พระกำแพงห้าร้อย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 10,558
[16.4746251, 99.5079925, พระกำแพงห้าร้อย]
พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปีพ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก แต่พระที่ขุดพบนั้นส่วนใหญ่ มักชำรุดมีผิวระเบิดผุกร่อน ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระเนื้อชินเงินที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก ที่คนสมัยก่อนมักเรียกกันว่าชินแข็ง ประกอบกับกรุที่บรรจุพระนั้นมีความชื้น เนื่องจากพื้นที่ของกรุเป็นลักษณะทุ่งนาเมื่อเวลาหน้าน้ำจะมีน้ำหลากท่วมถึง จึงทำให้พระเนื้อชินประเภทนี้มักเปื่อย ผุ ระเบิดเป็นแห่งๆ พระกำแพงห้าร้อยที่พบทั้งสามกรุจึงมักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระกำแพงห้าร้อย ที่ชำรุดนี้คนในสมัยก่อนเห็นว่าศิลปะขององค์พระสวยน่ารักดีจึงนำมาตัดแบ่งออกเป็น 9 องค์บ้าง ห้าองค์บ้าง 3 องค์บ้าง ตามแต่จะพอแบ่งได้ แต่ที่นิยมที่สุดก็คือตัดเก้า แต่ถ้าตัดห้าแต่ได้พระองค์บนสุดติดมาด้วยก็จะหายากเช่นกันครับ พระกำแพงห้าร้อย นี้ถ้าถูกตัดออกมาแล้ว จะได้พระที่สมบูรณ์เพียงด้านเดียว เพราะองค์พระทั้งสองด้านจะเหลื่อมกัน เวลาตัดแล้วจะมีพระองค์ที่อยู่ขอบข้างจะถูกตัดเข้าไปบนองค์พระอยู่ด้านหนึ่ง อันนี้เป็นจุดสังเกตประการหนึ่ง และถ้าเป็นของกรุวัดกะโลทัยนั้นส่วนใหญ่ที่องค์พระจะมีการทาทองล่องชาดเอาไว้ ส่วนกรุอื่นๆ ไม่มีการทาลองล่องชาดครับ พระกำแพงห้าร้อยนั้นพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพัน
"พระกำแพงห้าร้อย"เป็นพระยอดขุนพลกรุเก่าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่อง และมีเอกลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจ จากชื่อก็บอกยี่ห้อแล้วว่าต้องเป็นพระที่พบจากกรุในจังหวัดกำแพงเพชรแน่นอน ปรากฏที่กรุวัดมหาธาตุและวัดโดยทั่วๆ ไปของจังหวัด มีที่ใช้ชื่อเหมือนกันบ้างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่สันนิษ ฐานว่า สร้างกันคนละยุค เนื่องจากมีพุทธลักษณะที่แตกต่างกัน ที่เรียกชื่อเหมือนกันอาจจะเป็นที่คำว่า "ห้าร้อย" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก็คือจะเป็นพระแผงขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า "พระตู้" ด้านบนตัดแหลมเป็นรูปห้าเหลี่ยม ด้านล่างตัดตรงเหมือนพระใบขนุน ประกอบด้วยองค์พระขนาดเล็กเรียงรายเป็นแถวทั้งสองด้านนับรวมกันได้ 502 องค์ จึงขนานนามว่า "พระกำแพงห้าร้อย" แต่ในปัจจุบันจะหาดูที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวได้ยากมากๆ ที่พบเห็นกันอยู่นับเรียงกันมากที่สุดแล้วก็เห็นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดพอๆ กับพระสมเด็จมีองค์พระ 9 องค์ เราเรียกว่า "แพงเก้า" เนื่องจากเลข 9 เป็นเลขนำโชค หรือไม่ก็แยกออกเป็นองค์เดี่ยวๆ สามารถนำมาห้อยคอบูชาได้ และสนนราคาไม่แพงนัก ถ้าชนิดสมบูรณ์แบบลักษณะเดิมราคาจะสูงมาก ที่มาที่ไปของ "พระกำแพงห้าร้อย จังหวัดกำแพงเพชร" ตามพุทธประวัติว่า พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหมดถึง 500 ชาติ จึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนโบร่ำโบราณจึงได้สร้างองค์พระเรียงติดกันเป็นแผงให้ครบ 500 องค์ ตามคติความเชื่อว่าเป็นกุศลอันสูงส่ง
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=143&code_db=DB0003&code_type=P003
คำสำคัญ : พระเครื่องเมืองกำแพง
