พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 7,306

[16.4746251, 99.5079925, พระนางกำแพงขาโต๊ะ]

        เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมืองด้วยเหตุนี้ เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่ในจำนวนนี้ก็มี วัดอาวาสน้อย รวมอยู่ด้วย วัดนี้อยู่ภายในตัวเมืองกำแพงเพชร ได้ขุดพบพระสกุลช่างฝีมือกำแพงเพชร อย่างแท้จริง พระกรุนี้มีหลายพิมพ์ มีอยู่พิมพ์หนึ่งที่องค์พระมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าพระเครื่องทั่วๆ ไป คือ พระกำแพงขาโต๊ะ วัดนี้อยู่เยื้องกับ วัดอาวาสใหญ่ ห่างกันประมาณ 500 เมตร โดยมีทางเข้าแยกจากถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย (ทางแยกนี้อยู่ตรงข้ามวัดอาวาสใหญ่) วัดอาวาสน้อย เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง หลักฐานที่พบคือสถาปัตยกรรมต่างๆ ภายในวัด ล้วนมีขนาดใหญ่โตมาก โดยเฉพาะฐานที่ตั้งของวิหาร และเจดีย์ ฐานวิหารของวัดนี้นับว่ามีความยาวมากที่สุดแห่งหนึ่งของบรรดาสิ่งก่อสร้างในเมืองกำแพงเพชร บนฐานใหญ่นี้เป็นที่ตั้งของวิหาร ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ 1 องค์ เป็นเจดีย์ประธาน ภายในวิหารมีแท่นพระ เข้าใจว่าเป็นแท่นพระประธาน ด้านหลังวิหารใหญ่ ทางทิศตะวันตกมีเจดีย์ 2 องค์อยู่คู่กัน ขนาดไม่ใหญ่นัก ใกล้ๆ กันนั้นมีแนวกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ตรงกลางอีกองค์หนึ่งที่ด้านหลังวัดมีสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งก่อสร้างที่เข้าใจว่าน่าจะเป็น "ส้วม” มีลักษณะเป็นบ่อรูปวงกลม ภายในบ่อตรงกลางมีลักษณะคล้ายโพรงกว้าง ความลึกไม่ทราบแน่ชัด เพราะกิ่งไม้ใบไม้ตกลงไปทับถม แต่ประมาณได้ว่า คงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ปากบ่อปูพื้นด้วยศิลาแลง แต่เว้นช่องเล็กๆ ไว้ตรงกลางยาวประมาณ 1 ศอก กว้าง 1 คืบเศษ ช่องตรงกลางนี้ยกพื้นสูงเล็กน้อยบ่อรูปวงกลมนี้มี 3-4 บ่อ เมื่อสันนิษฐานดูแล้ว สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเดียวคือเป็น “ส้วม” ไม่น่าจะเป็นบ่อน้ำ เพราะไม่สามารถใช้สิ่งใดลงไปตักน้ำได้ อีกทั้งลักษณะการสร้างบ่อน้ำโบราณในเมืองกำแพงเพชร ก็มีเป็นแบบอย่างอื่น เช่น ชอบสร้างเป็นบ่อสี่เหลี่ยม ก่อขอบปากบ่อให้สูง เป็นต้น
         โบราณวัตถุที่พบในระหว่างการขุดแต่ง วัดอาวาสน้อย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2512 เจ้าหน้าที่ได้พบเศษทองชิ้นเล็กๆ มีลักษณะเป็นตุ้มหูแบบเสียบกับใบหู และอาจจะมีแผ่นโลหะเล็กๆ คล้องตรงปลายแหลมกันหลุดอีกชั้นหนึ่งก็ได้นอกจากนี้ยังได้พบพลอยสีขาวเม็ดเล็กๆ 1-2 เม็ดรวมอยู่ พลอยเหล่านี้เจียระไนเป็นเม็ดแล้ว และมีรอยของปรอททาไว้ให้สะท้อนแสงข้างหลังแต่ละเม็ดโบราณวัตถุเหล่านี้คงไม่เก่าไปกว่าสมัยอยุธยา และได้พบรวมกันอยู่ในเจดีย์ศิลาแลงองค์หนึ่งซึ่งหักพังเป็นส่วนมากเมื่อปี 2499 กรมศิลปากรได้ขุดค้นภายในองค์เจดีย์ศิลาแลง บนบานวิหารใหญ่ ปรากฏว่าได้พบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ รวมกันอยู่ เช่น สมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา มีจำนวนมาก กรมศิลปากรได้นำพระพุทธรูปดังกล่าวจำนวนหนึ่งไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครกล่าวสำหรับ พระกำแพงขาโต๊ะ กรุวัดอาวาสน้อย ที่ขุดพบในวัดนี้ สร้างด้วยเนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อดิน พุทธลักษณะ เป็นพระพิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดค่อนข้างใหญ่ ขอบซุ้มเป็นเส้นนูนหนา เว้าตามองค์พระ องค์พระปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานที่มีลักษณะคล้าย ฐานสิงห์ เหมือนขาโต๊ะ อันเป็นที่มาของชื่อพระพิมพ์นี้ คือ พระกำแพงขาโต๊ะ พุทธศิลป์สมัยสุโขทัยยุคปลาย ฝีมือสกุลช่างกำแพงเพชรอย่างแท้จริง โดยได้ถ่ายทอดพุทธลักษณะมาจาก พระบูชาของเมืองกำแพงเพชรทุกอย่าง สังเกตจากฐานขององค์พระที่เรียกว่า “ขาโต๊ะ” เป็นการถอดแบบมาจากพระบูชาที่เรียกว่า พระกำแพงสามขานั่นเอง มิติองค์พระมีลักษณะนูนสูงกว่าพระทั่วไป องค์พระจึงมีความหนาพอสมควร ทำให้เห็นพระพักตร์และทรวดทรงชัดเจน ปรากฏไรพระศกเป็นเส้นนูนเห็นเด่นชัด พระขนง (คิ้ว) ทั้ง 2 ข้างเป็นเส้นหนา และไม่ได้จรดกัน พระขนงด้านขวาสูงกว่าด้านซ้ายอย่างเห็นได้ชัด พระเนตร (ตา) ทั้ง 2 ข้างไม่เป็นเม็ดกลม แต่มีลักษณะเป็นแบบเส้นนูนยาวรี ในส่วนของพระกรรณ (หู) ด้านขวาปรากฏชัดเจน และยาวกว่าด้านซ้าย พระโอษฐ์ (ปาก) เป็นเส้น 2 เส้นโค้งมนลงคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ บริเวณพระอุระ (อก) ปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน จากพระอังสา (ไหล่) ด้านซ้ายยาวลงมาจรดถึงบริเวณบั้นพระองค์ (เอว) ไม่ปรากฏพระนาภี (สะดือ) ให้เห็น มีเส้นประคดเอวอยู่เหนือพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างที่ประสานกันพระกำแพงขาโต๊ะ ยังมีการขุดพบจากวัดอื่นๆ อีกด้วย อาทิ วัดบรมธาตุ วัดช้างล้อม วัดอาวาสใหญ่ วัดป่ามืด ฯลฯ สมัยก่อนนักสะสมพระเครื่อง ต่างพยายามหาพระพิมพ์นี้มาครอบครอง เพราะเป็นพระสวยงามคมชัดพิมพ์หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักดิ์ศรีของ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ยอมรับของนักพระเครื่องทั่วประเทศอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ พระกำแพงขาโต๊ะ มีค่านิยมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และมีราคาสูงในสมัยนั้น แต่พอมาถึงปัจจุบันความนิยมได้ลดน้อยลงไปบ้างด้วยเหตุที่พระมีจำนวนน้อย และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ (สูงประมาณ 5.0 ซม. กว้างประมาณ 3.5 ซม.) ทำให้คล้องคอไม่ค่อยสะดวก สนนราคาจึงไม่แพงมากนัก (สำหรับค่าของเงินในสมัยนี้ เมื่อเทียบกับคุณค่าของพระพิมพ์นี้ ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี) คืออยู่ที่หลักหมื่นต้นถึงหมื่นกลางส่วนด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า พระกำแพงขาโต๊ะ ยอดเยี่ยมทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ และเมตตามหานิยม เป็นอย่างยิ่ง

