วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้ชม 2,689

[16.4928485, 99.4527812, วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)]

          วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน
          ๑ ได้จาริกธุดงค์มาปักกลดจำพรรษาอยู่ ณ บริเวณ เจดีย์โบราณสถานวัดช้าง โดยในช่วงดังกล่าวได้ปฏิบัติธรรมและเทศนาอบรมสั่งสอนพุทธศานิกชนแถบถิ่นนี้เป็นอย่างดี จนทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเลื่อมใสศรัทธา และได้อุปัฏฐากบำรุงท่านเป็นลำดับ ต่อมา จ.ส.อ. ศักดิ์ และนางสังเวียน เดชานนท์ มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินมอบถวายให้สร้างวัด และภายหลังมีผู้ซื้อที่ดินถวายเพิ่มเติมอีก รวมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น ๗๖ ไร่ ๑ งานเศษ
           ๒ จากนั้นได้เริ่มสร้างเสนาสนะที่พักอาศัย สาธารณูปการที่จำเป็นต่างๆ มีการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณรที่มาอยู่จำพรรษาที่วัดช้างแห่งนี้ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
           ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้ขออนุญาตสร้างวัด และเริ่มก่อสร้างอุโบสถ โดยได้รับความอุปถัมภ์จาก พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร และได้สร้างตำหนักทรงธรรม-สังฆราชานุสรณ์ เพื่อเตรียมรับเสด็จ พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อุฏฐายีมหาเถระ) ซึ่งได้เสด็จมาทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ ใน พ.ศ. ๒๕๑๓         
             พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฏฐายี) ได้ประทานชื่อจากวัดช้าง (เดิม) เป็น “วัดนาควัชรโสภณ” และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ มีพื้นที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๓๒ ถนนราชดำเนิน ๒ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จึงนับได้ว่า “วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)” เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แห่งแรกในจังหวัดกำแพงเพชร
            พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) เป็นพระสุปฏิปันโนรักษาข้อวัตรปฏิบัติตามแนวพระกัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ชาวจังหวัดกำแพงเพชร ให้ความเคารพนับถือท่านเป็นอันมาก นอกจากการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนโดยทั่วไปแล้ว ท่านยังได้จัดให้มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณรอีกด้วย ในขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาด้านสาธารณูปการต่างๆ ภายในวัด อีกทั้งได้ขยายวัดและสำนักสงฆ์ออกไปสู่ตำบลและอำเภอต่างๆ อีกหลายแห่ง ด้านการคณะสงฆ์ พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) ได้รับความเมตตาจากพระเถระผู้ใหญ่ให้การอุปถัมภ์สนับสนุน อาทิ พระธรรมจินดาภรณ์ (ทองเจือ จินฺตเถโร)       
              ๓ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม, พระอริยเมธี (ปฐม อุดมดี) และ พระราชมุนี (โฮม โสภโณ) วัดปทุมวนาราม ร่วมกับคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และอุบาสก อุบาสิกา ได้ร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างวัดและสำนักสงฆ์ขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรอีกหลายแห่ง จนสามารถตั้งเป็นเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร - พิจิตร (ธรรมยุต) โดย พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนาควัชรโสภณ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอจังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร (ธรรมยุต) เป็นองค์ปฐม         
             วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) ได้มรณภาพลงด้วยโรคกลัวน้ำ รวมสิริอายุ ๕๖ ปี ๓ เดือน นับว่าวงการคณะสงฆ์ได้สูญเสียพระสังฆาธิการที่มีความคิดริเริ่มพัฒนา และวางรากฐานของงานคณะสงฆ์ธรรมยุตในเขตภาคนี้ให้เป็นปึกแผ่นไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง   ต่อมา พระมหาสมจิตต์ อภิจิตฺโต กรรมการเลขานุการ มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นศิษย์ของพระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) ที่ไปพำนักจำ พรรษ าอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยความอุปถัมภ์สนับสนุนจากพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ พระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญฺญาราโม)๔ วัดบวรนิเวศวิหาร และ นายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้พาคณะญาติโยมผู้มีจิตศรัทธามาช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียนพระปริยัติธรรม อาคารที่พักพระภิกษุสามเณร อาคารหอสมุด และตำหนักสมเด็จพระสังฆราช เพื่อพัฒนาวัดให้เป็นสถานที่ศึกษา และปฏิบัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรให้เป็นที่สัปปายะยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังได้เปิดโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น เพื่ออบรมเยาวชนให้ได้รับความรู้ด้านศีลธรรม หลักธรรมตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา ตลอดจนจริยธรรมอันดีงาม และได้ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วชิรกุญชร มัธยม เพื่อการศึกษาวิชาสามัญศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรอีกด้วย และในช่วงเดียวกันนี้ พระครูโสภณธรรมวัชร์ (เฉลิม วีรธมฺโม)๕ ได้มาดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดนาควัชรโสภณ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พร้อมกับดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอจังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร (ธรรมยุต) สืบต่อจากพระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนาควัชรโสภณ ที่ได้มรณภาพลง         
             เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ในการพระราชทานเพลิงศพ พระครูนาควัชราธร (วิชัย ปสนฺโน) และเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอาคารสมเด็จพระญาณสังวร หอสมุดสมเด็จพระญาณสังวร และตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ต่อมาได้มีการปรับปรุงบริเวณพื้นที่และก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่างภายในวัดนาค วัชรโภณ เป็นลำดับ คือ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มหาราชินี, พ.ศ. ๒๕๓๖ ก่อสร้างอาคาร ๘๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราช วิหารพระไพรีพินาศ, อาคารที่พักพระภิกษุ-สามเณร เป็นต้น รวมงบประมาณการพัฒนาด้านสาธาณูปการ และการจัดการศึกษาแผนกต่างๆ ของสำนักเรียนวัดนาควัชรโสภณ ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โดยการบริจาคร่วมของพุทธศาสนิกชน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖๐,๔๗๗,๔๗๖.- บาท (หกสิบล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยเจ็ดสิบหกบาทถ้วน)         
             ปัจจุบัน วัดนาควัชรโสภณ ใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม แผนกบาลี แผนกสามัญศึกษา และยังเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สำหรับเยาวชน แห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นสำนักเรียนที่ใช้เป็นสถานที่สอบธรรมชั้นนวกะภูมิและสอบธรรมสนามหลวง สำหรับพระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุติกนิกายมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ในเขตนี้อีกด้วย จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดอุทยานการศึกษา และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดนาควัชรโสภณ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
             พ.ศ. ๒๕๔๒ พระจันทโคจรคุณ (เฉลิม วีรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดนาควัชรโสภณ ได้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ เป็น เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร-พิจิตร-พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์-ตาก (ธรรมยุต)
             พ.ศ. ๒๕๔๓ พระจันทโคจรคุณ (เฉลิม วีรธมฺโม) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ที่ “พระราชสารโมลี” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๓

