ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 10,084

[16.4821705, 99.5081905, ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ]

       พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่างๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา 
       เกือบ 40 ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสส่องพิจารณาพระกำแพงพลูจีบองค์แรก ด้วยความเอื้อเฟื้อของ คุณสมนึก จาดเสน ที่ท่าพระจันทร์ เป็นพระกำแพงพลูจีบองค์แรกที่ได้ส่องพิจารณาและได้เห็นว่าเป็นพระที่สวยงามมากสมเป็นที่สุดแห่งพระกำแพงลีลา ต้นกำเนิดของคำว่า กำแพงเขย่งของนักพระเครื่องรุ่นปู่ ยังรู้สึกขอบคุณคุณ สมนึกจนบัดนี้ ถึงวันนี้ ยังไม่ต้องพูดถึงการหาผู้ที่รู้จริง และพิจารณาพระกำแพงพลูจีบได้อย่าง “ดูขาด“ เลย แค่จะหาพระแท้ มาส่องพิจารณาศึกษาสักองค์หนึ่งก็ยากยิ่งนัก
       วิธีการพิจารณาพระกำแพงพลูจีบ มีดังนี้
       พระกำแพงพลูจีบเป็นพระที่ตื้นมาจากแม่พิมพ์ จึงเป็นพระที่ถอดพิมพ์ง่าย พิจารณารายละเอียดต่างๆ ได้ยาก มีขนาดความสูง ประมาณ 4 ซม. ส่วนความกว้างในตอนกลางอยู่ในราว 1.5-1.8 ซม. การพิจารณาพิมพ์ทรงขอให้สังเกต พระพักตร์ จะเป็นรูปไข่เหมือนพระสมัยสุโขทัย แต่จะคอดเว้าตรงกลางค่อนไปด้านบน แสดงรายละเอียดของพระกัมโบล (แก้ม) ที่ป่องออกเล็กน้อย จุดที่สำคัญมาก คือ จะปรากฏพระหนุ (คาง) ที่ชัดเจน ขอให้ดูภาพประกอบ จุดที่แสดงพระหนุนี้ถึงจะสึกหรออย่างไรถ้าเห็นเค้าพระพักตร์เหลือ จะต้องเห็นทุกองค์ ถ้าไม่ปรากฏ คือมีแต่พระพักตร์รูปไข่แบนๆสามารถตัดสินได้ว่าเป็นของปลอม
       พระพาหา (แขน) ด้านขวาที่ทอดลงมามีลีลาที่โค้งสวยงาม และตรงพระหัตถ์จะแสดงรายละเอียดของนิ้วหัวแม่มือที่แยกออกมา ตรงนี้เป็น จุดสังเกตสำคัญเช่นเดียวกัน ของปลอมหลายสำนักมักจะไม่ปรากฏ )
       ริ้วจีวรที่คลุมลงมาจะเป็นเส้นคู่ ขนานที่ชัดเจนสวยงามมาก พระถอดพิมพ์มักจะติดเป็นปื้น ๆ เส้นหนาทึบเดียว ถ้ามองเผิน ๆลักษณะคล้ายกับนุ่งกางเกงจีน ปลายพระบาทงอนขึ้นด้านส้นเท้าคล้ายสวมรองเท้า คล้ายส้นสูง ลักษณะของฐานชั้นบนสุดถ้าองค์ใดติดชัด จะเห็นลักษณะบัวคว่ำ ชั้นกลางเป็นสองเส้นคู่ ชั้นล่างสุดเป็นเส้นคู่เช่นกันแต่มักไม่ติดชัด สามารถเห็นได้ว่าเป็นสองเส้นตรงปลายฐานด้านขวา
       ด้านเนื้อหาของพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระประเภทเนื้อหนึกแกร่ง มักไม่ค่อยมีราดำ หรือมีน้อยมาก มีจุดแดงขนาดเล็กๆ บางแห่ง ที่สำคัญ คือ จะมีชิ้นทองหรือโลหะบางอย่างที่มีประกายทอง ชิ้นเล็กๆ ในเนื้อแทบทุกองค์ ขนาดเล็กมาก เพียงประมาณ 0.5 มม. หรือเล็กกว่านั้น และจะปรากฏเพียง 1-2 ชิ้น เท่านั้น ไม่ใช่เป็นชิ้นใหญ่ๆ พราวไปทั้งองค์ ขอให้ค่อย ๆ ส่องพิจารณากับแสงแดด หรือหลอดไฟกำลังสูง ค่อยๆ ขยับพระไปมา ไม่ใช่ทองคำเปลว แต่เป็นชิ้นทองที่ใหญ่กว่าผงตะไบ ดังที่ หลวงบรรณยุทธชำนาญ (สวัสดิ นาคะสิริ) ท่านเขียนไว้ในหนังสือเรื่องพระพิมพ์เครื่องรางฯ ซึ่งเขียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2488 ว่า พระกำแพงพลูจีบ“ มีแร่ทองและแร่เงินอยู่ในเนื้อ “
       ถ้าท่านพบว่าพระกำแพงพลูจีบองค์ใดมีราดำจับเขรอะ ขอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของปลอม สำหรับธรรมชาติ พระกำแพงพลูจีบด้านหลังจะยุบตัวเป็นคลื่นตามลักษณะของพระกรุเก่าทั้งหลาย คือไม่ตึงเรียบ และมักจะมีริ้วรอยลายมือจางๆ จากการกดพระทุกองค์ ขอบด้านข้างมนตามธรรมชาติ ไม่มีการตัดขอบแบบพระกำแพงกลีบจำปา 
พระกำแพงพลูจีบเป็นพระหายากและเป็นพระในตำนานไปแล้วก็จริง แต่ใครจะทราบว่า ท่านอาจจะมีพระพิมพ์นี้อยู่ในบ้านโดยไม่เคยทราบมาก่อนก็เป็นได้ หรือ หากบุญพาวาสนาส่ง ท่านอาจได้เป็นเจ้าของพระกำแพงพลูจีบที่ผู้คนในยุคนี้ไม่รู้จักกันแล้วก็เป็นได้ ขอเรียนว่า พระกำแพงพลูจีบนั้นปลอมแปลงมาตั้งแต่ครั้งคุณทวด ปลอมมานามจนเป็นพระเก่าไปเรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านพิจารณาพิมพ์ทรงเป็นสำคัญ และเชื่อว่า หลังจากที่บทความนี้ได้เผยแพร่แล้วขบวนการปลอมแปลงพระก็จะพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ขอให้ข้อเสนอแนะที่ได้เขียนมานี้ เป็นเครื่องคุ้มภัยให้ทุกท่านปลอดภัยจากพระปลอมทั่วกัน
        พระกำแพงพลูจีบเท่าที่ได้พบและยอมรับกันในหมู่นักนิยมพระกำแพงรุ่นเก่ามีอยู่ 2 แบบ ที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นเป็นแบบที่ 1 ซึ่งขอเรียกว่า เป็นพิมพ์แบบฐานสูง ตามพุทธลักษณะที่มีฐานบัวบัลลังค์มากชั้นกว่าแบบที่สอง ซึ่งจะขอเรียกว่าแบบฐานเตี้ย ดังมีข้อพิจารณาทางพิมพ์ดังนี้
        พระพิมพ์นี้ความหนาและขนาดใกล้เคียงกับพิมพ์แรก แต่บริเวณขอบตรงกลางจะไม่คอดเว้าเข้ามาเหมือนแบบแรก พระพักตร์ยาวรีกว่าเล็กน้อย และพระเกศจะสั้นชิดขอบพระทุกองค์ ลักษณะของเส้นจีวร เป็นเส้นคู่เช่นเดียวกับแบบแรก แต่ขอให้สังเกตว่าเส้นที่แสดงเป็นจีวรนี้ตรงบริเวญระดับพระชานุ (หัวเข่า) จะปรากฏว่ามีก้อนเนื้อนูนขึ้นมาทุกองค์ ส่วนลักษณะของพระบาทก็คล้ายกับแบบแรกคือปลายพระบาทงอนเชิด และมีลักษณะคล้ายสวมรองเท้าแบบส้นสูง เส้นจีวรด้านล่างจะดูคล้ายกับสวมกางเกงจีน จุดสังเกตสำคัญก็คือ ตรงกลางฝ่าพระบาทขวาจะมีเส้นวิ่งลงไปจรดฐานบัวบัลลังค์ซึ่งเป็นลักษณะบัวคว่ำ เส้นนี้จะปรากฏทุกองค์ เข้าใจว่าเป็นรอยแตกในแม่พิมพ์มาแต่เดิม ฐานของพระกำแพงพลูจีบพิมพ์นี้จะปรากฏเพียงสามชั้น คือ ชั้นบนเป็นแบบบัวคว่ำ ฐานชั้นที่สองเป็นเส้นเล็กติดกับชั้นที่สามซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ฐานทั้งสองเส้นดีหากมองเผินๆ จะเหมือนกับว่าเป็นฐานเส้นเดียว แต่ถ้าพิจารณาช้าๆ จะสังเกตได้ว่าเป็นสองเส้นโดยเฉพาะทางด้านขวาจะเห็นได้ชัด การพิจารณาทางเนื้อและธรรมชาติก็เหมือนกับแบบแรกที่ได้นำเสนอไปแล้วทุกประการ ขอให้สังเกตด้านหลังที่เป็นคลื่นและมีรอยลายมือรางๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/posts/1528466867284402?__tn__=K-R

