วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้ชม 1,194

[16.4569421, 99.3907181, วัดท่าหมัน]

ชื่อวัด : 
   
    วัดท่าหมัน

สถานที่ตั้ง :
     
  บ้านปากคลอง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา : 
         
        วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิด มาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็ เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี
        วัดท่าหมัน ไม่มีโบสถ์ มีแต่ศาลาขนาดใหญ่ หลังจากวัดท่าหมันร้าง ปัจจุบันรื้อไปไว้ที่วัดสว่างอารมณ์ ดัดแปลงแก้ไขให้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างศาลาอเนกประสงค์ วัดท่าหมันเคยมีโรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านประจำตำบลปากคลองเรียกกันว่า โรงเรียนวัดท่าหมันเมื่อวัดร้างจึงย้ายโรงเรียนมาอยู่ที่โรงเรียนบ้านนครชุมในปัจจุบัน วัดท่าหมันมีเจ้าอาวาสหลายรูป ที่รู้จักกันดีคือพระอาจารย์เณร (บุญมี ยศปัญญา) พระอาจารย์ปลั่ง วังลึก พระอาจารย์สวย อินจันทร์ พระอาจารย์ช่วย พระอาจารย์เขียนพระอาจารย์แก้ว ต่อมาวัดกลายเป็นวัดร้าง ด้วยสาเหตุหลายประการ ทำให้กลายเป็นวัดร้าง ต่อมาวัดท่าหมันได้ให้เช่าที่ดินสร้างเป็นอาคาร ร้านค้า บ้านเรือน ตลาดนครชุมบางส่วน ในขณะนี้ 
        ร่องรอยของวัดท่าหมัน เคยมีภาพถ่ายในอดีตซึ่งผู้เขียนเคยเห็นจากหีบโบราณของอาจารย์สนิม บุญหนัก ซึ่งปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยภาพแรกเป็นศาลาท่าน้ำของวัดท่าหมัน มีเด็กนักเรียนหญิง 8 คน อยู่ที่ท่าน้ำ เป็นเด็กนักเรียนของโรงเรียนประชาบาลวัดท่าหมัน สภาพของศาลาคงทรุดโทรมจะพังมิพังแหล่ ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นงานศพของนายส่างหม่อง ชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาทำกิจการค้าไม้ที่คลองสวนหมาก เมื่อเสียชีวิตประมาณ ปี พ.ศ. 2473 ทางญาติได้ตั้งบำเพ็ญการกุศลไว้ที่ศาลาวัดท่าหมัน ดูจากภาพถ่ายแล้วต้องเป็นพ่อค้าผู้ร่ำรวยอันดับต้น ๆ ของชุมชนคลองสวนหมาก
        ประวัติของวัดท่าหมันเท่าที่พอสืบค้นได้ เกิดจากชาวคลองสวนหมากที่ผ่านการต่อสู่กับโรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาตินานาประการ เมื่อร้อยกว่าปีก่อนได้กลับเข้ามาสู้ชีวิตด้วยความเสียสละและความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อท้องถิ่นจนสามารถสร้างบ้านเมืองสืบทอดต่อมา เมื่อชุมชนเจริญขึ้น และเห็นว่าวัดพระบรมธาตุอยู่ไกลไม่สะดวกในการไปทำบุญ จึงได้มีการรวบรวมทุนทรัพย์แล้วจัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นบริเวณกลางหมู่บ้าน ใช้เนื้อที่ประมาณ 4-5 ไร่ โดยมีพระอาจารย์ช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างวัด
        บริเวณของวัดมีท่าน้ำ เป็นทางขึ้นลงของล้อเกวียนและอยู่ใกล้กับต้นหมันใหญ่ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดท่าหมัน” โดยมีพระอาจารย์ช่วยได้ดูแลวัดจนมรณภาพ ด้วยคุณงามความดีของพระอาจารย์ช่วย ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันก่อสถูปเพื่อบรรจุอัฐิของท่านเอาไว้เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี บริเวณที่เป็นสถูปอยู่แถวกลางตลาดนครชุมซึ่งปัจจุบันถูกรื้อถอนออกไปหมดแล้ว ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ช่วย ได้มีพระอาจารย์แก้ว เข้ามาดำเนินการต่อโดยพัฒนาและขยายบริเวณวัดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านเลยเรียกว่าวัดเป็น “วัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์” และมีการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นเป็นหลังแรกของตำบลคลองสวนหมาก โดยใช้ศาลาของวัดเป็นอาคารเรียน
        พระเครื่องที่ได้จากกรุวัดท่าหมันนั้น มีจำนวนไม่มากนักจากที่พบเห็นจึงเป็นที่หวงแหนสำหรับผู้ที่ครอบครองเป็นอย่างยิ่งส่วนมากจะอยู่กับผู้มีฐานะที่ดี และเท่าที่รู้บางองค์บางพิมพ์โด่งดังแต่ลงเป็นกรุอื่นที่ดังและเป็นที่รู้จัก ไม่ได้ลงว่ากรุท่าหมัน ในเมื่อพระองค์นั้นๆ ขึ้นมาจากเจดีย์เก่าที่อยู่ที่บริเวณวัด ซึ่งพระที่ลงกรุนั้นจะมีผสมทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ยุคแรกๆืเป็นต้นมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีพระเครื่องของเมืองนี้ ที่อยู่กรุเดียวกัน อาจเป็นเพราะว่าเมื่อสร้างเจดีย์ที่วัดท่าหมันผู้คนได้นำพระกรุนานาชนิดมาประดิษฐานไว้ในเจดีย์วัดท่าหมัน จึงทำให้กรุวัดท่าหมันจึงมีพระที่หลากหลายมาก กรุแตกคนรุ่นนั้นเรียกว่ากรุวัดท่าหมัน คนรุ่นหลังไม่ทราบ จึงสันนิษฐานตามพระพุทธลักษณะเป็นกรุอื่นๆ ไป จะมีทั้งถึงยุคและไม่ถึงยุค 
        มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้ามาสัมภาษณ์ผู้เขียนบ่อยๆว่า วัดท่าหมันอยู่ตรงไหน หาไม่พบ วันนี้จึงถือโอกาสเล่าสู่กันฟัง ว่าวัดท่าหมันมีอยู่จริง แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว แม้แต่ต้นหมันที่ท่าน้ำ ก็อาจน้ำกัดเซาะโค่นไปแล้วเช่นกัน จึงเหลือเพียงตำนานวัดท่าหมันมาจนทุกวันนี้

