สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้ชม 6,514

[16.4753111, 99.5247539, สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ]

         สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด นางสาวคนนั้นจึงวิ่งด่วนเข้าไปในห้อง หยิบได้ขันล้างหน้าใบหนึ่งแล้วจ้วงตักน้ำในหม้อกลัน แล้วล้วงไปหักดอกบัวในหนองน้อยข้างโรงนั้นสองสามดอก แล้วฉีกกลีบเด็ดเอาแต่เกษรบัวโรยลงไปในขันน้ำจนเต็ม แล้วนำไปส่งให้บนหลังม้า เจ้าคุณแม่ทัพรับเอามา เป่าเกษรเพื่อแหวกหาช่องน้ำ ต้องเอาริมฝีปากเบื้องบนเม้มเกสรไว้ แล้วดูดดื่มน้ำจนหมดขันด้วยกำลังอยากกระหายน้ำ ครั้นดื่มน้ำหมดแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพจึงถามนางสาวคนนั้นว่า เรากระหายน้ำอุตส่าห์บากหน้ามาขอน้ำเจ้ากิน เหตุไฉนจึงแกล้งเรา เอาเกสรบัวโรยสงส่งให้ เรากินน้ำของเจ้าลำบากนัก เจ้าแกล้งทำเล่นแก่เราหรือ นางสาวคนนั้นตอบว่า ดิฉันจะได้คิดแกล้งท่านนั้นก็หาไม่ ที่ดิฉันเอาเกษรบัวโรยในขันให้เต็มนั้น เพราะดิฉันเห็นว่าผากแดดแผดลมเหนื่อยมา และกระหายน้ำด้วย ก็เพื่อจะป้องกันเสียซึ่งอันตรายแห่งท่าน เพื่อจะกันสำลักน้ำและสะอึกน้ำและกันจุกแน่นแห่งท่านผู้ดื่มน้ำของดิฉัน ถ้าท่านไม่มีอันตรายในการดื่มน้ำแล้ว น้ำจะได้ทำประโยชน์แก้กระหายแห่งท่าน ดิฉันจะพลอยได้ประโยชน์เพราะให้น้ำแก่ท่าน ท่านสมปรารถนาแล้วก็จะเป็นบุญแก่ดิฉัน เหตุนี้ดิฉันจึงโรยเกษร....เจ้าคุณแม่ทัพฟังคำนางสาวตอบอย่างไพเราะอ่อนหวาน ถ้อยคำที่ให้การมานั้นก็พอฟัง จึงลงจากหลังม้าแล้วถามว่า ตัวของเจ้าเป็นสาวเต็มเนื้อแล้ว มีใครๆ มาหมั้นหมายผูกสมัครรักใคร่เจ้าบ้างหรือยัง นางสาวบอกว่ายังไม่เห็นมีใครๆ มารักใคร่ หมั้นหมายดิฉัน และดิฉันก็ยังไม่ได้ไปเที่ยวบอกใครว่าเป็นสาว มัวแต่หลบหัวซ่อนตัวอยู่ ด้วยบ้านเมืองเกิดยุ่งนุงถุงมานานจนกาลบัดนี้ จึงมิใคร่มีใครเห็นว่าดิฉันเป็นสาว เจ้าคุณแม่ทัพว่า ถ้ากระนั้นเราเองเป็นผู้ได้มาเห็นเจ้าเป็นสาวก่อนใคร เจ้าต้องยอมตกลงเป็นคู่รักของเรา เราจะต้องเป็นคู่ร่วมรักของเจ้าสืบไป เจ้าจะยินยอมเป็นคู่รัก ของเราโดยสุจริตหรือว่าประการใด นางสาวตอบว่า การที่ท่านจะมาเป็นคู่รักของดิฉันนั้น ก็เป็นพระเดชพระคุณยิ่งอยู่แล้ว แต่ทว่าการจะมีผัวมีเมียกันตามประเพณีนั้น ดิฉันไม่ทราบเรื่อง จะว่าประการใดแก่ท่าน ก็ไม่มีอะไรจะว่า เรื่องการผัวการเมียนั้นท่านต้องเจราจากับผู้ใหญ่ จึงจะทราบการ เจ้าคุณแม่ทัพถามว่า ผู้ใหญ่ของเจ้าไปไหน นางสาวตอบว่าไปรดน้ำถั่วจวนจะกลับแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพขยับเดินเข้าให้ใกล้ นางสาวไพล่วิ่งปรู๋ออกไปแอบที่หลังโรงเลยไม่เข้าหา เจ้าคุณแม่ทัพ ก็ต้องนั่งเฝ้าโรงคอยท่าบิดามารดาของนางสาวต่อไป จนเกือบตะวันตกดินจวนค่ำ

