พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 17,743

[16.5001512, 99.4940454, พระท่ามะปราง]

         "เงี้ยว" ต้องกรำศึกสงครามมาตลอดไม่ว่างเว้น แย่งชิงอำนาจกันเอง รวมทั้งศึกภายนอก ทั้งคะฉิ่น กะเหรี่ยง ฯลฯ จนเมื่อสถานการณ์เริ่มสงบ หลังอังกฤษเข้ายึดครองพม่า และรวมเอาดินแดนเงี้ยวไว้กับอินเดีย ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เงี้ยวจึงถูกควบคุมโดยชาติมหาอำนาจใหญ่ เช่น จีน พม่า และอังกฤษ ต่อมาเงี้ยวเริ่มเข้ามาค้าขายกับไทยผ่านพม่า เข้ามาทางภาคเหนือออกเส้นทางหลวงพระบาง และยูนนาน จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีเงี้ยวบางส่วนตกค้าง และทำมาหากินอยู่ในดินแดนไทยถึงยุคกลางรัตนโกสินทร์ ช่วงนั้นภาคเหนือของไทยยังสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด บริษัทต่างชาติจากอังกฤษเข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ จ้างเงี้ยวเป็นแรงงานแผ้วถางป่า ต่อมาผู้ครองแคว้นต่างๆ ได้ยุยงให้เงี้ยวแข็งข้อกับไทยมาจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2445 พะกาหม่อง และสะลาโปไชย เป็นหัวหน้าเงี้ยว ได้นำกำลังสมุนกว่า 50 คน บุกสถานีตำรวจเมืองแพร่ ด้านประตูชัยที่มีกำลังพลอยู่เพียง 10 คน ตำรวจไม่สามารถต้านทานได้ เงี้ยวจึงบุกสังหาร ปล้นทรัพย์สิน ทำลายคลังหลวง และไปจับพระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ แต่ท่านและครอบครัว หลบหนีออกไปได้ หนีไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ พระยาพิริยวิไชย เพื่อขอกำลังเข้าต่อสู้ปราบปราม แต่ได้รับการปฏิเสธ เพราะไม่มีทั้งกำลังคนและอาวุธ ท่านจึงหนีออกจากเมืองแพร่ หวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นต่อไป ต่อมาเงี้ยวปล่อยนักโทษในเรือนจำให้ออกมาร่วมด้วย จึงมีกำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้น เป็นกองกำลังกล้าแข็งกว่า 300 คน จนกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้สำเร็จพะกาหม่อง และสะลาโปไชย ได้เชิญเจ้าเมืองแพร่ ร่วมด้วย เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงคราม และเจ้านายบุตรหลานคนอื่นๆ ตกลงร่วมกันต่อต้านกองทัพรัฐบาลไทย กองโจรเงี้ยวออกตามล่าข้าราชการฝ่ายไทย และคนไทยภาคกลางที่หนีแตกพ่ายไป นำกำลังไปล้อมจับได้ และนำตัวกลับเมืองแพร่ ตลอดการเดินทางกลับมีการบังคับทรมานขู่เข็ญสารพัดให้ยอมจำนน และเข้าร่วมกับกองโจรเงี้ยวด้วยแต่พระยาไชยบูรณ์ไม่เกรงกลัว จนถูกโจรเงี้ยวฆ่าตาย พร้อมด้วยเสนามาตย์ ยกกระบัตรศาล หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วยขุนพิพิธ ข้าหลวงคลัง ผู้พิพากษา อัยการ และข้าราชการผู้น้อยต่างๆ อีกมาก ถือเป็นการสูญเสียข้าราชการไทยครั้งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกทัพหลวงขึ้นไปปราบปราม และส่งกำลังจากกองทัพเมืองใกล้เคียง ทั้งเมืองพิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้าร่วมด้วย โดยให้ถือว่าผู้ปฏิบัติการทั้งหมดเป็นกบฏก่อการร้าย เรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่กองโจรเงี้ยว ออกมาต่อสู้โดยแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำโดยสะลาโปไชย ไปยันทัพรัฐบาลที่ด้านใต้ อีกส่วนหนึ่งนำโดยพะกาหม่อง ยกไปทางด้านตะวันตก หวังบุกตีนครลำปาง เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นแต่ทางนครลำปาง ได้เตรียมกำลังไว้ป้องกันเต็มที่ เป็นเหตุให้พะกาหม่อง ถูกยิงเสียชีวิต กองโจรจึงแตกพ่ายสลาย
         ขณะเดียวกัน ช่วงที่พระยาสุรศักดิ์มนตรี นำทัพหลวงผ่านมาถึงเมืองพิษณุโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการขุดพบพระกรุที่วัดท่ามะปราง มาก่อนแล้ว 5 ปี โดยฝีมือคนร้ายขโมยขุดกรุ พระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงได้ทำพิธีเปิดกรุพระวัดท่ามะปราง และได้นำพระจากกรุนี้จำนวนมาก ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน แจกจ่ายแก่ทหาร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับเงี้ยวปรากฏว่า ทหารไทยที่ห้อยพระกรุวัดท่ามะปราง ถูกกระสุนปืนยิงล้มคว่ำล้มหงาย แต่ไม่เป็นไร กระสุนไม่ระคายผิวหนัง สามารถลุกขึ้นมายิงต่อสู้กับพวกเงี้ยวได้อีก จนโจรเงี้ยวเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์ ถึงกับใจเสีย จึงพากันหนีแตกกระเจิงไปทันที
        พระท่ามะปรางกรุนี้ จึงมีชื่อว่า พระท่ามะปราง กรุเงี้ยวทิ้งปืน พระท่ามะปราง เป็นพระที่ขุดพบจากหลายกรุ หลายเมือง แต่ต้นกำเนิดแห่งแรก คือ กรุวัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระที่มีอายุความเก่าสูงกว่าทุกๆ เมือง มีทั้งเนื้อดิน (ค่อนข้างละเอียด) และเนื้อชินเงิน มักปรากฏสนิมตีนกา ผิวสีดำพุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาวางแนบหัวเข่าด้านขวา หัวเข่าอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ ที่เรียกว่า นั่งแบบเข่าใน พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเกศแบบปิ่นยาวเล็กน้อย เม็ดพระศกแบบตาข่ายสี่เหลี่ยม พระกรรณยาวประบ่า พระกรอวบล่ำ ซอกพระกรแคบ พระนาภี (สะดือ) เป็นแอ่งบุ๋มเล็กๆ  พระวรกายชะลูดกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 2.3 ซม.สูงประมาณ 3.8 ซม. โดยมีขนาดสูงใหญ่กว่าพระท่ามะปราง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกเล็กน้อยพระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง (เงี้ยวทิ้งปืน) ส่วนมากจะไม่ค่อยสวย ผิวดำ และผุกร่อน ขาดความสมบูรณ์ แต่ราคาเช่าหาร่วมแสน ถ้าเป็นพระสภาพดี มีคราบปรอทขาว สวยสมบูรณ์คมชัด ซึ่งมีน้อยมาก สนนราคาต้องหลักแสน ถึงสองแสนขึ้นไป พุทธคุณ พระท่ามะปรางทุกพิมพ์ ทุกกรุ ถือว่ายอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี รวมทั้งเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ กรุเงี้ยวทิ้งปืนด้วยแล้ว ด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าเป็นเลิศสุดๆ ปัจจุบันชาวเมืองแพร่ ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ สดุดีวีรกรรมของท่าน ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และทุกวันที่ 25 กรกฎาคม ชาวเมืองแพร่จะมีพิธีวางพวงมาลาสดุดีวีรกรรมพระยาไชยบูรณ์ เป็นประจำทุกปี

