กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้ชม 1,427

[16.457075, 99.3254668, กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม]

บทนำ
         พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ”  โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้

ความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม
         แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร หรือที่คนในท้องที่รู้จักกันในนาม “บ้านลุงโป้ย” มีนายสมหมาย พยอม หรือ ลุงโป้ย เป็นปราชญ์ชาวบ้าน มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญในการทำพระเครื่องพิมพ์ดินเผาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกำแพงเพชรได้ทำการเปิดบ้านพักของตนเองและใช้พื้นที่บริเวณบ้านเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้การทำพระเครื่องพิมพ์ดินเผาด้วยวิธีการโบราณดั้งเดิม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนนครชุม แต่ปัจจุบัน นายสมหมาย พยอม ได้เสียชีวิตไปแล้วแต่ก็ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับภรรยาของตน คือนางดวงรัตน์ พยอม ในการดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่อง พิมพ์ดินเผาในนครชุมสืบต่อไป ซึ่งแหล่งเรียนรู้นี้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญมากแห่งหนึ่งในการทำพระพิมพ์ดิน ซึ่งเป็นองค์ความรู้และทุนทางศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดอยู่ในชุมชน และควรอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริม และให้ความสำคัญกับแหล่งเรียนรู้นี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังที่สนใจศึกษาเรียนรู้ (ดวงรัตน์ พยอม. สัมภาษณ์. 25 มิถุนายน 2561)
         แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คอยถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำพระเครื่องพิมพ์ดินเผา ด้วยกรรมวิธีโบราณแบบดั่งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาของช่างทำพระเครื่องในสมัยอดีต ให้กับผู้ที่สนใจ ทั้งคนในชุมชน นักท่องเที่ยว ทั้งไทยและชาวต่างชาติ ปัจจุบันการจะหาชมพระเครื่องของเมืองนครชุมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเสียหน่อย แต่หากว่ามาที่ แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมแห่งนี้ก็จะได้เห็นพระเครื่องรวมถึงกระบวนการทำพระเครื่องจากตัวเจ้าของแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง แหล่งเรียนรู้การทำ พระเครื่องนครชุมแห่งนี้ เริ่มต้นมาจาก นาย สมหมาย พยอม ผู้มีถิ่นฐานอยู่ในนครชุมและได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่กับช่างทำพระเครื่องหรือผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่องบ่อยครั้งด้วยความที่มีใจรัก จึงศึกษาและจดจำวิธีการทำพระเครื่องจากช่างทำพระเครื่องในกำแพงเพชร แล้วนำมาทดลองทำพระซุ้มกอได้เป็นองค์แรก ในปี พ.ศ.2551 ก็ได้จัดตั้งแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมขึ้น ในพื้นที่บริเวณบ้านพักของตนเองเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่สนใจในเรื่องวิธีการทำพระเครื่อง ซึ่งภายในแหล่งเรียนรู้ก็จะมีสมาชิกที่คอยสาธิตกระบวนการทำพระเครื่องในขั้นตอนต่าง ๆ ให้ได้ชม ได้ฝึกปฏิบัติการการทำพระเครื่องด้วยมือตนเอง และยังสามารถนำพระเครื่องที่ตนได้ทำเองนั้นกลับไปได้อีกด้วย 

