โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้ชม 2,595

[16.529313, 99.4956354, โบสถ์ศิลาแลง]

บทคัดย่อ
         ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา มีองค์ประกอบ คือ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ และกุฏิ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ สามเณร เป็นศูนย์กลางสังคมของพุทธศาสนิกชน และเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมประเพณีในพระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งพุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้บูชา และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในพุทธศาสนา (พระครูสันติธรรมาภิรัต, 2557, หน้า 89) เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม และพระสงฆ์ซึ่งเป็นตัวแทนของวัดเป็นผู้นำของจิตใจของประชาชนเป็นศูนย์รวมแห่งความเชื่อถือการร่วมมือกัน เป็นที่ประกอบพิธีกรรม เป็นเบ้าหล่อหลอมวิถีชีวิตชาวพุทธไทย วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรม ที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง (ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม, 2556, น.72) สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
         จังหวัดกำแพงเพชร มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะกลุ่มแหล่งท่องเที่ยววัดในจังหวัดกำแพงเพชร มีวัดที่สำคัญและมีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น วัดพระแก้ว วัดพระสี่อิริยาบถ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดพระบรมธาตุนครชุม รอยะพระพุทธบาทจำลอง วัดเสด็จ หลวงพ่อโม้ วัดเทพโมฬี หลวงพ่อเพชร วัดบาง หลวงพ่อโต วัดคูยาง หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วัดในปัจจุบันเป็นศูนย์รวมของมรดกวัฒนธรรมและสรรพวิชาอันหลากหลายนับตั้งแต่โบราณกาล มีพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้อนุรักษ์สืบสาน และใช้ประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และกิจกรรมอื่นๆ ของชุมชน ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป บทบาทของวัดและพระสงฆ์ลดลงไปจากเดิม แต่กระนั้นวัดและพระสงฆ์ก็ยังปรับเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับสภาพสังคม โดยบทบาทหลักของวัดก็ยังคงเป็นสถานที่พำนักของพระสงฆ์สามเณร เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติธรรม สืบทอดและเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอน และยังมีฐานะเป็นแหล่งประดิษฐานและรวบรวมของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมทั้งที่เป็นโบราณสถานโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ตลอดถึงการเป็นศูนย์กลางในการประกอบประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน ดังนั้น วัดจึงมีบทบาทอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งของวัดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
         การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ จึงเป็นกระบวนการพัฒนาวัดในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยจะต้องเริ่มจากกระบวนการพัฒนาวัดให้เจริญ ทำให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านระบบการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาวัด เพิ่มการดูแลรักษาให้วัดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด จัดวัดให้ดูโปร่ง สบายตา ไม่รกทึบ และเป็นสถานที่สงบ ไม่มีเสียงอึกทึกครึกโครม ที่เป็นเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของวัด เพื่อให้เกิดศรัทธาแก่นักท่องเที่ยว โดยเริ่มจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ เป็นการเดินทางไปท่องเที่ยวยังศาสนสถาน เพื่อเยี่ยมชมหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นมัสการศาสนสถาน และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำบุญทำทานและการสาธารณกุศลต่างๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วย หรืออาจจะบำเพ็ญสาธารณกุศลในงานเทศกาลประเพณีต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ ประกอบการเรียนรู้ การสัมผัส การชื่นชมเอกลักษณ์ความงดงามทางวัฒนธรรม คุณค่าทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของกลุ่มชนอื่น (พระครูสังฆรักษ์วุฒิพงษ์ วุฑฒิวโส, 2560, น.90)

บทนำ
วัดหนองปลิง
         วัดหนองปลิง ตั้งอยู่บ้านคลองบางทวน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จากคำบอกเล่า เชื่อว่าบริเวณละแวกนี้เคยเป็นหนองน้ำและมีปลิงจำนวนมาก จึงทำให้คนในชุมชนเรียกขานนามว่า หนองปลิง วัดหนองปลิง ได้รับอนุญาตก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2540 โดยมีพระครูวิเชียรธรรมนาทหรือหลวงพ่อสีหนาท เป็นท่านเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก แต่เดิมสถานที่บริเวณวัดหนองปลิงแห่งนี้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้ง 2 พระองค์เคยใช้บริเวณนี้เป็นสถานที่พักรบและซ้อมรำดาบ รำทวน ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่าน ชื่อว่า “เมืองเนินทอง” ตามประวัติของวัดหนองปลิงจะมีที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนทางด้านหน้าของวัดหนองปลิง มีคลองน้ำยาวไปถึงศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จนทำให้ตลอดเส้นทางบริเวณนี้เกิดหมู่บ้านขึ้น และได้รับการขานนามตามประวัติศาสตร์ว่า “คลองรำดาบรำทวน” และต่อมาชาวบ้านก็ได้เรียกบริเวณนี้ว่า “คลองบางทวน” (เอ็มไทย, 2561, ออนไลน์) วัดหนองปลิง ตั้งอยู่ตั้งอยู่บนเนินเขา บริเวณหน้าวัดมีรูปปั้นพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์เดินรับบิณฑบาตตลอดเส้นทาง 
         ปัจจุบันวัดหนองปลิงได้การรับแต่งตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกำแพงเพชรแห่งที่ 2 (ดีเด่น) ภายในวัด ประกอบด้วย อาคารขนาดใหญ่สามชั้น ชั้นแรกเป็นห้องพักสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่ 2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนา (สันติ อภัยราช, 2560, ออนไลน์) 

โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง
         ศิลาแลง (Laterite) เป็นวัสดุธรรมชาติที่เกิดขึ้นบริเวณมรสุมเขตร้อน ซึ่งคนในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานแล้ว มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์รู้จักนำศิลาแลงมาบดผสมกับยางไม้ใช้เป็นสีในการวาดภาพตามถ้ำและหน้าผาหิน นอกจากนั้นคนในภูมิภาคนี้ได้นำศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างวัดและปราสาทหินดังที่พบเห็นในประเทศไทย กัมพูชา และลาว มีอายุย้อนหลังไปตั้งแต่ 700 – 1,000 ปี ที่ผ่านมา โดยทั่วไปจะพบเห็นศิลาแลงอยู่บนผิวดินหรือใต้ผิวดินเพียงเล็กน้อย ศิลาแลงจึงจัดเป็นตะกอนพื้นผิว ที่เป็นผลมาจากกระบวนการผุพังทางธรณีวิทยา และพบในประเทศที่อยู่ในมรสุมเขตร้อนเท่านั้น การผุพังในกระบวนการเกิดศิลาแลงส่วนมากเป็นการผุพังทางเคมี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสภาพ ของแร่ที่ประกอบอยู่ในหิน หรือในตะกอนที่สะสมตัวอยู่บริเวณนั้น ศิลาแลงจะมีโทนสีแดง แดงปนเหลือง แดงอมส้ม น้าตาลแดง และสีอิฐ เป็นต้น สีของศิลาแลงส่วนมากจะขึ้นอยู่กับปริมาณของเหล็กและแมงกานีสตามระยะเวลาที่เกิดการผุพังทางเคมี รวมทั้งปริมาณของธาตุอื่นที่ประกอบอยู่ในศิลาแลง เช่น อลูมิเนียม ปกติจะมีสีขาวแต่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำเมื่อผสมกับเหล็กซิลิกาจะมีสีแดงแบบสนิมเหล็กเมื่อผสมกับไฮดรอกไซด์ของเหล็ก (สิน สินสกุล, ม.ป.ป., ออนไลน์) ซึ่งสถานที่ที่สามารถพบศิลาแลง ได้แก่ บริเวณเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดอาวาสใหญ่ วัดซุ้มกอ วัดสิงห์ วัดกรุสี่ห้อง และบ่อศิลาแลงพรานกระต่าย เป็นต้น
         โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2557 โดยใช้หินศิลาแลงในการก่อสร้างทั้งหลัง ด้วยความตั้งใจของหลวงพ่อสีหนาท ท่านเจ้าอาวาสวัดหนองปลิง เพราะศิลาแลงเป็นวัสดุขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ดั่งคำขวัญจังหวัดท่อนหนึ่งว่า “ศิลาแลงใหญ่” โดยให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้แกะสลักศิลาแลงเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่มีความปราณีตและละเอียดทุกกระเบียดนิ้ว
         บริเวณด้านหน้าทางขึ้นประดับด้วยรูปปั้นของนาคี-นาคา เป็นผู้คอยปกปักรักษาโบสถ์ และรูปปั้นช้างทรงเครื่อง หน้าประตูทางเข้าโบสถ์ ประดับด้วยท้าวเวสสุวรรณ ส่วนผนังโบสถ์ด้านหลังสลักเป็นพระพุทธรูปปางเปิดโลก อิริยาบถยืนอยู่เหนือดอกบัว ข้างใต้พระพุทธรูปเป็นภาพนักษัตร 12 ราศี เปรียบเหมือนพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ ตลอดจนกำแพงรอบโบสถ์ก็ยังแกะสลักเป็นคติสอนธรรมและพุทธประวัติ รวมแล้วมีมากกว่าหนึ่งร้อยช่อง ภายในโบสถ์ ใช้ไม้ตะเคียนเนื้อแข็งแท้จากประเทศพม่าแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ทั้งหลัง