ภาพโดย : http://www.panoramio.com/photo/11408268

 

คำสำคัญ : วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

ที่มา : https://www.web-pra.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง). สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=275&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=275&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านวังโบสถ์ มีสภาพที่ทรุดโทรมมาก เห็นเพียงเนินดินและพระพุทธรูปโกลนศิลาแลงปรักหักพังอยู่บนฐานแลง สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างราวพุทธศักราช 1900 หลักฐานการค้นพบ จากคำบอกเล่าของนายเย็น รอดโต ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า เมื่อประมาณพุทธศักราช 2504 ได้ซื้อที่ดินบริเวณวังโบสถ์ และได้มาหักร้างถางพง พบว่าเนื้อที่ที่ซื้อไว้ มีวัดเก่าสมัยโบราณอยู่ในบริเวณที่ดินด้วย พบเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพบพระพุทธรูปเก่าแก่

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,032

 วัดดงหวาย

วัดดงหวาย

วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,872

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,465

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 1,896

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,425

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,165

วัดอาวาสใหญ่

วัดอาวาสใหญ่

เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า “บ่อสามแสน” และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,072

วัดวังอ้อ

วัดวังอ้อ

วัดวังอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นใจกลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านวังอ้อ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล แรกเริ่มก่อตั้งเป็นที่พักสงฆ์ ในสมัยหลวงปู่แดง ท่านธุดงค์มาเร่ิมเกิดเป็นวัดเต็มรูปแบบเมื่อปีพุทธศักราช 2512 คือวัดวังอ้อ มาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีพระอธิการ ปัญญา ประภัสสะโร เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ จำนวน 4 รูป ในวัดมีพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ กุฏิ 6 หลัง วิหาร 1 หลัง เมรุ  1 หลัง ศาลาธรรมสังเวช 1 หลัง นอกจากนี้วัดวังอ้อยังเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธอีกแหล่งหนึ่งของตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,332

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,147

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดกรุสี่ห้อง โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏโบราณสถานอยู่ทั่วไป รวมถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,051