ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 10,673

[16.4821705, 99.5081905, ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ]

       พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่างๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา 
       เกือบ 40 ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสส่องพิจารณาพระกำแพงพลูจีบองค์แรก ด้วยความเอื้อเฟื้อของ คุณสมนึก จาดเสน ที่ท่าพระจันทร์ เป็นพระกำแพงพลูจีบองค์แรกที่ได้ส่องพิจารณาและได้เห็นว่าเป็นพระที่สวยงามมากสมเป็นที่สุดแห่งพระกำแพงลีลา ต้นกำเนิดของคำว่า กำแพงเขย่งของนักพระเครื่องรุ่นปู่ ยังรู้สึกขอบคุณคุณ สมนึกจนบัดนี้ ถึงวันนี้ ยังไม่ต้องพูดถึงการหาผู้ที่รู้จริง และพิจารณาพระกำแพงพลูจีบได้อย่าง “ดูขาด“ เลย แค่จะหาพระแท้ มาส่องพิจารณาศึกษาสักองค์หนึ่งก็ยากยิ่งนัก
       วิธีการพิจารณาพระกำแพงพลูจีบ มีดังนี้
       พระกำแพงพลูจีบเป็นพระที่ตื้นมาจากแม่พิมพ์ จึงเป็นพระที่ถอดพิมพ์ง่าย พิจารณารายละเอียดต่างๆ ได้ยาก มีขนาดความสูง ประมาณ 4 ซม. ส่วนความกว้างในตอนกลางอยู่ในราว 1.5-1.8 ซม. การพิจารณาพิมพ์ทรงขอให้สังเกต พระพักตร์ จะเป็นรูปไข่เหมือนพระสมัยสุโขทัย แต่จะคอดเว้าตรงกลางค่อนไปด้านบน แสดงรายละเอียดของพระกัมโบล (แก้ม) ที่ป่องออกเล็กน้อย จุดที่สำคัญมาก คือ จะปรากฏพระหนุ (คาง) ที่ชัดเจน ขอให้ดูภาพประกอบ จุดที่แสดงพระหนุนี้ถึงจะสึกหรออย่างไรถ้าเห็นเค้าพระพักตร์เหลือ จะต้องเห็นทุกองค์ ถ้าไม่ปรากฏ คือมีแต่พระพักตร์รูปไข่แบนๆสามารถตัดสินได้ว่าเป็นของปลอม
       พระพาหา (แขน) ด้านขวาที่ทอดลงมามีลีลาที่โค้งสวยงาม และตรงพระหัตถ์จะแสดงรายละเอียดของนิ้วหัวแม่มือที่แยกออกมา ตรงนี้เป็น จุดสังเกตสำคัญเช่นเดียวกัน ของปลอมหลายสำนักมักจะไม่ปรากฏ )
       ริ้วจีวรที่คลุมลงมาจะเป็นเส้นคู่ ขนานที่ชัดเจนสวยงามมาก พระถอดพิมพ์มักจะติดเป็นปื้น ๆ เส้นหนาทึบเดียว ถ้ามองเผิน ๆลักษณะคล้ายกับนุ่งกางเกงจีน ปลายพระบาทงอนขึ้นด้านส้นเท้าคล้ายสวมรองเท้า คล้ายส้นสูง ลักษณะของฐานชั้นบนสุดถ้าองค์ใดติดชัด จะเห็นลักษณะบัวคว่ำ ชั้นกลางเป็นสองเส้นคู่ ชั้นล่างสุดเป็นเส้นคู่เช่นกันแต่มักไม่ติดชัด สามารถเห็นได้ว่าเป็นสองเส้นตรงปลายฐานด้านขวา
       ด้านเนื้อหาของพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระประเภทเนื้อหนึกแกร่ง มักไม่ค่อยมีราดำ หรือมีน้อยมาก มีจุดแดงขนาดเล็กๆ บางแห่ง ที่สำคัญ คือ จะมีชิ้นทองหรือโลหะบางอย่างที่มีประกายทอง ชิ้นเล็กๆ ในเนื้อแทบทุกองค์ ขนาดเล็กมาก เพียงประมาณ 0.5 มม. หรือเล็กกว่านั้น และจะปรากฏเพียง 1-2 ชิ้น เท่านั้น ไม่ใช่เป็นชิ้นใหญ่ๆ พราวไปทั้งองค์ ขอให้ค่อย ๆ ส่องพิจารณากับแสงแดด หรือหลอดไฟกำลังสูง ค่อยๆ ขยับพระไปมา ไม่ใช่ทองคำเปลว แต่เป็นชิ้นทองที่ใหญ่กว่าผงตะไบ ดังที่ หลวงบรรณยุทธชำนาญ (สวัสดิ นาคะสิริ) ท่านเขียนไว้ในหนังสือเรื่องพระพิมพ์เครื่องรางฯ ซึ่งเขียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2488 ว่า พระกำแพงพลูจีบ“ มีแร่ทองและแร่เงินอยู่ในเนื้อ “
       ถ้าท่านพบว่าพระกำแพงพลูจีบองค์ใดมีราดำจับเขรอะ ขอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของปลอม สำหรับธรรมชาติ พระกำแพงพลูจีบด้านหลังจะยุบตัวเป็นคลื่นตามลักษณะของพระกรุเก่าทั้งหลาย คือไม่ตึงเรียบ และมักจะมีริ้วรอยลายมือจางๆ จากการกดพระทุกองค์ ขอบด้านข้างมนตามธรรมชาติ ไม่มีการตัดขอบแบบพระกำแพงกลีบจำปา 
พระกำแพงพลูจีบเป็นพระหายากและเป็นพระในตำนานไปแล้วก็จริง แต่ใครจะทราบว่า ท่านอาจจะมีพระพิมพ์นี้อยู่ในบ้านโดยไม่เคยทราบมาก่อนก็เป็นได้ หรือ หากบุญพาวาสนาส่ง ท่านอาจได้เป็นเจ้าของพระกำแพงพลูจีบที่ผู้คนในยุคนี้ไม่รู้จักกันแล้วก็เป็นได้ ขอเรียนว่า พระกำแพงพลูจีบนั้นปลอมแปลงมาตั้งแต่ครั้งคุณทวด ปลอมมานามจนเป็นพระเก่าไปเรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านพิจารณาพิมพ์ทรงเป็นสำคัญ และเชื่อว่า หลังจากที่บทความนี้ได้เผยแพร่แล้วขบวนการปลอมแปลงพระก็จะพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ขอให้ข้อเสนอแนะที่ได้เขียนมานี้ เป็นเครื่องคุ้มภัยให้ทุกท่านปลอดภัยจากพระปลอมทั่วกัน
        พระกำแพงพลูจีบเท่าที่ได้พบและยอมรับกันในหมู่นักนิยมพระกำแพงรุ่นเก่ามีอยู่ 2 แบบ ที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นเป็นแบบที่ 1 ซึ่งขอเรียกว่า เป็นพิมพ์แบบฐานสูง ตามพุทธลักษณะที่มีฐานบัวบัลลังค์มากชั้นกว่าแบบที่สอง ซึ่งจะขอเรียกว่าแบบฐานเตี้ย ดังมีข้อพิจารณาทางพิมพ์ดังนี้
        พระพิมพ์นี้ความหนาและขนาดใกล้เคียงกับพิมพ์แรก แต่บริเวณขอบตรงกลางจะไม่คอดเว้าเข้ามาเหมือนแบบแรก พระพักตร์ยาวรีกว่าเล็กน้อย และพระเกศจะสั้นชิดขอบพระทุกองค์ ลักษณะของเส้นจีวร เป็นเส้นคู่เช่นเดียวกับแบบแรก แต่ขอให้สังเกตว่าเส้นที่แสดงเป็นจีวรนี้ตรงบริเวญระดับพระชานุ (หัวเข่า) จะปรากฏว่ามีก้อนเนื้อนูนขึ้นมาทุกองค์ ส่วนลักษณะของพระบาทก็คล้ายกับแบบแรกคือปลายพระบาทงอนเชิด และมีลักษณะคล้ายสวมรองเท้าแบบส้นสูง เส้นจีวรด้านล่างจะดูคล้ายกับสวมกางเกงจีน จุดสังเกตสำคัญก็คือ ตรงกลางฝ่าพระบาทขวาจะมีเส้นวิ่งลงไปจรดฐานบัวบัลลังค์ซึ่งเป็นลักษณะบัวคว่ำ เส้นนี้จะปรากฏทุกองค์ เข้าใจว่าเป็นรอยแตกในแม่พิมพ์มาแต่เดิม ฐานของพระกำแพงพลูจีบพิมพ์นี้จะปรากฏเพียงสามชั้น คือ ชั้นบนเป็นแบบบัวคว่ำ ฐานชั้นที่สองเป็นเส้นเล็กติดกับชั้นที่สามซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ฐานทั้งสองเส้นดีหากมองเผินๆ จะเหมือนกับว่าเป็นฐานเส้นเดียว แต่ถ้าพิจารณาช้าๆ จะสังเกตได้ว่าเป็นสองเส้นโดยเฉพาะทางด้านขวาจะเห็นได้ชัด การพิจารณาทางเนื้อและธรรมชาติก็เหมือนกับแบบแรกที่ได้นำเสนอไปแล้วทุกประการ ขอให้สังเกตด้านหลังที่เป็นคลื่นและมีรอยลายมือรางๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/posts/1528466867284402?__tn__=K-R

