ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 10,475
[16.4821705, 99.5081905, ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ]
ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้ผมสันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุการสร้างพระจำนวนมากคงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้น พระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆกันมาว่า ก้นครก (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) บางครั้งก็แก่น้ำมันที่เป็นตัวประสาน ส่วนเนื้อโลหะอย่างพระกริ่งแม้แต่หล่อครั้งเดียวกันวรรณะหรือกระแสก็ยังไม่เท่ากัน ผมไม่สันทัดเรื่องพระกริ่งแต่เคยได้ยินเขาบอกว่าที่วรรณะต่างกันเกิดจากการเซทตัวของเนื้อโลหะที่ต่างกัน สภาพของกรุ พระที่สร้างครั้งเดียวกัน ที่บรรจุกรุ หรืออยู่ในพื้นดินที่มีสภาพต่างกัน ความแห้ง ความชื้น ที่ต่างกัน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เนื้อของพระต่างกัน คำว่า เนื้อนี้ผมพูดให้คนที่ถามมาเข้าใจง่าย อันที่จริงเนื้อก็เหมือนกัน เพียงแต่สภาพของผิว คราบ นั้นจะต่างกันเพราะสภาพกรุต่างหาก ตัวอย่างพระสนิมแดงเช่นพระร่วงหนังรางปืน บางองค์สนิมสีลูกหว้า บางองค์มีแต่ไขขาวหนา บางองค์สีแดงจัด ประการสุดท้ายเกิดจากการเลี่ยมใช้ ในสมัยก่อนมีคติว่าการห้อยพระต้องเลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลัง พระที่ถูกเหงื่อไคล จึงมักดูหนึกนุ่มคนที่ดูพระไม่ชำนาญก็ชอบมาก บอกว่าดูง่าย แม้แต่การใส่ตลับก็จะมีไอเหงื่อและความร้อนจากร่างกายทำให้เนื้อพระดูนุ่ม ไม่แห้งผาก ส่วนบางองค์ขึ้นจากกรุก็เลี่ยมแบบกันน้ำรักษาสภาพเดิม พระสมเด็จบางองค์ไม่ผ่านการเลี่ยมห้อยคอ เรียกว่าสภาพหิ้งผิวแห้งนวลสะอาดตา พวกที่สายตาไม่กล้าแข็งก็นึกว่าพระใหม่ พระกำแพงบางองค์ขึ้นมาจากกรุยิ่งพบในภาชนะบางอย่างที่ฝังไว้ เอาขึ้นมาเลี่ยมดูแล้วเหมือนสีหม้อใหม่ เมื่อถูกเหงื่อและผ่านการจับต้องจึงจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นหนึกนุ่มขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ารักษาสภาพเดิมๆ จะน่าดูกว่ามาก
ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ มีผู้ถามมาว่า พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ
การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้ผมสันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. การสร้างพระจำนวนมากคงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้น พระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆกันมาว่า ก้นครก (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) บางครั้งก็แก่น้ำมันที่เป็นตัวประสาน ส่วนเนื้อโลหะอย่างพระกริ่งแม้แต่หล่อครั้งเดียวกันวรรณะหรือกระแสก็ยังไม่เท่ากัน ผมไม่สันทัดเรื่องพระกริ่งแต่เคยได้ยินเขาบอกว่าที่วรรณะต่างกันเกิดจากการเซทตัวของเนื้อโลหะที่ต่างกัน
2. สภาพของกรุ พระที่สร้างครั้งเดียวกัน ที่บรรจุกรุ หรืออยู่ในพื้นดินที่มีสภาพต่างกัน ความแห้ง ความชื้น ที่ต่างกัน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เนื้อของพระต่างกัน คำว่า เนื้อนี้ผมพูดให้คนที่ถามมาเข้าใจง่าย อันที่จริงเนื้อก็เหมือนกัน เพียงแต่สภาพของผิว คราบ นั้นจะต่างกันเพราะสภาพกรุ ต่างหาก ตัวอย่างพระสนิมแดงเช่นพระร่วงหนังรางปืน บางองค์สนิมสีลูกหว้า บางองค์มีแต่ไขขาวหนา บางองค์สีแดงจัด