          ฝ่ายตาผล ยายลา กลับมาถึงโรงแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพได้เห็นแล้วจึงยกมือขึ้นไหว้ ตายายก็น้อมตัวก้มลงไหว้ตอบ ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็ก้มลงไหว้ให้ต่ำลงไปอีก ตายายก็หมอบลงไปไหว้อีก ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็หมอบไหว้อยู่นั้น ต่างคนต่างหมอบแต้วกันอยู่นั่นทั้งสองฝ่าย ฝ่ายยายแกเป็นคนปากเร็ว แกนึกขันและประหลาดใจแกจึงเปิดปากถามออกไปก่อนว่า นี่ท่านเป็นขุนนางมาแต่บางน้ำบางกอก เหตุไฉนมาหมอบกราบไหว้ข้าเจ้า เป็นชาวบ้านนอกเป็นชาวทุ่งชาวป่า เป็นคนยากจน ท่านจะมาหมอบไหว้ข้าพเจ้าทำไม... เจ้าคุณแม่ทัพบอกว่า ฉันจะสมัครเข้ามาเป็นลูกเขยท่านทั้งสองจ้ะข้ะ ยายถามว่าท่านเห็นดีเห็นงามอย่างไร เห็นลูกสาวฉันเป็นอย่างไร ท่านจึงจะมายอมตัวเป็นลูกเขยเล่า เจ้าคุณแม่ทัพว่า ฉันเห็นบุตรสาวท่านดีแล้วพอใจแล้วจึงเข้ามาอ่อนน้อมยอมตัวเป็นลูกเขยท่าน แล้วเจ้าคุณแม่ทัพ เล่าถึงกาลแรกมาขอน้ำและนางเอาเกสรบัวโรยลงและได้ต่อว่า นางได้โต้ตอบถ้อยคำน่าฟังน่านับถือจึงทำให้เกิดความรักความปราณีขึ้น และตั้งใจจะเลี้ยงดูจริงๆ จึงต้องทนอยู่คอยท่า
          เพื่อจะแสดงความเคารพและขอเป็นเขย ขอให้แม่พ่อมีเมตตา กรุณาเห็นแก่ไมตรีที่ได้มาอ่อนน้อมพูดจาโดยเต็มใจจริง ๆ ไม่ได้มีแยบยลอะไร ตั้งใจจะช่วยทะนุบำรุงนางสาวกับพ่อแม่ให้บริบูรณ์พูลเถิด ไม่เริดร้างจริงๆ ตามวาจาที่ว่ามานี้ทุกอย่าง ขอพ่อแม่ได้โปรดอนุญาตยกนางสาวลูกนั้นให้เป็นสิทธิแก่ฉันในวันนี้ ยาย ตาแกร้องขึ้นด้วยความตกใจว่า....โอตายจริงข้าเจ้าเป็นคนยากจนข่นแค้นและต่ำศักดิ์ ทั้งผ้าผ่อนที่นอนก็เหม็นตืดเหม็นสาบ ทั้งเครื่องเย่ามาเรือนก็ขัดขวาง ทั้งถ้วยชามรามไห ที่ดีงามฏ้ไม่มีฉิบหายป่นปี้แต่ครั้นบ้านเมืองเกิดยุ่งนุงนัง หลายครั้งหลายครามา แลตัวนางหนูเล่าก็ยังไม่เป็นภาษา ทั้งจริตกิริยาก็ยังป่าเถื่อน ไม่เหมือนชาวใต้ จะใฝ่สูงเกินศักดิ์เกินสมควรไปละกระมังพ่อคุณ
          เจ้าคุณแม่ทัพว่า ข้อนั้นพ่ออย่าแม่มีความวิตกหวาดกลัวอะไรเลย ข้อสำคัญก็คือแม่พ่อยกให้แม่พ่อยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ฉันเด็ดขาดแล้ว ต่อไปเป็นหน้าที่ของฉันฝ่ายเดียวตามที่พ่อแม่ยกขึ้นเป็นทางปรารมภ์นั้น เป็นธุระของฉันหมดทุกอย่างขอแต่วาอย่าเกี่ยงงอขัดขวางดิฉันเลย ยายลา ตาผล ขอทุเลาถามเจ้าตัวว่า มันอยากมีผัวหรืออยางไรไม่ทราบ แล้วก็ออกไปตามหาที่หลังโรง ตายายพูดจากับลูกสาว ลูกสาวพูดกับพ่อแม่ ได้ยินแต่กระจู๋กระจี๋กระเส่าๆ กระซิบกระซาบอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็กลับมา แล้วนั่งลงถามว่า ในเวลานี้ท่านก็มาแต่ตัวกับม้าตัวหนึ่ง ถ้าหากว่าดิฉันทั้งสองจะพร้อมใจยกอีงุดลูกสาวให้เป็นเมียท่านท่านจะจัดการประการใดแก่ดิฉันเป็นเพื่อให้เป็นมงคล จงว่าให้ดิฉันฟังเถิดเจ้าข้ะ..
