พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 3,553

[16.4788815, 99.507962, พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม]

           วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม
           …พระยาลือไทราช ผู้เป็นลูกพระยาเลอไท เป็นหลานแก่พระยารามราช เมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย ได้ราชาภิเษกเป็นท้าวพระยาขึ้นชื่อศรีสุริยพงศ์ มหาธรรมราชาธิราช หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมปีนี้นั้น พระมหาธาตุอันนี้ใช้ธาตุอันสามานต์ คือพระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดายเอาทั้งพืช พระศรีมหาโพธิ์อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญขุนมาราธิราชได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้ามาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ ผิผู้ใดได้ ไหว้นบกระทา บูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตน พระเป็นเจ้าบ้างแล…ข้อความจากจารึกนครชุมที่คัดมาได้บอกประวัติความเป็นมาของวัดพระบรมธาตุได้ชัดเจนที่สุด เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มีอายุเก่าแก่กว่า 642 ปี คือตั้งแต่ ปี พ.ศ.1900 สมัยพระมหาธรรมราชิลิไทแห่งสุโขทัย วัดพระบรมธาตุเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุม เป็นวัดประจำเมืองเหมือนกับวัดพระแก้วประจำเมืองกำแพงเพชร วัดพระบรมธาตุขึ้นทะเบียนเป็นวัด เมื่อ พ.ศ. 1858 ในสมัยต้นกรุงสุโขทัยเมื่อตีความจากจารึกนครชุม วัดพระบรมธาตุควรจะสร้างเมื่อ พ.ศ. 1762 ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เจดีย์มหาธาตุเมืองนครชุมเดิมมีสามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง และพญาลิไท สร้างเป็นพุทธเจดีย์ประจำพระองค์วัด พระบรมธาตุเจริญรุ่งเรืองมากว่า 200 ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลายตามกฎแห่งอนิจจัง เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองนครชุมพังพินาศ ทำให้ความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไป จากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออกคือเมืองกำแพงเพชรได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่      
              วัดพระบรมธาตุร้างมากว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2342 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จ ได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ที่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชร พระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้องให้ประชาชนแผ้ว ถาง พบเจดีย์ตามจารึกจริงและปฏิสังขรณ์ขึ้น
              จากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 2449 ทรงบันทึกถึงวัดพระบรมธาตุไว้ว่า……ครั้งแรกที่ได้พบเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุและพระพิมพ์เหล่านี้เดิม ณ ปีระกา เอกศกจุลศกัราช 1211 (พ.ศ. 2342) สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง กรุงเทพขึ้นมาเยี่ยมญาติ ณ เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านแผ่นจารึกอักษรไทย ที่ประดิษฐานอยู่ ณ อุโบสถวัดเสด็จได้ความว่ามี พระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก ตรงข้ามเมืองเก่า 3 องค์ ขณะนั้นพระยากำแพง (น้อย) ผู้ว่าราชการเมือง ได้จัดการค้นคว้าพบวัดและเจดีย์สมตามอักษรในแผ่นศิลา จึงป่าวร้องบอกบุญราษฎรช่วยกันแผ้วถางและปฏิสังขรณ์ขึ้น เจดีย์ที่พบมี 3 องค์ใหญ่ ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุชำรุดบ้างทั้ง 3 องค์…
             จากหลักฐานบันทึกการตรวจการณ์คณะสงฆ ์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 ของสมเด็จพระ มหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ว่าเสด็จทอดพระเนตรโบสถ์ โบสถ์เล็กเตี้ย ฝาผนังตึกในโบสถ์ไม่มีพระประธานเมื่อทรงสักการะแล้ว ดำรัสสั่งให้พระครูเมธีคุณานุรักษ์เชิญพระพุทธรูปที่บ้านโคน องค์ที่ทรงเลือกมาประดิษฐาน ณ อุโบสถนี้จากหลักฐานที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือว่า ด้วยระยะทางล่องลำน้ำปิง ดังนี้กลับมาแวะที่วัดมหาธาตุ ถามพระครูถึงเรื่องศิลาจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไท คือ ศิลาจารึก หลักที่ 3 จารึกเมื่อ พ.