คำสำคัญ : วัดท่าหมัน

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดท่าหมัน. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=1427

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1427&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,499

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,304

วัดสระแก้ว

วัดสระแก้ว

เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือ ระหว่างเส้นทางที่เข้าสู่เขตอรัญญิกของ เมืองกําแพงเพชร สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีเฉพาะฐานอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นอุโบสถเพียงหลังเดียว สร้างติดกับคลอง ส่งน้ำโบราณหรือที่เรียกว่าคลองท่อทองแดง เดิมจะมีคูน้ำล้อมรอบหรือที่เรียกว่าอุทกสีมา โดยน้ำจากคลองท่อ ทองแดงจะไหลเวียนรอบฐานอุโบสถ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,586

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,378

วัดสิงห์

วัดสิงห์

อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 3,186

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,470

วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,830

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,811

วัดซุ้มกอ

วัดซุ้มกอ

วัดนี้อยู่ริมถนน เมื่อผ่านไปจะเห็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดย่อมยอดหัก ซึ่งมองเห็นแต่ไกล โดยเฉพาะวัดนี้มีผู้พบพระพิมพ์เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายลักษณะตัว ก จึงเรียกว่าพระซุ้มกอ โบราณสถานของวัดนี้เป็นเจดีย์แบบทรงลังกายอดหัก มีคูน้ำล้อมรอบบริเวณอีกชั้นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,495

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,619