วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,893

[16.5024434, 99.447102, วัดเจดีย์กลม]

            บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองมรดกโลกในเขตอรัญญิกที่มีวัดขนาดน้อยใหญ่เรียงรายติดต่อกันราว40วัดแต่ละวัดล้วนก่อสร้างด้วยศิลาแลงที่เป็นภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชรและผู้คนที่มาเที่ยวชมพากันมหัศจรรย์ใจว่าสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมที่หลากหลายล้วนมีความเป็นกำแพงเพชร คือเอกลักษณ์ที่เด่นเฉพาะตัวสมเป็นเมืองมรดกโลก
            วัดเจดีย์กลม เป็นที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกันทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลมอาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใดวันนี้ไปสำรวจอย่างใกล้ชิดและละเอียด พบว่าวัดเจดีย์กลมมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากทุกวัด เท่าที่เคยสำรวจมาแล้ว ทั้งนครชุม นครไตรตรึงษ์และกำแพงเพชรเกือบร้อยวัดยังไม่พบสถาปัตยกรรมใดเหมือนวัดเจดีย์กลม ด้านหน้าของวัดหันไปทางทิศตะวันออกตามแบบฉบับทั่วไปของวัดทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ฐานวิหารมีการก่อสร้างสองชั้น ชั้นแรกสูงประมาณเกือบสองเมตรยังมองเห็นแนวก่อสร้างอย่างชัดเจนและลงตัวทั้งสองด้านของพระวิหารมีบันไดขึ้นทั้งสองด้าน ร่องรอยเป็นบันไดที่ไม่ใหญ่โตนักเมื่อเปรียบกับขนาดวิหาร ด้านหน้ามีลานกว้าง ราว100 ตารางเมตร ถัดขึ้นไป มีการก่อสร้างวิหารอีกชั้นหนึ่งสูงราว 1 เมตร มีระเบียงและหลังคาด้านหน้าหลังบนพระมหาวิหารหน้าองค์พระประธาน มีร่องรอยการขุดพระ ที่ลึกกว่าสามเมตร กว้างกว่า หกเมตร นับว่าเป็นหลุมใหญ่ที่สุดเท่าที่พบ บริเวณฐานพระประธาน เจาะลึกลงไปกว่าสองเมตร พบเพียงแนวของฐานพระเท่านั้น พบหลักฐานใดๆเลยสิ่งที่นับว่าไม่เหมือนวัดใดเลยคือเจดีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับวิหารเท่าที่พบเราพบอยู่วัดเดียวคือวัดอาวาสน้อยที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่คล้ายกัน ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ที่ โดดเด่นของของวัดเจดีย์กลม คือฐานเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนฐานวิหารนั้น เป็นลักษณะกลมงดงามมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำศิลาแลงขนาดใหญ่มาก่อให้กลมกลึงนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ถัดจากฐานเจดีย์กลมขึ้นมา กลับไม่มีองค์เจดีย์ แต่เป็นลักษณะเหมือนการก่อห้องสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่บนเจดีย์ ยังมีหลักฐานที่เห็นได้ชัดนับว่าเป็นโบราณสถานที่ไม่เหมือนที่แห่งใดอาจสันนิษฐานได้หลายแนวทางควรที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีจะได้สืบค้นและหาความจริงกันต่อไปว่าทำไมเจดีย์ประธานวัดเจดีย์กลม จึงมีสัณฐานและสถาปัตยกรรมที่ ไม่เหมือนที่แห่งใดเลย ถัดไปจากเจดีย์กลม มีซุ้มพระขนาดเล็กอาจเป็นสิ่งก่อสร้างภายหลัง ถูกขุดทำลายไปเช่นกัน หลังซุ้มพระเป็นสิ่งก่อสร้างคล้ายศาลา ขนาดปานกลาง แต่เสาศิลาแลงเป็นการตัดศิลาแลงมาทั้งต้น มีทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และถูกขุดค้นทำลาย แทบไม่น่าเชื่อว่า เสาศิลาแลงขนาดใหญ่จะหักเป็นท่อนๆไปได้ทั้งๆที่น่าจะทำลายได้ยากยิ่งในบริเวณเขตสังฆาวาสพบบ่อน้ำขนาดกลางอยู่หนึ่งบ่อนอกนั้นเป็นป่าทึบไม่พบสิ่งก่อสร้างใดๆเลยวัดเจดีย์กลมมีอะไรหลายอย่างที่เราควรจะได้ศึกษาเปรียบเทียบภูมิปัญญากับสถาปัตยกรรมแล้วเราจะพบคำตอบที่น่าหลงใหลว่าเมื่อเจาะลึกลงไปในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแล้วจึงมีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ จนได้รับยกย่องเป็นเมืองมรดกโลก

             ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
            รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                        
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
            
อัตราค่ายานพาหนะ
                        
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
                        รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
                        รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
                        รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
                        รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0011&code_type=

คำสำคัญ : วัดเจดีย์กลม

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเจดีย์กลม. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=304&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=304&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดหมาผี

วัดหมาผี

วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,146

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือ วัดหนองพุทรา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,900

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 989

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิดมาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 1,218

วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,187

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,060

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,015

วัดกำแพงงาม

วัดกำแพงงาม

เป็นวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาจากทางวัดสิงห์แล้วให้ตรงไปตามทางจนเจอแยกให้ดูป้ายจะมีป้ายบอกว่าวัดกำแพงงามมาทางซ้ายตรงมาประมาณ 100-200 เมตร ก็จะถึงวัดกำแพงงาม  วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,911

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดในแห่งนี้ ที่น่าชมยิ่ง ไม่เหมือนวัดใดทุกแห่งในกำแพงเพชร คือมณฑปที่ขนาดใหญ่และงดงามที่สุด ในอดีตเมื่อมองภาพย้อนกลับไป วัดป่ามืดในจะงดงามน่าชม เหลือที่จะพรรณนา เมื่อมีโอกาสชมมณฑปของวัดป่ามืดใน จะประทับใจไปอีกนานแสนนาน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,422

วัดกะโลทัย

วัดกะโลทัย

ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ

 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,157