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=129&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระท่ามะปราง. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=192&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=192&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499″… จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชร สร้างถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2499” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ …

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 3,347

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

การพิจารณาพระเนื้อดินก็พอๆ กับพระเนื้อชิน กล่าวคือต้องจดจำพุทธลักษณะรูปพิมพ์ของพระแต่ละกรุให้มากเป็นหลัก ให้พิจารณาว่าพระกรุนี้เป็นอย่างนี้ และพระกรุนั่นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น ผิวของพระเครื่องเนื้อดิน พระส่วนมากเมื่อขึ้นจากกรุจะจับเกือบติดแน่นกับองค์พระหนามาก ขนาดนำมาล้างและขัดปัดแล้วก็ยังไม่เป็นเนื้อพระ และส่วนมากคราบกรุจะเคลือบติดแน่นอยู่ตามซอกขององค์พระเครื่องโดยธรรมชาติ จะแตกต่างกับคราบที่เลียนแบบใช้ดินใหม่ป้ายติดเฉพาะบนผิวจะไม่แน่นเหมือนคราบธรรมชาติ บางกรุองค์พระจะไม่มีคราบกรุก็มี

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 9,072

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา     

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,535

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,867

พระลีลา

พระลีลา

พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 13,757

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 11,905

กรุตาลดำ

กรุตาลดำ

ที่ตั้งกรุพระวัดตาลดำ อยู่ทิศตะวันออกของกรุเจดีย์กลางทุ่ง ประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถูกชาวบ้านปราบเป็นที่ทำการเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางพญากำแพง พระอู่ทองกำแพง พิมพ์ใหญ่ พระลูกแป้ง คู่ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกลีบบัว พระลูกแป้ง เดียว พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,820

กรุเจดีย์กลางทุ่ง

กรุเจดีย์กลางทุ่ง

ที่ตั้งกรุพระเจดีย์กลางทุ่ง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไป ประมาณ 600 เมตร ประเภทพบที่ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พิมพ์ลึก พระอู่ทองกำแพง พิมพ์เล็ก พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพน พิมพ์บัวชั้นเดียว พระปรางมารวิจัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 6,650

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับพ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่างๆ จำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 6,273

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,141