ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้ชม 5,420

[16.2851021, 98.9325563, ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ]

บทนำ
         พิธีเสนเรือน หรือเสนเรือนคือ พิธีเซ่นไหว้ผีเรือนของผู้ไทยดำ ผีเรือนก็คือ ผีบรรพบุรุษ ที่ได้เชิญมาไว้บนเรือน และจัดให้อยู่ ณ มุมห้องหนึ่งที่จัดไว้โดยเฉพาะเรียกว่า “กะล้อห่อง” ซึ่งแปลว่า “มุมห้อง” ซึ่งถือเป็นกลาโหมของบ้าน (ถนอม คงยิ้มละมัย, 2544, น.11)
         ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือญาติสืบสายโลหิตจะแต่งกายแบบธรรมดา และญาติจากการแต่งงานได้แก่ฝ่ายเขยหรือสะใภ้ จะแต่งกายพิเศษด้วยชุด “เสื้อฮี” หรือเสื้อยาวเพื่อเป็น การเคารพผีเรือนและเป็นที่สังเกตให้ผู้มาร่วมงานรู้ว่าเป็นเขยหรือสะใภ้ ก่อนทำพิธีเสนเรือนจะจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ได้แก่ เหล้า หมู 1 ตัว พิธีเสนเรือน เริ่มตั้งแต่ในตอนเช้า โดยมีหมอเสนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในห้อง ผีเรือน ผู้เข้าร่วมพิธีได้แก่ญาติที่อยู่ในสิงหรือตระกูลผีเดียวกัน (ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์, 2559, น.40)
         พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็น การกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน 
         มนู สิงห์เรือง (2550, น.48) ได้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงประเพณีไทยทรงดำ:กรณีศึกษาประเพณีเสนเรือนของชาวไทยทรงดำบ้านหนองเต่าดำ หมู่ที่ 4 ตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาสภาพความเปลี่ยนแปลงประเพณีเสนเรือน และปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงประเพณีเสนเรือนของชาวไทยทรงดำบ้านหนองเต่าดำ หมู่ที่ 4 ตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า หมู่บ้านหนองเต่าดำเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทของจังหวัดพิษณุโลก จากคำบอกเล่าและเอกสารหลักฐานแสดงถึงหมู่บ้านหนองเต่าดำก่อตั้งมาเกือบ 100 ปี ในอดีตและปัจจุบันหมู่บ้านหนองเต่าดำมีสภาพเศรษฐกิจแบบสังคมเกษตรกรรม ปลูกข้าว ทำนาเป็นหลัก ชาวไทยทรงดำบ้านหนองเต่าดำมีความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่เหนือธรรมชาติมาก เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ตนเองและเกิดความสบายใจ ความเชื่อที่มีมาตั้งแต่อดีตจะแฝงไปด้วยคุณค่าและความหมายและจะออกมาในรูปแบบการประกอบพิธีกรรม ปัจจุบันนี้รูปแบบการปฏิบัติพิธีเสนเรือนของชาวไทยทรงดำได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตและให้ความสำคัญกับประเพณีเสนเรือนน้อยลง เพราะว่าชาวไทยทรงดำในปัจจุบันไม่ทราบถึงคุณค่าและความหมายของประเพณีเสนเรือน เพียงแต่ยึดถือและปฏิบัติตามบรรพบุรุษที่เคยประกอบพิธีเท่านั้น สาเหตุเหล่านี้เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ปัจจัยที่ทำให้ประเพณีเสนเรือนเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ปัจจัยทางด้านการศึกษา ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านประชากร นอกจากนี้ยังส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยทรงดำที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย
         ในพิธีเสนเรือน ของชาวไทยดำนั้น อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นทั้งเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่แสดงถึงความเคารพและระลึกถึง อีกทั้งยังใช้เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมด้วย และใช้เลี้ยงแขกที่มาร่วมงานด้วย พิธีเสนเรือนของชาวไทยดำนั้นจะขาดอาหารไม่ได้ 
