“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 3,389

[16.4821705, 99.5081905, “พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี]

"กำแพงเพชร" เมืองเก่าแก่ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันอายุร่วม 700 ปีแล้ว แต่เดิมนั้นไม่ได้ชื่อกำแพงเพชร แต่มีชื่อมาก่อนหน้านั้น คือ "เมืองชากังราว" ชื่อนี้ปรากฏอยุ่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 และศิลาจากรึกเขาสุมนกูฏ เมืองนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำปิง คนละฝั่งกับเมืองที่อยู่ในปัจจุบัน

        ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว 
        เวลาผันผ่านนานร่วม 700 ปี กาลเวลาทำให้สภาพต่างๆ ของเมืองกำแพงเพชรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บางส่วนผืนดินได้พังทลายสูญหายไปเพราะแม่น้ำกัดเซาะ จึงไม่สามารถคงสภาพเมืองไว้ต่อไปได้ จึงจะเห็นว่ามาถึงยุคปัจจุบันด้านในตัวกำแพงเมืองนั้นเหลือสิ่งปลูกสร้างอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เหลือเพียงซากโบราณสถาน เช่น วัดพระแก้ว และกลุ่มวัดโบราณเท่าที่มีการขุดค้นพบประมาณ 40 แห่ง สำหรับ “วัดพระแก้ว” เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่กลางเมือง ภายในวัดมีพระธาตุตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัด เจดีย์ประธานภายในวัดเป็นแบบทรงกลมหรือทรงระฆังสูงใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ถัดมาไม่ไกลกันนักเป็น “วัดพระนอน” แต่สภาพเดิมของวัดเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาสภาพเดิมที่เคยเป็นแทบจำไม่ได้ แต่ตัวองค์พระนั้นได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพสวยงาม ใกล้กับวัดพระนอน คือ “วัดพระสี่อิริยาบถ” ที่เรียกเช่นนี้ เนื่องจากผนังแต่ละด้านของวัดประดิษฐานพระพุทธรูป 4 อิริยาบถ ได้แก่ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือเพียงพระยืนขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นศิลปะสุโขทัย ปิดท้ายด้วย “วัดช้างรอบ” เพราะมีช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือกรายรอบเจดีย์วัด โบราณสถานส่วนใหญ่ของกำแพงเพชร คือ “วัด” จึงไม่แปลกใจว่า “พระเครื่องกำแพงเพชร” พลอยมีชื่อเสียงโด่งดังไปด้วย โดยเฉพาะที่เป็น “พระกรุกำแพงเพชร” นับแต่ “สกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐี” มีตำนานเล่าขานไว้ชัดเจนในจารึกบนแผ่นลานเงินที่บรรจุไว้ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของ “วัดพระบรมธาตุ” เมืองนครชุม เหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกไว้ว่า…
        “เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับพ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ริมลำน้ำปิง ฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่างๆ จำนวนมาก ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชา พร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเปิดโลก (เม็ดทองหลาง) พระเกสรว่านหน้าเงิน หน้าทอง พระเม็ดน้อยหน่า พระนางกำแพง ฯลฯ ตำนานจารึกบนแผ่นลานเงินได้คัดจากสำเนาเดิม ดังนี้…”
        “ณ ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ามีฤๅษี 11 ตน ฤๅษีเป็นใหญ่ 3 ตน ฤๅษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤๅษีตาไฟตนหนึ่ง ฤๅษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤๅษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤๅษีทั้ง 3 จึงปรึกษาแก่ฤๅษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤๅษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วน 5,000 พรรษา พระฤๅษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤๅษีทั้งปวงว่าท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้ได้ 1,000 เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้สัก 1,000 ครั้นเสร็จแล้วฤๅษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้มาช่วยบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤๅษีทั้ง 3 ตนนั้นจึงบังคับฤๅษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงปั้นเป็นก้อน ถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤๅษีที่ทำไว้นั้นเถิด..” ด้วยเหตุนี้หรือไม่-ไม่แน่ชัดพระกรุกำแพงเพชร “พระซุ้มกอ “จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อโดยคนโบราณแต่กาลก่อนว่า “พระฤๅษี”

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.matichonacademy.com/content/culture/article_24355

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). “พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1177

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1177&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุซุ้มกอ

กรุซุ้มกอ

ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 6,437

สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,961

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้สันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุการสร้างพระจำนวนมาก คงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้นพระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆ กันมาว่า ก้นครก 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,798

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,981

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 12,657

พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไป

 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,033

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 34,126

พระลีลา

พระลีลา

พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 14,326

กรุวัดหนองลังกา

กรุวัดหนองลังกา

จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,015

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่ พุทธลักษณะพระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้ เนื้อดิน เนื้อว่านล้วนๆ เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน) เนื้อชิน ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง,เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า1 สี ในองค์เดียวกัน) รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 18,496