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ. สืบค้น 9 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1172&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1172&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดดงหวาย

กรุวัดดงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,460

พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง ต้นกำเนิด "พระเงี้ยวทิ้งปืน" ชนเผ่าหนึ่ง มีชื่อว่า เงี้ยว อาศัยอยู่ตามพื้นที่สูงบนเขา แล้วย้ายรกรากมาตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันออกของประเทศพม่า ตรงบริเวณที่มีชายแดนทางใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับล้านนาของไทย เป็นที่ตั้งเผ่าพันธุ์ ตลอดระยะเวลากว่าศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 19,903

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 36,052

พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไป

 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,367

กรุวัดพระนอน

กรุวัดพระนอน

ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,627

กรุวัดช้างรอบ

กรุวัดช้างรอบ

ที่ตั้งกรุพระวัดช้างรอบ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พระท่ามะปราง พระนางพญากำแพง พระเม็ดมะเคล็ด พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระท่ามะปราง พระลีลากำแพง พระอู่ทองกำแพง พระกลีบบัว พระงบน้ำอ้อยพิมพ์สิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,877

กรุวัดหนองลังกา

กรุวัดหนองลังกา

จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,208

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียงพระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่าใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 26,352

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่ พุทธลักษณะพระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้ เนื้อดิน เนื้อว่านล้วนๆ เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน) เนื้อชิน ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง,เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า1 สี ในองค์เดียวกัน) รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 19,652

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 6,273