ขั้นตอนการพิมพ์พระเครื่องของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม
        สำหรับการทำพระเครื่อง หรือพระพิมพ์ดินนั้น เริ่มจากการนำดินที่ได้มาทุบ แล้วหมักไว้ 1 คืน จากนั้นก็นำดินมานวดให้นิ่มพอดี ไม่แข็งหรือเหลวเกินไป ถัดมา ให้นำแป้งมาโดยที่แม่พิมพ์พระเพื่อที่เวลากดดินลง กับแม่พิมพ์แล้วดินจะได้ไม่ติดกับแม่พิมพ์ และสามารถนำดินออกมาได้ง่ายโดยแม่พิมพ์พระที่ใช้ก็ได้มาจากการจำลองจากพระเครื่องนครชุมของแท้ ที่เป็นของเก่าของแก่จึงทำให้พระพิมพ์ที่ทำออกมานั้นมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับของเก่ามากทีเดียว เมื่อกดดินลงกับแม่พิมพ์จนดินขึ้นเป็นรูปแล้ว ก็นำออกมาใส่ถาดพึ่งลมไว้ในร่มประมาณจนแห้ง และนำออกตากแดดให้แห้งสนิทต่อด้วยการนำพระไปเผาที่เตาประมาณ ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งจะต้องคอยเติมถ่าน และควบคุมไม่ให้ไฟแรงเกินไป ครบกำหนดเวลาแล้วก็นำพระออกจากเตา นำมาวางเรียงเพื่อใส่รา ใส่คราบพระ สุดท้ายให้นำใบตองแห้งของกล้วยน้ำว้ามาขัด ก็จะได้พระเครื่องนครชุมที่ดูคล้ายของเก่าแก่ พระเครื่องหรือพระพิมพ์ ที่ได้มานั้น ทำให้คนรุ่นปัจจุบันได้ศึกษาตั้งแต่ความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อน จนมาถึงกระบวนการทำพระในสมัยนี้ ที่ยังคงความงามตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนชาวไทย และยังเป็นการสืบสานพุทธศิลป์ที่สวยงามนี้ไว้ต่อไป โดยในปัจจุบันมีคุณดวงรัตน์ พะยอม เป็นผู้สอนและถ่ายทอดกระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินให้กับที่แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม
         แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ได้มีขั้นตอนการพิมพ์พระได้แก่การทำพระพิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (ดวงรัตน์ พยอม. สัมภาษณ์. 25 มิถุนายน 2561) ในกระบวนการทำพระเครื่องนั้นจะแบ่งขึ้นตอนการทำเอาไว้อยู่ 5 กระบวนการหลักๆ ดังนี้
         1. กระบวนการเตรียมดิน
         2. กระบวนการพิมพ์พระ
         3. กระบวนการผึ่งและตากพระ
         4. กระบวนการเผา
         5. กระบวนการใส่รายละเอียดพระ 

ตารางแสดงการเปรียบเทียบขั้นตอนในการทำพระเครื่องพิมพ์ดินเผาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 

ขั้นตอนการทำพระพิมพ์เล็ก

ขั้นตอนการทำพระพิมพ์ใหญ่

- ทุบดิน (หมักไว้ 1 คืน)

- ทุบดิน (หมักไว้ 1 คืน)

- นำดินมานวดให้นิ่ม (ไม่เหลวหรือแข็งเกินไป)

- นำดินมานวดให้นิ่ม (ไม่เหลวหรือแข็งเกินไป)

- โรยแป้งที่แม่พิมพ์พระ

- โรยแป้งที่แม่พิมพ์พระ

- นำดินมากดที่แม่พิมพ์พระ

- นำดินมากดที่แม่พิมพ์พระ

- นำพระออกจากแม่พิมพ์พระมาใส่ถาด

- นำพระออกจากแม่พิมพ์พระมาใส่ถาด

นำพระมาผึ่งลมในร่มประมาณ 2 วัน

- นำพระมาผึ่งลมในร่มให้แห้งสนิทประมาณ 15 วัน

- นำพระมาตากแดดจนแห้งสนิท

- นำพระมาตากแดดจนแห้งสนิทประมาณ 3 วัน

- นำพระไปเผาที่เตา และคอยเติมถ่าน ประมาณ 24 ชั่วโมง

- นำพระไปเผาที่เตา และคอยเติมถ่าน ประมาณ 24 ชั่วโมง

- นำพระออกจากเตา

- นำพระออกจากเตา

- นำพระมาเรียงใส่รา และใส่คราบพระ

- นำพระมาเรียงใส่รา และใส่คราบพระ

- นำใบตองแห้งมาขัดพระ (ใช้ใบตองจากต้นกล้วยน้ำว้า)

- นำใบตองแห้งมาขัดพระ (ใช้ใบตองจากต้นกล้วยน้ำว้า)