.. เจ้าคุณแม่ทัพ ถอดแหวนออกจากนิ้วแล้วบอกว่า แหวนวงนี้มีราคาสูงถ้าว่าท่านบิดามารดายินยอมพร้อมใจกัน ยกแม่งุดให้เป็นเมียเป็นสิทธิ์แก่ฉันแล้ว ฉันจะยกแหวนวงนี้ ตีราคาทำสัญญาให้ไว้เป็นสินถ่ายยี่สิบช่าง คิดเป็นทุนเป็นค่าทองหมั้น ขันหมากผ้าไหว้อยู่ในยี่สิบชั่ง ทั้งค่าเครื่องเย่าเครื่องเรือนเบี้ยเลี้ยงค่าเลี้ยงดู ค่าเครื่องเส้นวักตั๊กแตนเสร็จในราคา 20 ช่าง ด้วยแหวนงนี้ สองตายายได้ฟังดีใจเต็มใจพร้อมใจ ตกลงยกลูกสาวให้ตามปรารถนา เจ้าคุณแม่ทัพก็จัดแจงยืมพานปากกระจับทองเหลืองมาแล้วเขียนสัญญาถ่ายแหวนแล้วเอาใบตองรองก้นพาน แล้ววางแหวนที่ว่านั้นลงบนใบตองรองในพาน เชิญเข้าไปคุกเข่าส่งให้ตายายๆ ก็ให้ศีลให้พร เป็นต้นว่าขอให้พ่อมีความเจริญด้วยลาภและยศ ให้เป็นเจ้าคนนายคนเถิด แล้วจัดแจงหุงข้าวต้มแกง พล่ายำตำน้ำพริก ต้มผักเผาปลาเทียบสำรับตามป่าๆ แล้วเชิญให้อาบน้ำทาดินสีพอง ยายตาก็อาบน้ำ ลูกสาวก็อาบน้ำ ตาตักน้ำให้ม้ากิน พาไปเลี้ยงให้กินหญ้า ครั้นเจ้าคุณอาบน้ำทาดินสีพองแล้ว ลูกสาวทาขมิ้นแล้วยายก็ยกสำรับปูเสื่อลำแพน แล้วเอาผ้าขาวม้าปูบนเสื่อลำแพน ยายเชิญเจ้าคุณแม่ทัพให้รับประทาน ยายตาก็รับประทานพร้อมกัน นางงุดนั้นให้กินภายหลัง ครั้นรับประทานอาหารแล้วต่างคนนั่งสนทนากัน ครั้นเวลาสี่ทุ่มจึงพาลูกสาวออกมารดน้ำรดท่าเสร็จแล้วก็ส่งตัวมอบหมายฝากฝังตามธรรมเนียมของชาวเมืองกำแพงเพชร อันเคยทำพิธีมาแต่ก่อน
         ส่วนเจ้าคุณแม่ทัพรับตัวแล้ว ก็หลับนอนด้วยนางงุดในกระท่อมโรงนา จนรุ่งสางสว่างฟ้าแล้ว ตื่นขึ้นอาบน้ำ รับประทานอาหารแล้วก็ลาตายาย ขึ้นม้ามาบัญชาการที่กองทัพ พอเวลาค่ำสั่งการเสร็จสรรพแล้ว ห่อเงิน 20 ชั่งมาสู่โรงบ้านปลายนา ถ่ายแหวนคืนสัญญาแล้วก็หลับนอน เช้ากลับค่ำไปหา เป็นนิยมมาดังนี้ แม่ทัพนายกองทั้งปวงจะได้ล่วงรู้และร่ำลือให้อื้อฉาวก็เป็นอันว่าหามิได้ แต่บุตรชายของเจ้าคุณแม่ทัพ ซึ่งนอนอยู่ในค่ายมีอายุแปดขวบโดยปี จะรู้ก็เข้าใจว่าไปดูแลตรวจตราบัญชาการ แต่เป็นอยู่ดังนี้นานประมาณเดือนเศษ ตามสังเกตรู้ว่านางงุดตั้งครรภ์ ต่อแต่นั้นก็เพียงแต่ไปมาถามข่าว ครั้นมีท้องตราหากองทัพกลับ เจ้าคุณแม่ทัพก็ไปร่ำลา และสั่งสอนกำชับกำชาโดยนานัปการจนนางเข้าใจราชการตลอดรับคำทุกประการ แล้วท่านก็คุมกองทัพกลับกรุงธนบุรี
         ทั้งหมดนี้เป็นคำทุกตัวอักษรจากหนังสือชีวประวัติสมเด็จพุฒาจารย์โต ของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เมื่อเจ้าคุณแม่ทัพกลับไปแล้ว ตาผลยายลา แม่งุด ก็คิดค้าขายขึ้นล่อง ไปธนบุรีและเมืองเหนือ ล่องมาถึงธนบุรี (อาจมาหาเจ้าคุณแม่ทัพ) ข้ามมาจอดเรือที่บางขุนพรหม สมเด็จพุฒาจารย์โตเกิดที่นั่น เมื่อเติบใหญ่ได้ศึกษาหลายสำนัก โดยบวชเป็นเณรศึกษาทั้งวิชาโลกวิชาธรรมและอาถรรพณ์เวทย์จนชำนาญในทุกสาขา เป็นที่เลื่องลือมาก ต่อมาตายาย ย้ายไปอยู่เมืองพิจิตร พออายุ 18 ปี ก็ไปฝากอาจารย์แก้ว วัดบางลำพูบน แล้วได้ไปเรียนกับพระโหราธิบดี พระวิเชียรกรมราชบัณฑิต