พระลีลาหน้าเงิน

พระลีลาหน้าเงิน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 11,851

[16.4746251, 99.5079925, พระลีลาหน้าเงิน]

        พระลีลาหน้าเงินและลีลาหน้าทองนี้เป็นพระที่ท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนได้มาเมื่อครั้งในอดีตท่านธุดงส์ไปยังสุโขทัยเมื่อท่านมรณภาพแล้วหลวงพ่อสมท่านรวบรวมบรรจุไว้ในสถูปเพื่อแสดงความเคารพบูชาครูอาจารย์ของท่านต่อมาบริเวณสถูป(วัดเมืองรามเก่า)ริมตลิ่งถูกแม่น้ำกัดเซาะหลวงพ่อสมท่านจึงดำริที่จะย้ายสถูปไปอยู่ในวัดเมืองรามปัจจุบันท่านได้ขอแรงกำลังพลจากทหารค่าย ม.พันสิบ จังหวัดทหารบกน่านนำกำลังและเครื่องมือไปรื้อถอนเพื่อย้ายอัฐิไปบรรจุยังสถูปที่แห่งใหม่ การรื้อถอนครั้งนี้ ทำให้พระลีลาหน้าเงิน / หน้าทอง แตกกรุออกมา ท่านจึงให้พระเณรที่ไปด้วย รวบรวมเก็บไว้ส่วนหนึ่งและแจกให้กับทหารทุกคนที่ไปช่วยคนละองค์ตามประสาวัยคะนองของพลทหารในค่ายม.พันสิบ ทำให้มีการแอบเอาพระลีลาหน้าเงิน /หน้าทอง ที่หลวงพ่อแจกให้ไปลองยิงด้วยปืนเอม16ดู ผลปรากฏว่ายิงไม่ออกสักนัด เมือหันปลายกระบอกปืนขึ้นฟ้า ลูกปืนพรั่งพรูออกมาเสียงดังสนั่นความนี้รู้ไปถึงนายทหารในค่าย วันรุ่งขึ้น พวงมาลัยรถทุกคัน มุ่งหน้าไปวัดเมืองราม ไปหาหลวงพ่อเพื่อขอรับแจก หรือ บูชาพระที่แตกกรุออกมาหลวงพ่อท่านก็ใจดี แจกให้ไม่อั้น ในส่วนที่เหลือ หลวงพ่อคัดเก็บไว้จำนวนหนึ่ง
        นอกนั้นก็แจกพระเณรในวัดจนหมดจนกระทั่ง ในปี 2534-35 หลวงพ่อสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมในวัดเมืองราม ไม่มีจ่ายค่างวดปูนซีเมนต์ ลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิด จึงแนะนำหลวงพ่อให้นำพระที่คัดเก็บไว้ออกให้บูชในราคาคู่ละ 3,000 บาท จนสามารถได้ปัจจัยพอที่จะจ่ายค่าปูนได้ พระส่วนใหญ่จึงอยู่ในมือของพ่อค้าในตลาดอ.เวียงสาที่เคารพบูชาหลวงพ่อเมื่อพระอยู่ในมือพ่อค้าที่ไม่ใช่นักเลงพระ พระจึงไม่มีออกมาหมุนเวียน ทำให้การซื้อหาไม่ค่อยได้มีคนบางกลุ่ม ถือโอกาสไปหาพระที่มีลักษณะใกล้เคียงที่ท่าพระจันทร์มาสวมรอย เรื่องนี้รู้ไปถึงลูกศิษย์บางคนจึงรวบรวมพระลีลาทั้งหน้าเงินและหน้าทองที่วางขายกันเกลื่อนในยุคนั้นไปให้หลวงพ่อดู ท่านมองแล้วบอกว่า มีบางองค์ใช่ บางองค์ไม่ใช่พระที่ออกมาจากสถูป จากนั้นหลวงพ่อได้แยกพระออกจากกันโดยกันไว้ส่วนหนึ่งว่านี่ใช่นอกนั้นไม่ใช่ ซึ่งลูกศิษย์ที่นำพระมาให้ดุนั้นก็รู้สึกแปลกใจสุดๆว่าหลวงพ่อท่านรู้ได้อย่างไร เพราะท่านสามารถแยกได้ถูกต้องทั้งหมดหลักในการพิจารณาพระชุดนี้ดูที่รอยตะเข็บใต้ฐานและดูเนื้อด้านหลังจะมีรอยย่นคล้ายหนังช้างการเล่นหาค่อนข้างยากเพราะเก๊ฝีมือใกล้เคียงต้องมีของแท้ไว้ดูเปรียบเทียบและที่สำคัญต้องมีที่มาไม่ใช่ไปได้ตามแผงพระทั่วไปพระคู่นี้ได้มาจากพระทรัพย์อดีตสามเณรวัดเมืองรามในยุคนั้น สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในการดูได้ระดับหนึ่ง