  1. กระบวนการเตรียมดิน
    ในการเตรียมดินนั้นจะต้องเตรียมดินโดยการทุบดินและหมักดินทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืน อาจเก็บไว้โดยใส่ในถุงพลาสติกปิดให้มิดชิดไม่ให้อากาศเข้า เพราะอากาศจะทำให้ดินแห้งและไม่สามารถนำมาใช้ในการทำพระเครื่องได้ เมื่อจะนำมาใช้ในการทำพระเครื่องให้นำดินออกมาจากถุงและนำมานวดให้นิ่ม การนวดดินต้องนวดให้พอประมาณ การนวดนานเกินไปจะทำให้ดินนิ่มหรือเหลวเกินไป ถ้านวดน้อยเกินไปก็จะทำให้ดินแข็ง ลักษณะดินอ่อนดินแข็งจะใช้ในการทำพระเครื่องที่มีพิมพ์ที่แตกตางกันออกไป บางพิมพ์จะต้องการใช้ดินที่นิ่ม บางพิมพ์จะต้องการใช้ดินที่แข็ง
  1. พิมพ์พระ
    พิมพ์พระที่มีอยู่ในแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์พระที่ได้แม่พิมพ์มาจากพระแท้ ดังนั้นความสวยงาม ความเหมือนจริงของพิมพ์จึงมีความสมบูรณ์ใกล้เคียงกับพระแท้มาก โดยพิมพ์พระแบบดั้งเดิมจะเป็นพิมพ์ดินเผา แต่ในปัจจุบันมีการใช้แม่พิมพ์ที่ทำจากเรซิ่นมากขึ้น เนื่องจากทำง่ายและดูแลรักษาง่ายกว่าแม่พิมพ์ดิน
  1. การโรยแป้ง
    การโรยแป้งลงบนแม่พิมพ์พระก่อนจะเป็นการช่วยให้เนื้อดินไม่ติดกับไม่พิมพ์ ทำให้ตอนที่แกะดินออกจากพิมพ์ทำได้ง่ายขึ้น ยิ่งดินที่นิ่มเกินไปจะติดแม่พิมพ์ได้ง่าย ทำให้แกะออกจากพิมพ์ยาก หรือแกะออกมาแล้วมีส่วนที่เสียหาย โดยแป้งที่นำมาโรยจะให้ผ้ามาหุ้มไว้แบบลูกประคบ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและควบคุมแป้งได้ง่ายขึ้น
  1. การกดพระ
    การกดพระเป็นหัวใจสำคัญในการทำพระเครื่องพิมพ์ดินเลยก็ว่าได้ การกดที่ออกแรงมากจนเกินไป จะทำให้ดินกดกับแม่พิมพ์มากเกินจนรายละเอียดที่ได้แตกไม่สวย ในทางกลับกันถ้าออกแรงกดน้อยเกินไป ดินก็จะสัมผัสกับแม่พิมพ์เพียงผิวเผินทำให้รายละเอียดที่ได้ขาดความคมชัดไป การกดพระจะเริ่มจากการวางดินที่นวดแล้วลงบนแม่พิมพ์และเริ่มกดดินจากส่วนบนไล่ลงล่าง เนื้อดินที่เหลือก็จะทำการดึงออกจากพิมพ์ ดังนั้นก่อนการกดดิน ควรกะขนาดและปริมาณของเนื้อดินที่จะกดให้พอดีกับแม่พิมพ์ด้วย เมื่อกดพระเสร็จก็จะเป็นขั้นตอน ในการดึงพระออกจากพิมพ์ โดยการใช้ดินก้อนเล็ก ๆ แตะบริเวณด้วนหลังของพระและดึงออกมาจากแม่พิมพ์ตรง ๆ เมื่อดึงขึ้นมาขอบพระ ผิวพระอาจจะมีส่วนที่บิดงอไม่สวย หรือรายละเอียดเสียไปเล็กน้อยก็ใช้วิธีการเอานิ้วจุ่มน้ำมาทำการลูบเก็บบริเวณขอบของพระให้เนียนเรียบเสมอกัน ส่วนด้านหลังพระที่ไม่เนียนเรียบก็ใช้วิธีการกระแทกพระลงกับ พื้นโต๊ะเบาๆเพื่อให้ด้านหลังนั้นเรียบเสมอกัน
  1. การตากพระ
    เมื่อดึงพระออกจากพิมพ์และตกแต่งรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นขั้นตอนของการตากพระให้แห้งโดยมีข้อห้ามคือ ห้ามนำพระที่ออกจากพิมพ์ใหม่ๆไปตากแดดเป็นอันขาดเพราะความร้อนจะทำให้ดินแห้งไวเกินไปและทำให้เกิดรอยร้าวรอยแตกได้ ให้นำพระที่ได้ตากร่มไว้ในร่มไม่ให้โดนแดดตรงๆประมาณ 2 วัน สำหรับพระพิมพ์เล็กหรือพระที่มีความหนาไม่มาก ส่วนพระพิมพ์ใหญ่หรือพระที่มีความหนามากต้องใช้เวลาในการตากลมประมาณ 15 วัน เพื่อให้ด้านในของพระแห้งสนิทจริง ๆ และเหลือความชื้นน้อยที่สุดจึงค่อยนำไปตากแดดอีกประมาณ 1-3 วัน เพื่อให้พรแห้งสนิทก่อนนำไปเผา
  1. การเผาพระ
    ในการเผาพระจะใช้ระยะเวลาในการเผ่าประมาณ 24 ชั่วโมง โดยการเผาจะใช้เตาเผาแต่เติมเชื้อเพลิงหรือถ่านเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ความร้อนสม่ำเสมอ พระที่ถูกความร้อนพอดีจะเป็นสีส้ม ส่วนที่โดนขี้เถ้าคลุมไว้จะกลายเป็นสีดำ ดังนั้นจึงต้องคอยดูปริมาณขี้เถ้าในเตาให้ดีด้วย พระที่ไม่แห้งสนิท หรือบางมากเกินไป เมื่อโดนความร้อนมากอาจมีการระเบิดเสียหายเกิดขึ้นได้
  1. การใส่รา ใส่คราบ และการขัดใบตอง
    เมื่อนำพระออกจากเตาแล้วก็เป็นขั้นตอนของการทำพรให้ดูเหมือนพระเก่าโดยมีเทคนิคในการทำให้พระดูเก่าอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอนคือ การใส่ราและการใส่คราบ และการขัดพระด้วยใบตองกล้วนน้ำว้าจะทำให้พื้นผิวของพระเป็นเงาขึ้นมา