เข้าถวายตัวกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร ต่อมาได้ไปอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช(มี) เมื่อหลวงพ่อโตอายุได้ 54 ปี โยมงุด ถึงแก่กรรม จึงเอาทรัพย์ทั้งหมดมาสร้างพระนอน ที่วัดขุนอินทรประมูล จังหวัดอ่างทอง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพุฒาจารย์(โต) ท่านมรณภาพเมื่ออายุ 84 ปี เมื่อพุทธศักราช 2415 รวมเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม 21 ปี คุณงามความดีต่อแผ่นดินของท่าน ได้รับยกย่องอย่างสูงในทุกวงการ
         สมเด็จพุฒาจารย์โต หรือหลวงพ่อโต เสด็จมาเยี่ยมญาติที่กำแพงเพชร หลายเพลา ได้ประทับพักแรมที่วัดเสด็จ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อวัดเสด็จก็เป็นได้ จากเอกสารประวัติเจ้าเมืองกำแพงเพชรครั้งรัชกาลที่ 1-5 ซึ่งทายาทเจ้าเมืองกำแพงเพชร คุณปฐมพร นุชนิยม นำเสนอไว้ว่า เมื่อปลายรัชกาลที่ 3 พระยากำแพงเพชรได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ท่านเป็นธิดาของพระยารณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นป้า หลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานหีบศีลหน้าเพลิง (ไฟพระราชทาน) และจัดการศพที่หาดทราย หรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธิน ซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม
          ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผุ้หญิงแพง เป็นป้า สมเด็จพุฒาจารย์ ได้เสด็จไปประพาสในที่ต่างๆ ถึงวัดเสด็จ เดิมชื่อวัดไชยพฤกษ์ สังเกตเห็นปลวกอยู่แห่งหนึ่ง คือที่มณฑปพระพุทธบาทสวมไว้นั้น จึงเสด็จเข้าไปยืนหลับพระเนตรอยู่ประมาณ 10 นาที แล้วลืมพระเนตรตรัสกับพระยากำแพงเพชรผู้เป็นหลานว่าให้ขุดปลวกเดี๋ยวนี้ มีใบเสมาจารึก เมื่อขุดปลวกก็พบใบเสมานั้นจริง เมื่อล้างน้ำทำความสะอาดแล้ว ทรงอ่านและแปลศิลาจารึก พร้อมเสวยเพลในวัดนั้น เมื่อแปลจารึกแล้วก็มีรับสั่งว่า มีพระธาตุอยู่ฝั่งโน้น ฝั่งตะวันตกด้านวังแปบ ให้รีบหาคนไปถากถาง พระยากำแพงทำตามรับสั่งก็พบพระธาตุ ปัจจุบันคือวัดพระบรมธาตุ มีพระธาตุครบถ้วน จึงได้ย้ายเชลย ชาวลาว 100 ครอบครัวที่อยู่เกาะยายจัน วัดป่าหมู เป็นเลกเฝ้าพระธาตุไปอยู่ตำบลนครชุม.จนปัจจุบัน ส่วนวัดชัยพฤกษ์กลายเป็นวัดเสด็จ เพราะสมเด็จพุฒาจารย์โตเสด็จมาประพาสวัดนี้.....
          ภายในวิหารสมเด็จพุฒาจารย์โต นอกจากพระพุทธรูป ซึ่งเป็นพระประธานแล้ว ยังมีรูปหล่อของ สมเด็จพุฒาจารย์โต ประจำอยู่ วัดเสด็จจึงเป็นวัดที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีพระบรมธาตุประดิษฐานอยู่ ในเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งปรักหักพังไปตามกาล ส่วนยอดพระเจดีย์ยังจึงให้เห็นประจักษ์มีผู้คนมากราบไหว้มิได้ขาด ปัจจุบันพระบรมธาตุที่หายไปนั้นอาจบรรจุไว้ที่ พระเจดีย์หลังพระประธานในอุโบสถ แต่ยังหาหลักฐานมิได้