         ผู้วิจัยเห็นความสำคัญและต้องการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ด้านความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไทยทรงดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรเพราะอาหารของชาวไทยทรงดำในยามภาวะปกติจะไม่แตกต่างจากชาวไทยทั่วไป แต่หากมีพิธีกรรม อาทิ พิธีเสนเรือน เสนเรียกขวัญ เสนผีขึ้นเรือน ฯลฯ จำเป็นต้องมีอาหารพิเศษซึ่งจัดเป็นอาหาร สำหรับงานพิธีดังกล่าวโดยเฉพาะ
         อาหารในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร จะต้องมีดังต่อไปนี้
         1. หมู 1 ตัว
         2. แกงหน่อส้ม (แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่)
         3. แกงบอน
         4. จุ๊บผัก (ยำผัก)
         5. ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู (ต้มจืดฟักใส่กระดูกหมู)
         6. ไก่ซ้อง (ไก่ที่ต้มในน้ำแกงหน่อส้ม)
         7. เลือดต้า (ลาบเลือดดิบ)
         โดยในการประกอบพิธีเสนเรือนดังกล่าวจะต้องประกอบจากหมู 1 ตัว หากไม่มีอาหารดังที่กล่าวมา จะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้  ซึ่งจะขอกล่าวถึงส่วนประกอบและวิธีทำของอาหารดังกล่าว ดังนี้
         1. แกงหน่อส้ม หรือ แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่ (ไก่ซ้อง) ในการแกงหน่อส้มของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         ส่วนประกอบของแกงหน่อส้ม ประกอบด้วย
             1. หน่อส้ม (หน่อไม้ดอง)
             2. กะทิ
             3. ไก่ (พร้อมเครื่องใน)
             4. เครื่องแกง ประกอบด้วย พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ
             5. น้ำปลา
         วิธีทำ
             1. ต้มหน่อไม้ดองในน้ำเปล่าให้หายกลิ่นหืนและลดความเปรี้ยวลง
             2. ตำเครื่องแกงให้แหลก และใส่กะปิหลังสุด
             3. นำหน่อไม้ดองที่ต้มในข้อที่ 1 ต้มใส่กับกะทิ (หางกะทิ)
             4. หั่นไก่โดยแยกชิ้นส่วนโดยแยกดังนี้ ส่วนหัวและลำคอติดกัน ปีกถึงอก น่อง 2 ข้าง ขา 2 ขา ออกจากตัว มัดร้อยด้วยตอกเป็นพวง ร้อยเครื่องในให้เป็นพวง
             5. ผัดเครื่องแกงกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อไก่ผัดกับเครื่องแกงให้สุก
             6. นำหน่อไม้ที่ต้มกับกะทิใส่ลงไปผัด และเติมน้ำกะทิที่เหลือให้น้ำท่วม เคี่ยวต่อไปจนน้ำเดือด
             7. นำพวงไก่และเครื่องใน ใส่ลงไปในหม้อแกงที่เดือด
             8. ปรุงรสด้วยน้ำปลา
             9. เมื่อพวงไก่และเครื่องในสุกให้นำออกจากหม้อแกงแยกไว้ต่างหากเพื่อทำไก่ซ้องต่อไป
         แกงหน่อส้มที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ความเชื่อของแกงหน่อส้มจะทำให้บ้านนั้นอยู่ดีมีสุข เพราะบ้านของชาวไทยดำในหนึ่งปีต้องมีการดองหน่อไม้ดองไว้กิน หากบ้านใดไม่มีการดองหน่อไม้ดองไว้จะทำให้บ้านนั้นอยู่ไม่เป็นสุข ไม่เจริญ เป็นกุศโลบายที่สั่งสอนลูกหลานของชาวไทยดำให้รู้จักเตรียมตัวไว้สำหรับยามขาดแคลนอาหารในฤดูกาลอื่น เพราะหน่อไม้จะมีเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ชาวไทยดำมีคำเปรียบเทียบว่า “แกงหน่อส้มคือแกงผู้ใหญ่ ต้มฟักคือกำนัน” หากกระทำงานใดจะขาดแกงหน่อส้มไม่ได้ แกงหน่อส้มนี้จึงจะต้องแกงทุกงานที่ชาวไทยดำประกอบขึ้นยกเว้น งานแต่งงานของชาวไทยดำ