สีของพระเครื่องเมืองกำแพง
         สีของพระเครื่องกำแพงเพชรมีหลายสี แต่พระเครื่องที่ปรากฏเป็นสีต่าง ๆ นั้นน่าจะมาจากสีของว่านเกสรและผงต่าง ๆ เช่นสีแดง ของว่านดอกมะขาม สบู่เลือด และอื่น ๆ สีเหลืองของดอกไม้นานาชนิด สีดำของผงใบลานเผา สีขาวจากผงพระพุทธคุณ และ ว่านบางชนิด จึงทำให้เกิดพระเครื่องสีต่าง ๆ ขึ้น ตามแต่จะมีส่วนผสมว่านหรือเกสร หรือผงอะไรมาก ก็ดูออกเป็นสีนั้น ๆ มาก เช่น
         สีแดง มีทั้งแดงจัด (คล้ายสีครั่ง) แดงชมพู (แดงปนขาว) แดงหม้อใหม่ (แดงปนเหลือง) แดงคล้ำ (แดงปนดำ)
         สีดำ มีทั้งดำจัด (แบบเนื้อผงใบลาน) เทาดำ (ดำปนขาว) ดำม่วง(ดำปนแดง) จะมีคล้ายสีหว้าหรือดอกมะเขือเข้ม ๆ
         สีเหลือง มีทั้งสีเหลืองเกสรดอกไม้ (สีพิกุลแห้ง) เหลืองจำปา (เหลืองปนแดง) เหลืองอ่อนสำหรับเหลืองปนดำ ทำให้เกิดสีที่สวยงามอีกสีหนึ่งคือ สีเขียว
         สีเขียว มีทั้งสีเขียวมอย (เขียวเทาๆ) และเขียวแก่ เป็นสีของว่าน ที่ผสมลงในเนื้อดิน

บทสรุป
         กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินที่ทำขึ้นและถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นที่แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมแห่งนี้ เป็นการทำขึ้นเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องของการศึกษาและให้ความรู้มากกว่าผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจ การทำพระและกรรมวิธีในการทำพระต่าง ๆ เป็นการทำเพื่อให้พระเครื่องดูเหมือน  พระเก่า ซึ่งอาจมีคนเข้าในผิดคิดว่าแหล่งเรียนรู้แห่งนี้สอนการทำพระปลอม แต่วัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้ต้องการเพียงเพื่อต้องการแสดงให้เห็นกรรมวิธีการโบราณ ภูมิปัญญาในการทำพระเครื่องแบบโบราณเท่านั้น

คำสำคัญ : พระเครื่อง นครชุม

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title==กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดิน_ของ_แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2081&code_db=610007&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2081&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่นับว่าเป็น "ของดีของเมืองกำแพง" ที่ชาวบ้านปลูกกันมานับร่วมร้อยปี จนกลายเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และผูกพันกับประเพณีวิถีชีวิตของคนกำแพงมายาวนาน ทั้งงานบุญ งานสารทไทยกล้วยไข่ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการกินกระยาสารทของคนกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรปลูกกล้วยไข่กันมากในแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากทั้งดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีเอกลักษณ์โดดเด่น

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 2,097

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

บ้านที่มีอายุกว่า 120 ปี และยังรักษาสภาพเดิมๆ ไว้ได้กว่าร้อยละ 80 คือ บ้านครูมาลัย ชูพินิจ อยู่ปากซอยชากังราว อยู่เลยวัดพระบรมธาตุมาทางนครชุมเล็กน้อย ตามถนนสายหน้าเดิม ติดกับคลองสวนหมาก โดยหันหน้าออกไปทางคลองสวนหมาก และแม่น้ำปิง ครูมาลัยเป็นบุตรของกำนันสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ กำนันตำบลปากคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เดิมกำนันสอนตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกันกับบ้านหลังนี้ บ้านหลังนี้เป็นฉากสำคัญในนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,187

