“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 3,628

[16.4821705, 99.5081905, “พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี]

"กำแพงเพชร" เมืองเก่าแก่ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันอายุร่วม 700 ปีแล้ว แต่เดิมนั้นไม่ได้ชื่อกำแพงเพชร แต่มีชื่อมาก่อนหน้านั้น คือ "เมืองชากังราว" ชื่อนี้ปรากฏอยุ่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 และศิลาจากรึกเขาสุมนกูฏ เมืองนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำปิง คนละฝั่งกับเมืองที่อยู่ในปัจจุบัน

        ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว 
        เวลาผันผ่านนานร่วม 700 ปี กาลเวลาทำให้สภาพต่างๆ ของเมืองกำแพงเพชรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บางส่วนผืนดินได้พังทลายสูญหายไปเพราะแม่น้ำกัดเซาะ จึงไม่สามารถคงสภาพเมืองไว้ต่อไปได้ จึงจะเห็นว่ามาถึงยุคปัจจุบันด้านในตัวกำแพงเมืองนั้นเหลือสิ่งปลูกสร้างอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เหลือเพียงซากโบราณสถาน เช่น วัดพระแก้ว และกลุ่มวัดโบราณเท่าที่มีการขุดค้นพบประมาณ 40 แห่ง สำหรับ “วัดพระแก้ว” เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่กลางเมือง ภายในวัดมีพระธาตุตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัด เจดีย์ประธานภายในวัดเป็นแบบทรงกลมหรือทรงระฆังสูงใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ถัดมาไม่ไกลกันนักเป็น “วัดพระนอน” แต่สภาพเดิมของวัดเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาสภาพเดิมที่เคยเป็นแทบจำไม่ได้ แต่ตัวองค์พระนั้นได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพสวยงาม ใกล้กับวัดพระนอน คือ “วัดพระสี่อิริยาบถ” ที่เรียกเช่นนี้ เนื่องจากผนังแต่ละด้านของวัดประดิษฐานพระพุทธรูป 4 อิริยาบถ ได้แก่ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือเพียงพระยืนขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นศิลปะสุโขทัย ปิดท้ายด้วย “วัดช้างรอบ” เพราะมีช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือกรายรอบเจดีย์วัด โบราณสถานส่วนใหญ่ของกำแพงเพชร คือ “วัด” จึงไม่แปลกใจว่า “พระเครื่องกำแพงเพชร” พลอยมีชื่อเสียงโด่งดังไปด้วย โดยเฉพาะที่เป็น “พระกรุกำแพงเพชร” นับแต่ “สกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐี” มีตำนานเล่าขานไว้ชัดเจนในจารึกบนแผ่นลานเงินที่บรรจุไว้ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของ “วัดพระบรมธาตุ” เมืองนครชุม เหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกไว้ว่า…
        “เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับพ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ริมลำน้ำปิง ฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่างๆ จำนวนมาก ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชา พร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเปิดโลก (เม็ดทองหลาง) พระเกสรว่านหน้าเงิน หน้าทอง พระเม็ดน้อยหน่า พระนางกำแพง ฯลฯ ตำนานจารึกบนแผ่นลานเงินได้คัดจากสำเนาเดิม ดังนี้…”
        “ณ ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ามีฤๅษี 11 ตน ฤๅษีเป็นใหญ่ 3 ตน ฤๅษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤๅษีตาไฟตนหนึ่ง ฤๅษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤๅษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤๅษีทั้ง 3 จึงปรึกษาแก่ฤๅษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤๅษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วน 5,000 พรรษา พระฤๅษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤๅษีทั้งปวงว่าท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้ได้ 1,000 เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้สัก 1,000 ครั้นเสร็จแล้วฤๅษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้มาช่วยบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤๅษีทั้ง 3 ตนนั้นจึงบังคับฤๅษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงปั้นเป็นก้อน ถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤๅษีที่ทำไว้นั้นเถิด..” ด้วยเหตุนี้หรือไม่-ไม่แน่ชัดพระกรุกำแพงเพชร “พระซุ้มกอ “จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อโดยคนโบราณแต่กาลก่อนว่า “พระฤๅษี”

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.matichonacademy.com/content/culture/article_24355

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). “พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี. สืบค้น 7 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1177&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1177&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,677

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 16,797

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพง ซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระนางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 7,668

กรุฤาษี

กรุฤาษี

ที่ตั้งกรุฤาษี อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 500 เมตร  ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระซุ้มกอ มีกนก พิมพ์เล็ก พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุน พิมพ์กลาง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระนางพญากำแพงเศียรโต พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 15,925

พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไป

 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,365

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 5,051

เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี

เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี

พระซุ้มกอ หรือเจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐีเป็นยอดพระเครื่องอันดับนำของจังหวัดกำแพงเพชรที่ใครได้ไว้บูชาติดตัวแล้ว นับว่าเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง เพชรนพเก้าค่าล้นปานใดก็ตาม บางครั้งก็หาเปรียบได้กับ พระซุ้มกอ ซึ่งสูงทั้งค่าและมีประสิทธิภาพซึ่งมนุษย์ไม่อาจเนรมิตได้ การมีชีวิตเพื่ออยู่และสร้างแต่กรรมดีแล้ว พระซุ้มกอ ย่อมคุ้มครองท่านได้เสมอ และสิ่งที่น่าอิจฉาสำหรับผู้มีพระพิมพ์นี้ยิ่งขึ้นก็คือ ท่านจะอยู่อย่างคนมีโชคตลอดเวลาทีเดียว  ผมเองนั้นเชื่อเหลือเกิน เชื่อว่า มึงมีกูไม่จน ประกาศิตที่กังวานจากเจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐีนั้นจะเป็นใครกล่าวหรือใครพูดขึ้นเล่นก็ตามทีเถิด เพราะจนบัดนี้ ผู้ที่ใช้ พระซุ้มกอ แล้วก็ยังไม่เคยมีใคร บอกว่าห้อยพระซุ้มกอแล้ว ยากจน เลยสักรายเดียว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 33,351

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกที่มีชื่อเสียง และมีมากกรุต้องยกให้จังหวัดลพบุรี เช่น พระนาคปรก กรุวัดปืน และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพระนาคปรกที่ทุก ๆ ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นพระนาคปรกศิลปะทวาราวดี และที่สำคัญเป็นพระนาคปรกยืนซึ่งปรกติพระนาคปรกนั่งศิลปะทวาราวดีก็หายากมากอยู่แล้ว ส่วนพระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดีก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,103

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา     

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,665

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,212