ศ. 1900 ซึ่งอยู่ในหอสมุดฯ ทราบว่าได้ไปจากเมืองกำแพงเพชรแต่ยังไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด ได้ทราบจากพระครูชัดเจนว่า ศิลาจารึกแผ่นนั้นเดิมอยู่ที่วัดมหาธาตุแห่งนี้เอง ตั้งอยู่ที่มุขเด็จวิหารหลวง ภายหลังผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชรเอาไปรักษาที่วัดเสด็จแล้วจึงส่งลงไปกรุงเทพ พระครูได้พาไปดูฐานที่ตั้งศิลาจารึกแผ่นนั้นยังอยู่ที่มุขเด็จ เป็นศิลาแลงแท่งใหญ่ พิเคราะห์ดู ช่องพอได้กับขนาดศิลาจารึกแผ่นนั้น พระมหาธรรมราชาลิไททำไว้ที่วัดนี้และเมืองนี้ครั้งสมัยสุโขทัย เรียกว่าเมืองนครชุมไม่มีที่สงสัย วิหารหลวงหลังนี้เป็นวิหารเก้าห้อง ก่อด้วยแลงมีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงทั้งแท่ง พระครูบอกว่าเดิมกำแพงชำรุด หักพัง ก้อนศิลาแลงกองเกลื่อนกลาดอยู่ เมื่อซ่อมพระมหาธาตุ ผู้ซ่อมเอาช้างลากก้อนแลงเหล่านั้นลงไปทิ้น้ำทำเขื่อนกันน้ำเซาะ ยังปรากฏจนทุกวันนี้
              องค์พระมหาธาตุนั้น พระครูบอกว่าฐานล่างเป็นศิลาแลง ส่วนพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐแบบอย่างเจดีย์สุโขทัย 3 องค์ อยู่กลางตรง ศูนย์กลางพระวิหารองค์หนึ่ง ต่อมาทางตะวันออกองค์หนึ่ง ทางตะวันตกวิหารองค์หนึ่งบนฐานใหญ่เดียวกัน อยู่มามีพม่าพ่อค้าไม้คนหนึ่งเรียกกันว่า “พระยาตะก่า” ขออนุญาตปฏิสังขรณ์พระมหาธาตุ ครั้งได้รับอนุญาตจากกรุงเทพแล้ว พม่าคนนั้นศรัทธาทำพระเจดีย์ใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม จึงรื้อองค์เดิมทิ้งเสียทั้ง 3 องค์ พระครูได้ทันเห็นแล้วจึงเอาเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์ใหม่ ซึ่งพม่าผู้ศรัทธานั้นสร้างตามพระเจดีย์พม่า ก็ไม่เห็นเจ้าเมืองห้ามปราม พระมหาธาตุเมืองกำแพงเพชร จนกลายเป็นพระเจดีย์พม่าอยู่จนบัดนี้ มีงานไหว้พระมหาธาตุเป็นงานประจำปีทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ จนถึง แรม 15 ค่ำ 
              หมายเหตุ พระยาตะก่า บูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุยังไม่แล้วเสร็จ พระยาตะก่าเสียชีวิตก่อน พะโป้ น้องชายได้บูรณะต่อมา โดยได้ไปนำยอดฉัตรจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่ามาประดิษฐ์ที่ยอดเจดีย์พระธาตุ โดยได้บริจาคเงินสร้างมากกว่าผู้ว่าราชการสมัยนั้น (เป็นเหตุให้รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสคลองสวนหมาก เพราะอยากพบ คหบดีที่บริจาคเงินจำนวนมากสร้างพระเจดีย์วัดพระบรมธาตุ) วัดพระบรมธาตุนครชุม มีหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆ ที่ชัดเจนแสดงให้เห็นเป็นวัดที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครชุมอย่างแท้จริง ปัจจุบันวัดพระบรมธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับการสถาปนาตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทานวุสิงคามสีมา ครั้งหลังเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเป็นศูนย์กลางการศึกษา พระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุและสามเณร

คำสำคัญ : พญาลิไท, วัดพระบรมธาตุนครชุม

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม. สืบค้น 8 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1300&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1300&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,141

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 2,655

กำแพงเพชร เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร เมืองก่อนประวัติศาสตร์

การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) 

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,225

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,196

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,719

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,591

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,206

เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร

เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองสัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,152

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,452

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,917