วัดรามรณรงค์
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 1,839
[16.4969438, 99.440908, วัดรามรณรงค์]
ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์ น่าแปลกใจที่ชื่อของวัดดูเป็นทางการกว่าทุกวัด มิใช่ชื่อที่ ชาวบ้านเรียก แต่เป็นชื่อที่ราชการตั้ง วัดรามรณรงค์เป็นวัดขนาดกลางที่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้ว
คำว่ารามรณรงค์ มาจากชื่อของเจ้าเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยาแล้ว เพราะผู้มาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกท่าน ต้องได้รับพระราชทานทินนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม รามภักดี พิริยพาหุปรากรม จนกระทั่งถึงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับว่า เกือบ 600 ปี ที่เจ้าเมืองกำแพงเพชร ใช้นาม พระยารามรณรงคสงคราม มาโดยตลอด วัดแห่งนี้จึงได้รับนาม ตามชื่อของพระยารามรณรงค์ แต่ไม่มีหลักฐานว่า พระยารามรณรงค์ สร้างวัดนี้ เพราะขนาดของวัดที่เป็นวัดขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับวัดอื่นๆ ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
วัดรามรณรงค์ ด้านหน้ามีวิหารที่งดงาม ลงตัวร่องรอยของการก่อสร้างวิหารยังอยู่ชัดเจน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดเหมาะสมงดงาม พระประธานหายไปเหมือนกับทุกวัด ด้านหลังของฐานพระประธาน มีพระพุทธรูปโกลนศิลาแลง ที่นำลงมาจากฐานประธาน นั่งเรียงรายอยู่ แต่ละองค์ไม่ครบชิ้นส่วนมีส่วนสำคัญที่ถูกทำลายหายไปหมดสิ้น ด้านหลังเป็นเจดีย์ประธานที่งดงาม ตามแบบสถาปัตยกรรมของเมืองกำแพงเพชร ขนาดกำลังดี เหมาะกับพื้นที่ก่อสร้างและวิหารที่งดงามและลงตัว ระหว่างวิหารกับเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายที่ก่อสร้างขนาดใหญ่เกือบเท่าเจดีย์ประธาน ยืนยันจากการก่อสร้าง มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างภายหลัง คาดว่าอาจเป็นที่ เก็บอัฐิ แห่งพระยารามรณรค์สงคราม ท่านใดท่านหนึ่ง จึงเป็นที่มาของชื่อก็ได้
เจดีย์รายที่วัดรามรณรงค์ มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดใหญ่มาก จนถึงขนาดใดมายืนยันได้ หลักฐานจาก เขตสังฆาวาส ไม่มีหลักฐานให้เห็นเลย แสดงว่าถูกไถกลบเมื่อคราวขุดแต่งจนหมดสิ้น หรือถูกทำลายในคราวขุดค้น ของประชาชน ในยุคกว่าร้อยปีที่ผ่านมา
วัดรามรณรงค์มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และน่าสนใจแม้เป็นวัดขนาดเล็กแต่ก็น่าสนใจไม่แพ้วัดขนาดใหญ่ทั่วไป มีโอกาสมาชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองมรดกโลก
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
ภาพโดย : https://ttspace.wordpress.com/2012/12/17/
คำสำคัญ : วัดรามรณรงค์
ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NU.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดรามรณรงค์. สืบค้น 14 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=290&code_db=610009&code_type=01
Google search
วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,866
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,395
ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,661
อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,921
มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 9,597
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,299
เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,473
วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์ เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,213
วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,393
วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,382