เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์)
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้ชม 1,400
[16.4258401, 99.2157273, เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์)]
บนถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วัดเสด็จขึ้นมาจนถึงการประปากำแพงเพชร มีบ้านเรือนไทยเก่าแก่อายุนับร้อยปีจำนวนมาก เป็นโชคดีของกแพงเพชร ที่บ้านเหล่านี้เหลือจากไฟไหม้ใหญ่ที่กำแพงเพชร เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10 น. เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือน
บ้านที่เหลืออยู่ที่ยังงดงามคือบ้านขุนทรงราชผล ตั้งอยู่เลขที่ 67 ถนนเทศา 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2451 รองอำมาตย์ตรีขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์) เกิดเมื่อ 8 พฤษภาคม 2427 เป็นบุตรนายอ้น นางชุม เป็นชาวกำแพงเพชร โดยกำเนิดมีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 7 คน รับราชการเป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพกร ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
เสด็จประพาสต้นจังหวัดกำแพงเพชรครั้งแรก พ.ศ.2449 ท่านมีอายุ 22 ปี อาจยังได้ได้รับตำแหน่งขุนทรงราชผล เป็นศุภมาตราจังหวัดกำแพงเพชร (ตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองตำแหน่งหนึ่ง ในปัจจุบันหมายถึงผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด) และได้พบรักกับแม่หวีด รามสูต สาวงามเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นธิดาของหลวงพิพิธอภัย และหลานสาวพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้อาศัยบ้านหลังนี้เป็นเรือนหอครองรักกันมา จนกระทั่งมีบุตรธิดา 3 คน คือคุณครูวัฒนา พันเอกพิเศษทวีป และนางประวัติ ศุภดิษฐ์ ปัจจุบันบ้านหลังนี้ เป็นกรรมสิทธิ์ของนางกนกวรรณ เสงี่ยมศิลป์ (ศุภดิษฐ์) หลานครูวัฒนา ศุภดิษฐ์ นับอายุได้กว่าร้อยปี ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และตำนานแห่งความรักของขุนทรงราชผล และแมห่วีด คนงามเมืองกำแพง ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อคราเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร เมื่อปีพระพุทธศักราช 2449 เมื่อแม่หวีดถึงแก่กรรม เมื่อราวอายุ 29 ปี ขุนทรงราชผลได้ครองตัวเป็นโสดมาตลอดชีวิตที่บ้านหลังนี้ จนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2507 อายุได้ 80 ปี
ลักษณะสถาปัตยกรรม ตัวเป็นเรือนปั้นหยา (เรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบี้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่ว) ผสมกับเรือนมะนิลา (เรือนมะนิลาเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาและมีจั่วด้านหน้า ได้เริ่มมีให้เห็นอย่างประปรายในสมัยรัชกาลที่ 5 ถ้าเป็นเรือนชั้นเดียวมักทำด้านหน้าเป็นเฉลียงทางเดิน (Colonade) ที่หน้าจั่วจะไม่มีลวดลายฉลุ) โดยตัวเรือนใหญ่เป็นเรือนปั้นหยา แต่มีมุขออกไปด้านหน้าเป็นห้องรับแขก ตามแบบฉบับของผู้มีฐานะในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อรัชกาลที่ 6 เป็นเรือนไม้สักทั้งหลังยกใต้ถุนสูงประมาณสองเมตร ขนาดหน้ากว้าง 7.7 เมตร ลึก 7.7 เมตร ในอดีตจะมีเรือนชานต่อออกจากห้องรับแขก ซึ่งจะใช้เป็นเรือนครัวและห้องน้ำ และต่อจากเรือนชานจะเป็นเรือนปั้นหยาต่ออีก 1 หลัง แต่เนื่องจากบ้านมีอายุมากกว่า 106 ปี ทำให้บ้านมีสภาพผุพังไปตามกาลเวลา และได้มีการรื้อเรือนด้านหลังนอกชานออก ทำให้ปัจจุบันมีเรือนที่เป็นห้องนอนอยู่เพียง 1 หลัง เท่านั้น บนบ้านหลังนี้ด้านหลังเป็นห้องนอนของขุนทรงราชพล มีบ้านประตูเป็นบานเฟี้ยม เปิดได้ทุกบาน แบบของประตูบานเฟี้ยมเป็นแบบฉบับดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมมะนิลา คือ ด้านบนเป็นบานเกร็ด ด้านล่างเป็นฝาปะกันมีลวดลายงดงาม มีธรณปีระตูสูง ประมาณ 6 นิ้ว ฝาบ้านตีตามขวางตามแบบเรือนทั่วไป พื้นเป็นไม้ขนาดหนาประมาณ 1 นิ้ว หน้ากว้าง ราง 10-12 นิ้ว มีบันไดขึ้นลงทั้งสองด้าน ภายในมีเตียงเหลก็อายุกว่าร้อยปีอยู่สองหลัง เก็บรูปที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้อย่างมากมาย ขอบคุณอาจารย์สุมาลี เกตุเจริญ หลานสาวผู้ดูแลบ้านหลังนี้มานานแสนนาน
คำสำคัญ : เรือนโบราณ
ที่มา : สันติ อภัยราช. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการอบรมมัคคุเทศก์ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: เทศบาลเมืองกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์). สืบค้น 20 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1355&code_db=610007&code_type=01
Google search
บนถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วัดเสด็จขึ้นมาจนถึงการประปากำแพงเพชร มีบ้านเรือนไทยเก่าแก่อายุนับร้อยปีจำนวนมาก เป็นโชคดีของกำแพงเพชรที่บ้านเหล่านี้เหลือจากไฟไหม้ใหญ่ที่กำแพงเพชร เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10 น. เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือน
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,400
เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี
เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,748
เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,823
การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,324
นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่งหรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดเป็นเตาแบบโบราณที่ใช้ปู้หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมากแทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,925
อย่างไรจึงเรียกว่า "กล้วยไข่เมืองกำแพง" กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร จะมีลักษณะลำต้นตรงกาบด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง และกาบด้านในเป็นสีชมพูอมแดง มีลักษระผิวกาบมันวาว ลำต้นมีกาบใบที่ประกบกันแน่น ปลายใบเรียว สีใบกล้วยเป็็นสีเหลืองอ่อน ผิวใบมันวาว ใบชูตั้งชันยาวและรี มีเส้นใบจะเรียงขนานกัน กล้วยไข่กำแพงเพชรจะเริ่มตกปลีหลังจากปลูก 6-8 เดือน ปลีจะเกิดที่ใจกลางของลำต้น มีลักษณะปลีขนาดเล็ก ด้านนอกเป็นสีแดงม่วง เมื่อลอกกาบปลีออก ด้านในจะเป็นสีเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 7,487
แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง อายุ 63 ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์
เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 6,104
พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ” โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 3,619
ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 5,201
กล้วยไข่นับว่าเป็น "ของดีของเมืองกำแพง" ที่ชาวบ้านปลูกกันมานับร่วมร้อยปี จนกลายเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และผูกพันกับประเพณีวิถีชีวิตของคนกำแพงมายาวนาน ทั้งงานบุญ งานสารทไทยกล้วยไข่ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการกินกระยาสารทของคนกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรปลูกกล้วยไข่กันมากในแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากทั้งดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีเอกลักษณ์โดดเด่น
เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 3,518