กรุซุ้มกอ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้ชม 7,371
[16.4733133, 99.5072399, กรุซุ้มกอ]
ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่
1. พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง เนื้อดิน
2. พระเม็ดขนุน เนื้อดิน
3. พระซุ้มยอ เนื้อดิน
4. พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก เนื้อดิน
5. พระลีลากำแพง เนื้อดิน
6. พระกลีบบัว เนื้อดิน
และพิมพ์อื่นๆ
คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ
ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุซุ้มกอ. สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1196&code_db=610005&code_type=01
Google search
เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 7,674
ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,849
พระซุ้มชินราช กำเนิดที่วัดร้าง คือวัดหัวมีนาและวัดโพธิ์ ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดสองวัดนี้ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะสถานที่ทั้งสองกลายเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ไปแล้ว พระถูกค้นพบเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๙๖ นอกจากจะพบพระซุ้มชินราชแล้งยังพบพระพิมพ์อื่นปนออกมาหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์วงเขน พิมพ์ตรีกรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน ส่วนเนื้อชินมีน้อย ศิลปะของพระกรุนี้จะเป็นยุคอยุธยาตอนต้น
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 9,568
พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,674
พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาพระเครื่องของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระในตระกูลพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็กนั่นเอง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหนึ่งชั้นและมีเส้นกรอบเป็นเส้นซุ้มรอบรูปสามเหลี่ยม และไม่มีการตัดขอบซึ่งจะต้องมีเส้นซุ้มรอบแบบนี้ทุกองค์ พบขึ้นจากกรุทั้งฝั่งนครชุมและลานทุ่งเศรษฐี ตลอดจนบริเวณที่ใกล้เคียง เช่นที่กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระบรมธาตุ และกรุวัดพระแก้ว เป็นต้น พระนางกำแพงลูกแป้ง มีหลายพิมพ์ตามจำนวนองค์พระที่ปรากฎรวมกันอยู่ เช่น พระนางกำแพงลูกแป้งเดี่ยว พระนางกำแพงลูกแป้งคู่ พระนางกำแพงลูกแป้งสาม พระนางกำแพงลูกแป้งห้า เป็นต้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับการมาอย่างช้านานด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,291
ที่ตั้งกรุพระเจดีย์กลางทุ่ง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไป ประมาณ 600 เมตร ประเภทพบที่ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พิมพ์ลึก พระอู่ทองกำแพง พิมพ์เล็ก พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพน พิมพ์บัวชั้นเดียว พระปรางมารวิจัย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,419
ที่ตั้งกรุพระผู้ใหญ่เชื้อ อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุพระหนองพิกุลประมาณ 1.5 กม. ปัจจุบันถูกสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรรค์ ซึ่งอยู๋ทางทิศเหนือของกรุคลองไพร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระเปิดโลก พระเปิดโลกปีกกว้าง พระเปิดโลกพิมพ์คู พระเปิดโลกสามพระองค์ พระลีลากล้วยปิ้ง พระซุ้มเรือนแก้ว พระนางพญากำแพงพระนางพญาหัวเรือเม พระเชตุพนหูช้าง พระลูกแป้งเดี่ยว พระลูกแป้งคู่ พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าห้าพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ พระเจ้าสิบชาติ และพระเจ้าสิบชาตินารายณ์แปรง
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,821
พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,174
พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 18,301
ประวัติพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นพระเนื้อดินผสมว่านที่สร้างขึ้นด้วยศิลปสุโขทัยโดยฝีมือช่างกำแพงเพชร ค้นพบได้ที่กรุพระเจดีย์ทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร ที่มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากและมีสภาพเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้จักกันในนาม ทุ่งเศรษฐี ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมาแต่ยุคโบราณว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้นั้นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา ซึ่งคณะผู้สร้างประกอบไปด้วย พระฤๅษี สมณชีพราหมณ์ พราหมณาจารย์ มาประชุมพร้อมกันจักสร้างพระพิมพ์เพื่อทำการบรรจุเข้าไว้ในองค์พระมหาเจดีย์เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรดาพระฤๅษีทั้งหลายที่เข้าร่วมในพิธีการสร้างพระนั้น ประกอบไปด้วย พระฤๅษี 11 ตน และ มีหัวหน้าพระฤๅษี อีก 3 ตน ที่เป็นผู้ทรงญาณสมาบัติแก้กล้ากว่าพระฤๅษีทั้งหลาย คือ พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีตาวัว พระฤๅษีพิลาลัย นอกจากนั้นมีสมณชีพราหมณ์และพราหมณาจารย์ซึ่งแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษทางญาณสมาบัติทั้งสิ้น ได้ช่วยกันประกอบพิธีสร้าง พระพิมพ์ซุ้มกอ ขึ้นมาด้วยแรงแห่งฤทธิ์อันวิเศษ ซึ่งล้วนแต่เป็นอาณุภาพทางจิตที่วิเศษสุดยอด
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 16,914