พระพุทธเจ้าเงินไหลมา
         พระพุทธเจ้าเงินไหลมา เป็นพระประธานภายในโบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง จังหวัดกำแพงเพชร มีรูปแบบศิลปะหมวดกำแพงเพชร แบบพระพุทธสิหิงค์ เนื้อเงินบริสุทธิ์ทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 32 นิ้ว หนักประมาณ 400 กิโลกรัม
         พระครูวิเชียรธรรมนาทเปิดเผยว่า พระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ มีรูปแบบศิลปกรรมแบบพระกำแพงเพชร หรือที่เรียกว่า สกุลช่างกำแพงเพชร โดยพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ตามตำนานล้านนาเล่าว่า เจ้าเมืองกำแพงเพชร ชื่อพระยาญาณดิศ (อำมาตย์ปัญญา) ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ในสมัยอยุธยา ได้นำพระพุทธสิหิงค์มาไว้ที่กำแพงเพชร เพื่อบูชาให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่สักการะของสมณชีพราหมณ์ และชาวเมืองกำแพงเพชร ภายหลังทางอยุธยาได้ขอพระพุทธสิหิงค์คืน โดยอ้างว่าพระยาญาณดิศนำพระพุทธสิหิงค์มาโดยไม่ได้บอกทางอยุธยา และพระยาญาณดิศจึงมีความประสงค์จะจำลองพระพุทธสิหิงค์ไว้ แต่ทางอยุธยาไม่อนุญาต จึงทำให้พระยาญาณดิศทั้งสมณชีพราหมณ์ และชาวเมืองกำแพงเพชร เสียใจเป็นอย่างมาก เพราะพระพุทธสิหิงค์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแต่ไม่ได้อยู่ที่กำแพงเพชรอีกต่อไป (สยามคเณศ, ม.ป.ป., ออนไลน์)
         ต่อมาในปี พ.ศ.2557 วัดหนองปลิง พร้อมทั้งผู้มีจิตศรัทธา สาธุชนทุกท่าน มีความปรารถนาและความตั้งใจหล่อพระซึ่งเป็นศิลปะหมวดกำแพงเพชร แบบพระพุทธสิหิงค์ ชื่อ "พระพุทธเจ้าเงินไหลมา" ให้ได้สำเร็จตามความประสงค์ของพระยาญาณดิศ พร้อมบรรพบุรุษในอดีต และนำมาประดิษฐานไว้ในโบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้สมเกียรติและเป็นประวัติศาสตร์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองชาวกำแพงเพชรสืบต่อไป 

บทสรุป
         ประวัติและความสำคัญของวัดมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ นอกจากนี้วัดยังมีความสำคัญในแง่เป็นสิ่งแสดงถึงความศรัทธา แสดงประวัติศาสตร์และบริบทความเชื่อของคนในช่วงเวลาของการสร้างศาสนสถานด้วย นักท่องเที่ยวชาวไทยจะเข้ามาทัศนศึกษาเพื่อเป้าหมายทางศาสนา ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเข้ามาทัศนศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยในอดีต และคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งวัดหรือศาสนสถานจะสะท้อนมิติทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของคนไทยได้อย่างดีจะเห็นได้ว่าวัดหนองปลิงที่กล่าวข้างต้น แต่ละประเภทก็จะมีองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นมิติทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมได้อย่างดี เช่น โบสถ์ศิลาแลง มีพระประธานภายในโบสถ์ คือ พระพุทธเจ้าเงินไหลมา ซึ่งจะแสดงสถาปัตยกรรมการออกแบบตามแบบแผนสกุลช่างของจังหวัดกำแพงเพชร และยังเป็นที่แสดงภาพแกะสลักที่ปรากฏภายนอกตามผนังโบสถ์ และกำแพงรอบโบสถ์ซึ่งแสดงพระไตรปิฎก พระธรรมจักร ภาพคติธรรมและพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ใช้เป็นหลักยึดถือร่วมกัน ภาพแกะสลักนี้ในแต่ละช่องจะมีภาพที่แสดงแตกต่างกันเพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้มาเที่ยวชมได้รับทราบถึงแง่คิด ความเชื่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนมิติทางความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้สร้างได้ เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาทัศนศึกษาจะเข้าใจสังคมไทยได้อย่างดี

คำสำคัญ : วัดหนองปลิง โบสถ์ศิลาแลง

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=โบสถ์ศิลาแลง_วัดหนองปลิง_จังหวัดกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). โบสถ์ศิลาแลง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2114&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2114&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดหนองพิกุล

วัดหนองพิกุล

บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,891

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,299

วัดหนองลังกา

วัดหนองลังกา

กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,071

วัดกะโลทัย

วัดกะโลทัย

ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ

 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,157

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดกรุสี่ห้อง โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏโบราณสถานอยู่ทั่วไป รวมถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,168

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว

ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นแท่งๆ โดยรอบ

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 7,151

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,784

วัดสระแก้ว

วัดสระแก้ว

เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือ ระหว่างเส้นทางที่เข้าสู่เขตอรัญญิกของ เมืองกําแพงเพชร สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีเฉพาะฐานอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นอุโบสถเพียงหลังเดียว สร้างติดกับคลอง ส่งน้ำโบราณหรือที่เรียกว่าคลองท่อทองแดง เดิมจะมีคูน้ำล้อมรอบหรือที่เรียกว่าอุทกสีมา โดยน้ำจากคลองท่อ ทองแดงจะไหลเวียนรอบฐานอุโบสถ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,642

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,115

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,667