ตาลโตนด เป็นต้นไม้ตระกูลเก่าแก่ มีมากกว่า 4,000 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่วประเทศไทย มีอายุยืนนับร้อยๆ ปี นักชีววิทยามีความเห็นว่า ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย ขยายไปสู่ศรีลังกา สหภาพเมียนม่าร์ ไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรบุรี นครปฐม มีปลูกมาก่อนสมัยทวารวดี ตาดโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มพัด มีชื่อหลายชื่อด้วยกัน เช่น ตาลใหญ่ ตาลนา ภาคเหนือเรียก ปลีตาล ภาคใต้เรียกโนด เขมรเรียกตะนอย ตาลโตนดที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร มี 3 สายพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,461

เรือนรัตนบรรพต

เรือนรัตนบรรพต

เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,492

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 2,000

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มของประชาชนที่มีความรู้และทักษะของการทอผ้า ที่สืบทอดกันมาจากครอบครัว เป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่นได้มีการรวมตัวของประชาชนหลังจากว่างงานเกษตรกร โดยมีหัวหน้ากลุ่ม ได้แก่ นางสาวธโยธร ลายทอง เป็นหัวหน้ากลุ่มกลุ่มผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เริ่มผลิตผ้าจากการปั่นด้าย จนกระทั่งถึงการทอผ้า ตัดเย็บ ขายปลีกและขายส่งอย่างครบวงจร มีระบบและสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดกำแพงเพชร และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทอผ้า ตัดเย็บและเลี้ยงตัวได้ หลังจากการทำไร่ทำนา หรือว่างจากการทำเกษตรกรรมนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการรวมกลุ่มการทำงานอย่างเข้มแข็ง ของประชาชน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 844

การปลูกกล้วยไข่

การปลูกกล้วยไข่

เราจะปลูกกล้วยไข่กำแพงเพชรให้ได้ผลผลิตที่สูง ลดการลงทุน ด้วยมาตรฐานการส่งออกได้อย่างไรกันนะ แรกสุดเรามาพิจารณาว่าพื้นที่สวนเรามีลักษณะที่กล้วยไข่กำแพงเพชรเติบโตได้ดีไหม สวนเราต้องเป็นที่ดอนหรือที่ราบที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ มีดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกมากกว่า 40 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.5-7.0 มีอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 25-28 องศาเซลเซียล การเตรียมพื้นที่เริ่มที่ "การไถดะ" ด้วยรถไถแล้ว "ตากดิน" ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อปรับดินและกำจัดวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 10,476