วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 4,876

[16.4754659, 99.4568595, วัดเสด็จ]

            วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้ วัดนี้แต่เดิมเขตวัดจะถึงริมแม่น้ำปิง ทางวัดได้เคยสร้างศาลาท่าน้ำถนนหน้าวัดคงจะไม่มี แต่จะมีทางสัญจรให้คนเดินผ่านหน้าวัดได้ ครั้นต่อมาเมื่อทางราชการได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งใหม่อยู่นอกตัวเมืองเก่าเพราะต้องอาศัยลำแม่น้ำปิง ครั้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นและเสด็จสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถานในเมืองเก่าด้วย พระวิเชียรปราการท่านเจ้าเมืองในสมัยนั้น ได้ขอที่ประชาชนรวมทั้งที่วัดเสด็จด้วยและได้ตัดถนนจากประตูเมืองเก่า (ประตูน้ำอ้อยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) เป็นเส้นตรงมาทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตรและต่อมาถนนนี้ได้รับพระราชทานนามว่า “ถนนราชดำเนิน” วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ 3 และตำนานพระเครื่อง เมืองนี้ทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)วัดระฆังและสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชต่างก็ได้เสด็จที่วัดนี้และได้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้ทั่วไปโดยเฉพาะการนับถือพระเครื่อง การไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาทคือมีประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ที่ชาวบ้านเรียกว่า ทำบุญเพ็ญเดือน 3 มีการทำบุญไหว้พระธาตุที่ตำบลนครชุมและไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกันในปี พ.ศ.2550
            วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึก และตำนานพระเครื่อง อีกทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จมายังวัดนี้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่นเรื่องราวพระเครื่องจากตำนาน การทำบุญไหว้พระธาตุไหว้พระพุทธบาทที่มีในจารึกนครชุมซึ่งถือเป็นประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 พระครูธรรมาทิมุตมุณี (กลึง) ได้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจำลองไว้และมีการบูรณะอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ปัจจุบัน มีพระอาจารย์เหว่า “พระครูสุทธิวชิรศาสตร์ เจ้าคณะตำบลในเมืองสระแก้ว เป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จ มีการปรับเปลี่ยนแปลงเเสนาสนะไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น และมีวัตถุมงคลยอดนิยมคือ พระบูชากำแพงสามขา ที่สร้างมาแล้วหลายรุ่นเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนที่มาเช่าบูชาเป็นมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว
             ส่วนรอยพระพุทธบาทจำลองของวัดเสด็จนั้น วัดเสด็จเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณ ทั้งยังเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ ๓ ตลอดจนตำนานพระเครื่อง ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่างก็ได้เคยเสด็จมาที่วัดนี้ ในปี พ.ศ.2449 เพื่อสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถาน ทำให้วัดนี้เป็นที่รู้จัก ทั่วไปในเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและตำนานต่างๆ จากตำนานการทำบุญไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาท มีประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบันที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทำบุญเพ็ญเดือน ๓” นั่นคือมีการทำบุญ ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม และไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกัน
            การเดินทาง จากถนนพหลโยธินเข้าเมืองกำแพงเพชร ถึงวงเวียนลานโพธิ์ เลี้ยวขวา เรียกว่าถนนราชดำเนิน 1 ขับตรงไปเรื่อยผ่านวัดเทพโมฬี จากนั้นสี่แยกที่ 2 เลี้ยวขวาเข้าซอยเทศา 1 ซอย 7 ถ้ามาจากสิริจัตอุทยานใช้ถนนเทศา 1 หน้าโรงแรมชากังราวริเวอร์วิวเป็นทางวันเวย์ขับตรงไปไม่ไกลวัดเสด็จอยู่ขวามือ

ภาพโดย : http://www.paiduaykan.com/travel/

คำสำคัญ : วัดเสด็จ

ที่มา : อาทิตย์ สุวรรณโชติ. (2562). วัดเสด็จ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/groups/254314207990910/ (เพจรักษ์กำแพง)

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเสด็จ. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=285&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=285&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 7,218

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,045

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,660

วัดกะโลทัย

วัดกะโลทัย

ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ

 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,521

วัดอุทุมพร

วัดอุทุมพร

วัดอุทุมพร ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 80 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 72 วา ติดต่อกับลำคลองสวนหมาก ทิศใต้ยาว 72 วา ติดต่อกับที่ดินของนายพูล สุวรรณดี ทิศตะวันออกยาว 40 วา ติดต่อกับที่ดินของนางเทอม ขำแนม ทิศตะวันตกยาว 40 วา ติดต่อกับคลองซอย และที่ดินของนายยม ป้อมภา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อยู่ริมคลองสวนหมาก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 58 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กฎีสงฆ์ จำนวน 4 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานรูปปั้น 1 องค์ (หลวงพ่อสัมฤทธิ์)

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,289

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,636

วัดหนองพิกุล

วัดหนองพิกุล

บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 4,307

วัดวังอ้อ

วัดวังอ้อ

วัดวังอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นใจกลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านวังอ้อ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล แรกเริ่มก่อตั้งเป็นที่พักสงฆ์ ในสมัยหลวงปู่แดง ท่านธุดงค์มาเร่ิมเกิดเป็นวัดเต็มรูปแบบเมื่อปีพุทธศักราช 2512 คือวัดวังอ้อ มาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีพระอธิการ ปัญญา ประภัสสะโร เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ จำนวน 4 รูป ในวัดมีพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ กุฏิ 6 หลัง วิหาร 1 หลัง เมรุ  1 หลัง ศาลาธรรมสังเวช 1 หลัง นอกจากนี้วัดวังอ้อยังเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธอีกแหล่งหนึ่งของตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,718

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 7,219

วัดกำแพงงาม

วัดกำแพงงาม

เป็นวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาจากทางวัดสิงห์แล้วให้ตรงไปตามทางจนเจอแยกให้ดูป้ายจะมีป้ายบอกว่าวัดกำแพงงามมาทางซ้ายตรงมาประมาณ 100-200 เมตร ก็จะถึงวัดกำแพงงาม  วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 3,093