วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้ชม 1,311

[16.4569421, 99.3907181, วัดท่าหมัน]

ชื่อวัด : 
   
    วัดท่าหมัน

สถานที่ตั้ง :
     
  บ้านปากคลอง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา : 
         
        วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิด มาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็ เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี
        วัดท่าหมัน ไม่มีโบสถ์ มีแต่ศาลาขนาดใหญ่ หลังจากวัดท่าหมันร้าง ปัจจุบันรื้อไปไว้ที่วัดสว่างอารมณ์ ดัดแปลงแก้ไขให้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างศาลาอเนกประสงค์ วัดท่าหมันเคยมีโรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านประจำตำบลปากคลองเรียกกันว่า โรงเรียนวัดท่าหมันเมื่อวัดร้างจึงย้ายโรงเรียนมาอยู่ที่โรงเรียนบ้านนครชุมในปัจจุบัน วัดท่าหมันมีเจ้าอาวาสหลายรูป ที่รู้จักกันดีคือพระอาจารย์เณร (บุญมี ยศปัญญา) พระอาจารย์ปลั่ง วังลึก พระอาจารย์สวย อินจันทร์ พระอาจารย์ช่วย พระอาจารย์เขียนพระอาจารย์แก้ว ต่อมาวัดกลายเป็นวัดร้าง ด้วยสาเหตุหลายประการ ทำให้กลายเป็นวัดร้าง ต่อมาวัดท่าหมันได้ให้เช่าที่ดินสร้างเป็นอาคาร ร้านค้า บ้านเรือน ตลาดนครชุมบางส่วน ในขณะนี้ 
        ร่องรอยของวัดท่าหมัน เคยมีภาพถ่ายในอดีตซึ่งผู้เขียนเคยเห็นจากหีบโบราณของอาจารย์สนิม บุญหนัก ซึ่งปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยภาพแรกเป็นศาลาท่าน้ำของวัดท่าหมัน มีเด็กนักเรียนหญิง 8 คน อยู่ที่ท่าน้ำ เป็นเด็กนักเรียนของโรงเรียนประชาบาลวัดท่าหมัน สภาพของศาลาคงทรุดโทรมจะพังมิพังแหล่ ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นงานศพของนายส่างหม่อง ชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาทำกิจการค้าไม้ที่คลองสวนหมาก เมื่อเสียชีวิตประมาณ ปี พ.ศ. 2473 ทางญาติได้ตั้งบำเพ็ญการกุศลไว้ที่ศาลาวัดท่าหมัน ดูจากภาพถ่ายแล้วต้องเป็นพ่อค้าผู้ร่ำรวยอันดับต้น ๆ ของชุมชนคลองสวนหมาก
        ประวัติของวัดท่าหมันเท่าที่พอสืบค้นได้ เกิดจากชาวคลองสวนหมากที่ผ่านการต่อสู่กับโรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาตินานาประการ เมื่อร้อยกว่าปีก่อนได้กลับเข้ามาสู้ชีวิตด้วยความเสียสละและความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อท้องถิ่นจนสามารถสร้างบ้านเมืองสืบทอดต่อมา เมื่อชุมชนเจริญขึ้น และเห็นว่าวัดพระบรมธาตุอยู่ไกลไม่สะดวกในการไปทำบุญ จึงได้มีการรวบรวมทุนทรัพย์แล้วจัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นบริเวณกลางหมู่บ้าน ใช้เนื้อที่ประมาณ 4-5 ไร่ โดยมีพระอาจารย์ช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการสร้างวัด
        บริเวณของวัดมีท่าน้ำ เป็นทางขึ้นลงของล้อเกวียนและอยู่ใกล้กับต้นหมันใหญ่ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดท่าหมัน” โดยมีพระอาจารย์ช่วยได้ดูแลวัดจนมรณภาพ ด้วยคุณงามความดีของพระอาจารย์ช่วย ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันก่อสถูปเพื่อบรรจุอัฐิของท่านเอาไว้เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี บริเวณที่เป็นสถูปอยู่แถวกลางตลาดนครชุมซึ่งปัจจุบันถูกรื้อถอนออกไปหมดแล้ว ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ช่วย ได้มีพระอาจารย์แก้ว เข้ามาดำเนินการต่อโดยพัฒนาและขยายบริเวณวัดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านเลยเรียกว่าวัดเป็น “วัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์” และมีการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นเป็นหลังแรกของตำบลคลองสวนหมาก โดยใช้ศาลาของวัดเป็นอาคารเรียน
        พระเครื่องที่ได้จากกรุวัดท่าหมันนั้น มีจำนวนไม่มากนักจากที่พบเห็นจึงเป็นที่หวงแหนสำหรับผู้ที่ครอบครองเป็นอย่างยิ่งส่วนมากจะอยู่กับผู้มีฐานะที่ดี และเท่าที่รู้บางองค์บางพิมพ์โด่งดังแต่ลงเป็นกรุอื่นที่ดังและเป็นที่รู้จัก ไม่ได้ลงว่ากรุท่าหมัน ในเมื่อพระองค์นั้นๆ ขึ้นมาจากเจดีย์เก่าที่อยู่ที่บริเวณวัด ซึ่งพระที่ลงกรุนั้นจะมีผสมทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ยุคแรกๆืเป็นต้นมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีพระเครื่องของเมืองนี้ ที่อยู่กรุเดียวกัน อาจเป็นเพราะว่าเมื่อสร้างเจดีย์ที่วัดท่าหมันผู้คนได้นำพระกรุนานาชนิดมาประดิษฐานไว้ในเจดีย์วัดท่าหมัน จึงทำให้กรุวัดท่าหมันจึงมีพระที่หลากหลายมาก กรุแตกคนรุ่นนั้นเรียกว่ากรุวัดท่าหมัน คนรุ่นหลังไม่ทราบ จึงสันนิษฐานตามพระพุทธลักษณะเป็นกรุอื่นๆ ไป จะมีทั้งถึงยุคและไม่ถึงยุค 
        มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้ามาสัมภาษณ์ผู้เขียนบ่อยๆว่า วัดท่าหมันอยู่ตรงไหน หาไม่พบ วันนี้จึงถือโอกาสเล่าสู่กันฟัง ว่าวัดท่าหมันมีอยู่จริง แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว แม้แต่ต้นหมันที่ท่าน้ำ ก็อาจน้ำกัดเซาะโค่นไปแล้วเช่นกัน จึงเหลือเพียงตำนานวัดท่าหมันมาจนทุกวันนี้

คำสำคัญ : วัดท่าหมัน

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดท่าหมัน. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1427&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1427&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,771

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,637

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,305

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,553

วัดหมาผี

วัดหมาผี

วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,330

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 9,031

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว

ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นแท่งๆ โดยรอบ

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 7,497

วัดพระธาตุ

วัดพระธาตุ

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,439

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,137

วัดกำแพงงาม

วัดกำแพงงาม

เป็นวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาจากทางวัดสิงห์แล้วให้ตรงไปตามทางจนเจอแยกให้ดูป้ายจะมีป้ายบอกว่าวัดกำแพงงามมาทางซ้ายตรงมาประมาณ 100-200 เมตร ก็จะถึงวัดกำแพงงาม  วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 3,048