พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 19,744
[16.4821705, 99.5081905, พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน]
พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่
พุทธลักษณะ
พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น2พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้
1. เนื้อดิน
2. เนื้อว่านล้วน ๆ
3. เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน)
4. เนื้อชิน
ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง, เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า1สี ในองค์เดียวกัน)รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน
หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์ กำแพงเม็ดขนุน กำแพงเม็ดขนุน(ด้านหน้า)
1. ให้ดูขอบข้างก่อนเริ่มจากด้านบน จะเป็นรอยเฉียงเป็นเส้นตรง นั่นคือรอยขอบแม่พิมพ์เดิม
2. ขอบด้านนอกจากเกศพระถึงปลายเท้าด้านซ้ายมือพระ ให้สังเกตจะลาดชันกว่าด้านขวามือพระ
3. ขอบข้างด้านขวามือบริเวณแนวกระจังตามลูกศรชี้ จะมีร่องเป็นรูปตัวเอ็น (7 1)เอียง ๆ แต่จุดนี้ค่อนข้างติดยาก เนื่องจากส่วนใหญ่จะสึกหมด หรือตอนกดพิมพ์ เนื้อจะอุดร่องตัวเอ็น (7 1)ทำให้มองไม่เห็น
4. ขอบข้างด้านซ้าย บริเวณแนวปลายจมูก และบริเวณแนวมุมแหลมรักแร้ซ้ายพระด้านบน จะมีเนื้อเกินทั้งสองจุด แต่ส่วนใหญ่จะสึกหมดเห็นแค่ราง ๆ เท่านั้น
5. ร่องเส้นซุ้มด้านขวามือพระช่วงระหว่างเกศพระถึงหัวไหล่พระจะเป็นร่องโค้งมากกว่าด้านซ้าย และจะเอียงโค้งลงไปทางซ้ายมือพระ ส่วนภายในร่องจะค่อนข้างกว้างกว่าทุกตำแหน่งของร่องซุ้ม
คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร
ที่มา : http://changwathuay.com/web15/home/3-content-release/33-2012-07-02-15-57-17.html
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน. สืบค้น 14 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1161&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 12,541
ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,879
พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 18,362
จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร นักสะสมพระหลายท่านอยากจะเล่นพระซุ้มกอ แต่ก็ไม่กล้า เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าพระซุ้มกอที่มีอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชรนั้นมีกี่กรุกันแน่ หนังสือหลายเล่มก็ไม่ได้กล่าวถึง จากการได้ลงภาคสนามของ อ.แป๊ะ สายไหม ที่เคยขับรถไปจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อศึกษาสถานที่จริงพร้อมๆ กับการไปหาเช่าพระจากคนในท้องถิ่น ก็พบว่าจำนวนกรุทั้งหมดที่มีการกล่าวถึงแต่ไม่มีใครรวบรวมไว้ อ.แป๊ะรวบรวมได้ 53 กรุ ถ้าถามว่าทุกกรุมีพระซุ้มกออยู่ด้วยหรือไม่ คำถามนี้ต้องหาคำตอบต่อไป ในจำนวน 53 กรุนี้จะมีกรุทุ่งเศรษฐีรวมอยู่ด้วยมีจำนวน 9 กรุ และไม่มีใครกล้ายืนยันว่าในจำนวนทั้ง 9 กรุนั้นจะมีพระซุ้มกอรวมอยู่ด้วยทุกกรุ ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่มีการยืนยันจากผู้ขุดพบพระซุ้มกอ มาถึงจุดนี้ท่านผู้อ่านก็คงอยากทราบแล้วซิว่ากรุทุ่งเศรษฐีทั้ง 9 กรุนั้นมีอะไรบ้าง
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 18,839
พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,932
ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,453
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 28,520
พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียงพระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่าใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 26,432
ที่ตั้งกรุพระวัดตาลดำ อยู่ทิศตะวันออกของกรุเจดีย์กลางทุ่ง ประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถูกชาวบ้านปราบเป็นที่ทำการเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางพญากำแพง พระอู่ทองกำแพง พิมพ์ใหญ่ พระลูกแป้ง คู่ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกลีบบัว พระลูกแป้ง เดียว พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,408
จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,221