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1172

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1172&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 7,273

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

กรุผู้ใหญ่เชื้อ

ที่ตั้งกรุพระผู้ใหญ่เชื้อ อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุพระหนองพิกุลประมาณ 1.5 กม. ปัจจุบันถูกสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรรค์ ซึ่งอยู๋ทางทิศเหนือของกรุคลองไพร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระเปิดโลก พระเปิดโลกปีกกว้าง พระเปิดโลกพิมพ์คู พระเปิดโลกสามพระองค์ พระลีลากล้วยปิ้ง พระซุ้มเรือนแก้ว พระนางพญากำแพงพระนางพญาหัวเรือเม พระเชตุพนหูช้าง พระลูกแป้งเดี่ยว พระลูกแป้งคู่ พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าห้าพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ พระเจ้าสิบชาติ และพระเจ้าสิบชาตินารายณ์แปรง

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,557

พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไป

 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,033

พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง ต้นกำเนิด "พระเงี้ยวทิ้งปืน" ชนเผ่าหนึ่ง มีชื่อว่า เงี้ยว อาศัยอยู่ตามพื้นที่สูงบนเขา แล้วย้ายรกรากมาตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันออกของประเทศพม่า ตรงบริเวณที่มีชายแดนทางใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับล้านนาของไทย เป็นที่ตั้งเผ่าพันธุ์ ตลอดระยะเวลากว่าศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 18,742

พระสมเด็จเนื้อดิน

พระสมเด็จเนื้อดิน

พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ หลา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 18,064

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 16,289

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 39,045

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด... 

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 5,386

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,981

พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

ลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้ เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสม ท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่าน ต่อมา บริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะ หลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 11,808