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=159&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระนางกำแพงขาโต๊ะ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=198&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=198&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,585

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,634

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,419

กรุวัดดงหวาย

กรุวัดดงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,307

กรุหนองพิกุล

กรุหนองพิกุล

ที่ตั้งกรุพระวัดหนองพิกุล อยุู่ตรงข้ามของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก-พิมพ์จิ๋ว พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-กลาง พระพลูจีบ พระฝักดาบ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระกำแพงขาวพิมพ์ใหญ่-กลาง-เล็ก พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงหย่อง พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระท่ามะปราง พระซุ้มยอ พระเม็ดมะลื่น พระเล็บมือนาง พระใบพุทรา พระนางพญากำแพงท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์เม็ดแตง พระนางพญากำแพงตราตาราง พระนาคปรก พระกลีบบัว พระเจ่้าสามพระองค์ พระเจ้าสี่พระองค์ พิืมพ์เชตุพน พระร่วงนั่งสนิมตีนดา พระเชตุพนพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพน พิมพ์เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,450

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499″… จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชร สร้างถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2499” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ …

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 3,604

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อพระกำแพงเปรียบเทียบ ได้แก่ เนื้อทองคำ พระกำแพงสวยๆราคาแพงมาก สวยปานกลางแพงน้อยหน่อย ไม่สวยก็ยังแพงอยู่ดี พระกำแพงจึงได้ชื่อว่า กำ-แพง ไม่ว่าพระจะอยู่ในสภาพใด ราคาจะสูงกว่าจังหวัดอื่นในสภาพเดียวกันเสมอเพราะอะไร การสร้างพระเนื้อดิน วัสดุที่ผสมส่วนใหญ่คือดิน ดินของแต่ละแห่งก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน แร่ธาตุที่อยู่ในดินเมื่อเผาแล้วจะเกิดเนื้อพระสวยงามแตกต่างกัน เนื้อดินกำแพงเพชรได้เปรียบหรือเผาแล้วมีสีสันสวยงามน่าใช้วงการนิยมว่าดูง่ายแยกง่าย การผสมเนื้อพระ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพืชว่าน การผสมพืชว่านมากหรือน้อยอาจจะเกิดจากสัดส่วนที่โบราณาจารย์ได้กำหนดไว้หรือขึ้นอยู่กับการหาพืชว่านยากหรือง่าย การผสมว่านเข้ากับดินทำให้เกิดสภาพเนื้อแตกต่างกับการเผาดินธรรมดา เนื้อพระกำแพงจึงนุ่มตามากกว่าเนื้อพระแห่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเผาเนื้อพระบางแห่งอาจจะมีสูตรผสมใกล้เคียง หรือเอาตำราไปเรียนแบบความแตกต่างอาจจะน้อย ถึงอย่างไรก็ดีถ้าได้ติดตามพระกำแพงบ่อยๆ เนื้อดินของแต่ละแห่งอาจจะใช้เป็นข้อแยกพระแต่ละจังหวัดได้  

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 22,261

พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปโบราณใน 100 ส่วนจะเป็นเนื้อสำริดเสีย 99.5 ส่วน ดังนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป พระพุทธรูปส่วนมากจะถูกสร้างด้วยเนื้อสำริดเท่านั้น ส่วนเนื้อศิลาไม่นำมาเขียนในที่นี้ ศิลปะการสร้าง จะสร้างอย่างประณีตฝีมือเป็นเลิศ เพราะสร้างเสร็จจะไม่มีร่องรอยในการตบแต่งหรือเพิ่มเติมใดๆ พระที่ถูกนำมาบรรจุตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา นับว่านานหลายร้อยปี ฉะนั้นพระกรุใน 100 ส่วน ประมาณ 80 ส่วนจะมีรอยเดาะหรือชำรุดผุกร่อนตามองค์พระจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นโดยเป็นธรรมชาติ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,496

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพง ซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระนางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 7,341

กรุวัดป่ามืด

กรุวัดป่ามืด

ที่ตั้งกรุพระวัดป่ามืด ถนนกำแพง-พรานกระต่ายจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 200 เมตร เลี้่ยวซ้ายไปประมาณ 900 เมตร ถึงวัดป่ามืดนอก แล้ววัดป่ามืดอยู่ทิศตะวันตกติดกัน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเม็ดขนุน พระเปิดโลก พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระลีลากำแพงเพชร พระเม็ดมะลื่น พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่-กลาง พระนางพญาท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระเชตุพน พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พระฝักดาบ พระกลีบจำปา พระเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระประทานพร พระซุ้มยอ พระท่ามะปราง พระนาคปรก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองซุ้มเสมา พระกำแพงใบตำแย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,921