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=122&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระลีลาหน้าเงิน. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=189&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=189&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

 เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

เหรียญพระวิบูลวชิรธรรม

พระวิบูลวชิรธรรม นามเดิม สว่าง นามสกุล เจริญศรี นามฉายา อุตตโร นามบิดา ขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นามมารดา หอม หรือ ก้อนดิน เกิด ณ บ้านน้ำหัก ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2426 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) แต่เป็นบุตรคนเดียวของคุณแม่หอมหรือก้อนดิน ทั้งนี้เนื่องจากโยมมารดาของท่านเป็นภรรยาคนที่ 2 ของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) นั่นเอง มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน 5 คน ซึ่งถึงแก่กรรมไปหมดแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะถึงแก่มรณภาพ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,356

พระกำแพงเม็ดมะลื่น

พระกำแพงเม็ดมะลื่น

ยอดพระกรุแห่งลานทุ่งเศรษฐีพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาลิไทพระบรมกษัตริย์ในลำดับที่5แห่งราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงได้ทรงทำนุบำรุงและทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาหาความรู้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัยของพระองค์นั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากดังปรากฏ เป็นอนุสรณ์ ณ ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร และที่อื่นๆ อีกมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,645

กรุวัดพระสิงห์

กรุวัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์ เป็นวัดขนาดย่อมยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตรสี่เหลี่ยม มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่ 1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุ ด้วยศิลาแลง ที่ตั้งกรุพระวัดสิงห์ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางเสน่ห์จันทร์ พระอู่ทองกำแพง พระนางพญากำแพง และพิมพ์อื่นๆ 

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,641

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 41,965

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 13,334

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 27,362

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,628

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 12,754

กรุอาวาสน้อย

กรุอาวาสน้อย

ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระประธานพร พระท่ามะปราง พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงฐานสำเภา พระกำแพงคืบ พระลีลากำแพง พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง พระประธานพร พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระยอดขุนพล พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร พระซุ้มยอ พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงพิมพ์รัศมี พระกำแพงห้าร้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,421

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

การพิจารณาพระเนื้อดินก็พอๆ กับพระเนื้อชิน กล่าวคือต้องจดจำพุทธลักษณะรูปพิมพ์ของพระแต่ละกรุให้มากเป็นหลัก ให้พิจารณาว่าพระกรุนี้เป็นอย่างนี้ และพระกรุนั่นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น ผิวของพระเครื่องเนื้อดิน พระส่วนมากเมื่อขึ้นจากกรุจะจับเกือบติดแน่นกับองค์พระหนามาก ขนาดนำมาล้างและขัดปัดแล้วก็ยังไม่เป็นเนื้อพระ และส่วนมากคราบกรุจะเคลือบติดแน่นอยู่ตามซอกขององค์พระเครื่องโดยธรรมชาติ จะแตกต่างกับคราบที่เลียนแบบใช้ดินใหม่ป้ายติดเฉพาะบนผิวจะไม่แน่นเหมือนคราบธรรมชาติ บางกรุองค์พระจะไม่มีคราบกรุก็มี

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 9,584