3. ประการสุดท้ายเกิดจากการเลี่ยมใช้ ในสมัยก่อนมีคติว่าการห้อยพระต้องเลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลัง พระที่ถูกเหงื่อไคล จึงมักดูหนึกนุ่มคนที่ดูพระไม่ชำนาญก็ชอบมาก บอกว่าดูง่าย แม้แต่การใส่ตลับก็จะมีไอเหงื่อและความร้อนจากร่างกายทำให้เนื้อพระดูนุ่ม ไม่แห้งผาก ส่วนบางองค์ขึ้นจากกรุก็เลี่ยมแบบกันน้ำรักษาสภาพเดิม พระสมเด็จบางองค์ไม่ผ่านการเลี่ยมห้อยคอ เรียกว่าสภาพหิ้งผิวแห้งนวลสะอาดตา พวกที่สายตาไม่กล้าแข็งก็นึกว่าพระใหม่ พระกำแพงบางองค์ขึ้นมาจากกรุยิ่งพบในภาชนะบางอย่างที่ฝังไว้ เอาขึ้นมาเลี่ยมดูแล้วเหมือนสีหม้อใหม่ เมื่อถูกเหงื่อและผ่านการจับต้องจึงจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นหนึกนุ่มขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ารักษาสภาพเดิมๆจะน่าดูกว่ามาก
เมื่อเป็นดังที่ว่านี้แล้ว ขอแนะนำให้ดูพิมพ์เป็นประการแรก จากนั้นจึงพิจารณาเนื้อ และธรรมชาติ คำแนะนำก็คือว่าท่านต้องแม่นพิมพ์ และพยายามดูพระแบบเดียวกันหลายๆลักษณะ ถ้ามีโอกาสได้ดูพระแท้ๆ ก็ส่องพิจารณาจดจำไว้ พระแท้จะเป็นครูของเรามากกว่าตำราเล่มใด
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ. สืบค้น 16 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1175&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,921
พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 14,026
พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียงพระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่าใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 26,468
พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 18,374
พระเครื่องเนื้อดิน พระเครื่องฝังตัวเมืองกำแพงเพชรจะสร้างด้วยเนื้อดินผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณทรายละเอียดและแร่ พระเครื่องเนื้อดินฝัั่งนครชุม (ทุงเศรษฐี) จะสร้างด้วยเนื้อดินละเอียดผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณ แต่บางกรุผสมทรายละเอียดด้วยก็มี พระเครื่องโลหะวัสดุการสร้างจะแบ่งออกได้ดังนี้ กล่าวคือ 1. ทองคำ 2. เงิน 3. ดีบุก 4. ทองแดง 5. ตะกั่ว 6. ทองเหลือง 7. แร่ เนื้อพระเครื่องโลหะโบราณ ทั้งฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งทุ่งเศรษฐี การสร้างพระเครื่องโลหะในจำนวน 100 ส่วน จำนวนพระเครื่องจะมี 99 ส่วน สร้างด้วยเนื้อเงินผสมด้วยดีบุกและตะกั่ว เป็นผิว ปรอทเรียกว่าพระชินเงิน 0.2 ส่วนสร้างด้วยเนื้อทองคำผสมดีบุก และทองแดงหรือทองเหลืองเรียกว่าพระเนืื้อสำริด 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อเงินด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าเงิน และอีก 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อทองคำด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าทอง พระชนิดนี้กรุส่วนมากจะมีบางกรุจะมีเพียงคู่เดียวถือเป็นพระประธานของกรุเนื้อว่าน ซึ่งนำมาจากต้นว่านเนื้อจะแกร่งเห็นว่าผุแต่ไม่ยุ่ย
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,830
ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,682
จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 13,640
หลวงพ่อโพธิ์วัดท่าไม้แดง กำแพงเพชร รุ่นแรก อัลปากาชุบนิคเกิล แชมป์งานกองบิน 46 พิษณุโลก ปี 52
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,304
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 28,554
พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพง ซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระนางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 7,698