เสื้อลายดอก

เสื้อลายดอก

การสวมเสื้อลายดอกเป็นเอกลักษณ์สำคัญของภาคกลาง ในเทศกาลสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดกำแพงเพชร มีเอกลักษณ์การสวมเสื้อผ้าลายดอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเทศกาลสำคัญประจำเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร ด้วยเหตุดังกล่าว เสื้อลายดอกและผ้าไทย จึงเป็นที่น่าสนใจของทุกสถาบันพากันสวมเสื้อลายดอกกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ทั้งระบบสถาบันและชาวกำแพงเพชร นิยมที่จะสวมใส่เสื้อลายดอกและผ้าไทยกันทุกรุ่นทุกวัย ทำให้กิจกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าลายดอกที่กำแพงเพชรจึงมีหลายร้าน ที่น่านิยมและสนใจ

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,596

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ”  โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 1,427

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

ที่วัดโขมงหัก หมู่ที่ 13 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านได้รวมกลุ่มกัน เพื่อทำยาอมมะขามป้อมเพชร เพื่อใช้รักษาบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้ไอ บำรุงกล่องเสียง แก้เสมหะที่ลำคอ แก้เสลดหางวัว ยาอมมะขามป้อมเพชร ประกอบไปด้วย มะขามป้อม มะขามเปียก ดอกดีปลี ดอกช้าพลู เกลือ น้ำตาล ที่ถูกนำไปตากแห้งและอบ จากนั้นนำมาเคี่ยวในกระทะที่ร้อนคลุกเคล้าให้เข้ากันใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,247

บายศรีเอกลักษณ์งานศิลป์ ถิ่นกำแพงเพชร

บายศรีเอกลักษณ์งานศิลป์ ถิ่นกำแพงเพชร

บายศรี มักจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นสำหรับวันสำคัญของชีวิต เช่น เมื่อเราเกิดจะมีพิธีช่วงขวัญเดือนสำหรับเด็กทารก เป็นพิธีผูกขวัญสำหรับเด็กทารกแรกเกิด บายศรีสู่ขวัญในการรับน้อง เมื่อเข้าสถานศึกษา เพื่อเป็นการเรียกขวัญที่คนไทยเชื่อว่า เมื่อเกิดมา เราจะมีเทพพิทักษ์ประจำตัว จำเป็นจะต้องทำพิธีเรียกหรือบอกกล่าวให้รับรู้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ประสบอุบัติเหตุ คนไทยจะนิยมทำพิธีเรียกขวัญเพื่อเรียกขวัญ(จิตใจ) ของผู้ประสบเหตุให้กับมาอยู่กับตัว เมื่อโตมาในช่วงวัยรุ่นก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ เราจะเห็นบายศรีในงานประเพณีบวชพระ ในช่วงที่ทำพิธีทำขวัญนาค โดยเฉพาะในพิธีการแต่งงานที่เป็นวันที่มีความสำคัญในชีวิตไม่แพ้วันอื่น ๆ ย่อมต้องมีพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตด้วยนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 3,288

เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์)

เรือนขุนทรงราชผล (พลี ศุภดิษฐ์)

บนถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่วัดเสด็จขึ้นมาจนถึงการประปากำแพงเพชร มีบ้านเรือนไทยเก่าแก่อายุนับร้อยปีจำนวนมาก เป็นโชคดีของกำแพงเพชรที่บ้านเหล่านี้เหลือจากไฟไหม้ใหญ่ที่กำแพงเพชร เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10 น. เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือน 

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,103

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,415

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,624

ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นพลับพลึง

ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นพลับพลึง

ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุมีลักษณะคล้ายรูปร่างดอกไม้ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากแรงงานฝีมือมนุษย์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์การผลิต โดยมีการใช้วัตถุดิบการผลิตจากธรรมชาติ หรือวัตถุดิบที่เกิดจากการสังเคราะห์มาผลิตโดยผ่านขั้นตอนการประดิษฐ์ ดัดแปลง อบ ย้อม เผา เคลือบสารเคมี รวมทั้งทำการตกแต่งตัดต่อเติม เพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม โดยดอกไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอาจจะมีความเหมือนหรือไม่เหมือนธรรมชาติก็ได้ขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้งาน โดยคุณสมบัติของดอกไม้ประดิษฐ์ที่สำคัญคือ มีความคงทน ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและดูแลรักษา มีความสวยงาม สามารถนำไปใช้ในการประดับในโอกาสต่างๆ 

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,071