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระกำแพงห้าร้อย. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=194&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระซุ้มชินราช กำเนิดที่วัดร้าง คือวัดหัวมีนาและวัดโพธิ์ ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดสองวัดนี้ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะสถานที่ทั้งสองกลายเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ไปแล้ว พระถูกค้นพบเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๙๖ นอกจากจะพบพระซุ้มชินราชแล้งยังพบพระพิมพ์อื่นปนออกมาหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์วงเขน พิมพ์ตรีกรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน ส่วนเนื้อชินมีน้อย ศิลปะของพระกรุนี้จะเป็นยุคอยุธยาตอนต้น
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 8,005
ยอดพระกรุแห่งลานทุ่งเศรษฐีพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาลิไทพระบรมกษัตริย์ในลำดับที่5แห่งราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงได้ทรงทำนุบำรุงและทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาหาความรู้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัยของพระองค์นั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากดังปรากฏ เป็นอนุสรณ์ ณ ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร และที่อื่นๆ อีกมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 3,817
คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 15,035
ที่ตั้งกรุพระวังพระธาตุ จาก 4 แยกนครชุมกำแพงเพชรไปทิศใต้ตามถนนเอเซีย ประมาณ 14 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ริมน้ำปิง ประเภทพระที่พบ ได้แก่
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ๋ พระลีลากำแพง พระซุ้มยอ พระนางพญากำแพง พระเชตุพน พระกลีบจำปาพิมพ์ใหญ๋ พระท่ามะปราง พระอู่ทองกำแพง พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,399
พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๐ พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา เกือบ ๔๐ ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสส่องพิจารณาพระกำแพงพลูจีบองค์แรก ด้วยความเอื้อเฟื้อของ คุณสมนึก จาดเสน ที่ท่าพระจันทร์ เป็นพระกำแพงพลูจีบองค์แรกที่ได้ส่องพิจารณาและได้เห็นว่าเป็นพระที่สวยงามมากสมเป็นที่สุดแห่งพระกำแพงลีลา ต้นกำเนิดของคำว่า กำแพงเขย่งของนักพระเครื่องรุ่นปู่ ยังรู้สึกขอบคุณคุณ สมนึกจนบัดนี้ ถึงวันนี้ ยังไม่ต้องพูดถึงการหาผู้ที่รู้จริง และพิจารณาพระกำแพงพลูจีบได้อย่าง “ ดูขาด “ เลย แค่จะหาพระแท้ มาส่องพิจารณาศึกษาสักองค์หนึ่งก็ยากยิ่งนัก
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,520
ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,466
พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ หลา
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 14,728
พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก สามารถพบเห็นกันบ่อยจนชินตาคุ้นเคยกันดี เป็นกรุใหญ่ที่พบพระที่มีสภาพสวยงามสมบูรณ์ที่สุด เห็นจะได้แก่ กรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมักจะพบเพียงพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก แม้ไม่ใช่พระยอดนิยมติดอันดับ แต่ด้วยพุทธศิลป์ที่สวยงาม ทำให้หนังสือพระระดับเล่มครูสำหรับพระยอดนิยม อย่าง หนังสือภาพพระเครื่อง(สี) ยังต้องกล่าวถึง ในปัจจุบันจึงหาชมพระซุ้มเสมาทิศสภาพสมบูรณ์ได้ไม่งายนัก ราคาเล่นหาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเรือนหมื่นไปนานแล้วโดยเฉพาะพิมพ์กลางสภาพสวยสมบูรณ์ พุทธคุณว่ากันว่าเป็นยอดในทางแคล้วคลาด คงกระพัน
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,070
พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,505
ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,851