คำสำคัญ : สมเด็จพุฒาจารย์ (โต)

ที่มา : อาจารย์สันติ อภัยราช

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1269&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1269&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดพระบรมธาตุ

กรุวัดพระบรมธาตุ

กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งตั้งกรุวัดพระบรมธาตุ ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปทางตะวันตก จากหัวสะพานเลี้ยวขวาไปประมาณ 900 เมตร  ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่  พระใบพุทรา พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ๋ พระกลีบบัว พระเม็ดขนุนพิมพ์กลาง พระนางพญาเศียรโต พระพูลจีบ พระนางพญากำแพงห้าเหลี่ยม พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระนางพญาตราตาราง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระอูทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะปิดทอง พระเปิดโลก พระกำแพงห้าร้อย พระลีลากำแพง พระงบน้ำอ้อยสิบหกพระองค์ พระลีลากำแพง พระท่ามะปราง พระเชยคางข้ามเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอ พระยอดขุนพล พระนาคปรก พระเม็ดมะลื่น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 11,067

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,139

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 22,123

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499″… จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชร สร้างถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2499” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ …

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 4,465

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา     

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 11,262

พระสามพี่น้อง

พระสามพี่น้อง

ถ้ากล่าวถึงพระสามพี่น้องนั้น มีอยู่มากมายหลายองค์ด้วยกันพระพุทธรูปบางองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระสามพี่น้อง เพราะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดเดียวกัน บ้างก็เรียกเพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันเช่นพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา แต่พระสามพี่น้องที่กล่าวถึงนี้ เชื่อว่าสร้างโดยชายพี่น้องสามคน คนหนึ่งเกิดวันพุธ จึงสร้างพระปางอุ้มบาตร ที่เรารู้จักกันดีในนามหลวงพ่อบ้านแหลม อีกคนเกิดวันพฤหัสจึงสร้างพระปางสมาธิ คือหลวงพ่อโสธร แต่อีกคนไม่ได้สร้างพระประจำวันเกิดแต่สร้างพระเกตุ หรือพระปางมารวิชัย ซึ่งพระปางมารวิชัยองค์นี้แหละที่มีถึงสามวัดที่อ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำวัดของตนเอง คือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ซึ่งบางคนก็เลยรวมเรียกแบบถนอมน้ำใจเหมารวมหมดเลยว่าพระห้าพี่น้อง

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 7,048

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 4,343

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 5,326

พระลีลา

พระลีลา

พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 16,530

เหรียญหลวงพ่อโพธิ์

เหรียญหลวงพ่อโพธิ์

หลวงพ่อโพธิ์วัดท่าไม้แดง กำแพงเพชร รุ่นแรก อัลปากาชุบนิคเกิล แชมป์งานกองบิน 46 พิษณุโลก ปี 52

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,672