         2. ไก่ซ้อง เป็นไก่เสียงทายดูที่ตีนไก่ ถ้าแบออกหรือเกยกัน จะไม่ดี ต้องโค้งเรียงกันอย่างเป็นระเบียบจะดีหากินขึ้น หากตีนไก่ขยุ้มเนื้อติดมาด้วยแสดงว่าจะเกิดลางร้าย คือ คนในครอบครัวจะเสียชีวิต “ซ้ายผู้มา ขวาผู้อยู่” คือ ซ้ายเป็นตัวแทนของหมอประกอบพิธี ขวาคือบ้านของคนที่เสนเรือน
         3. ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู (ต้มจืดฟักใส่กระดูกหมู)
         ส่วนประกอบของต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู ประกอบด้วย
             1. ฟักเขียว
             2. กระดูกหมู
             3. ต้มหอม ผักชี
             4. เกลือ
         วิธีทำ
             1. นำกระดูกหมูหั่นเป็นชิ้นแล้วนำไปต้มเพื่อนำไขมันออกแล้วตักพักไว้
             2. ตั้งหม้อต้มน้ำจนเดือด ใส่เกลือลงไป
             3. นำหมูที่ต้มแล้ว ใส่หม้อต้มเคี่ยวจนสุก
             4. นำฟักใส่ลงไปต้มกับหมูจนสุก
             5. นำหอม ผักชี หั่นแล้วโรยในหม้อต้มเพื่อเพิ่มความหอม
         การต้มมะแฟงใส่กระดูกหมูที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ทำให้การทำมาหากินดีขึ้น ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ซึ่งในการทำพิธีเสนเรือน หากขาดต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู จะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้
         3. แกงบอน แกงบอนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         ส่วนประกอบของแกงบอน ประกอบด้วย
             1. บอนหวาน
             2. หมูสามชั้น
             3. เครื่องแกง ประกอบด้วย พริก หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ กะปิ มะแข่น
             4. กะทิ (หัวกะทิ)
             5. น้ำปลา หรือเกลือ
             6. น้ำตาลปี๊บ
             7. มะขามเปียก
         วิธีทำ
             1. ปอกบอนแล้วหั่น ล้างให้สะอาดแล้วนึ่งให้สุก
             2. นำเครื่องแกงที่โขลกแล้วผัดกับหัวกะทิขลุกขลิก นำหมูที่หั่นแล้วลงไปผัดกับเครื่องแกง
             3. แล้วเติมกะทิพอท่วมเนื้อหมูจนเดือดแล้วใส่บอนที่นึ่งลงไป
             4. ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียก
             แกงบอนที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ทำให้ชีวิตราบรื่น ไม่มีอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ซึ่งในการทำพิธีเสนเรือน หากขาดแกงบอน จะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้
         4. จุ๊บผัก ของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         ส่วนประกอบของจุ๊บผัก ประกอบด้วย
             1. ผักหวาน
             2. ถั่วฝักยาว
             3. เห็ดลม
             4. เครื่องยำ ประกอบด้วย พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม มะแข่น ข่า ตะไคร้
             5. น้ำปลาร้า
         วิธีทำ
             1. คั่วเครื่องยำให้หอม
             2. ตำเครื่องยำที่คั่วแล้วให้ละเอียด
             3. นึ่งผักหวาน ถั่วฝักยาว และเห็ดลมให้สุก
             4. นำผักที่นึ่งสุกแล้วมาหั่นให้ละเอียด
             5. นำผักที่หั่นคลุกเล้ากับเครื่องยำ และปรุงรสด้วยน้ำปลาร้าต้มสุก
         จุ๊บผักมีความเชื่อว่า เป็นตัวแทนของอาหารทุกอย่าง อาหารในการเซ่นบรรพบุรุษแต่ละคน จะเป็นจุ๊บที่ทำจากหมูเป็นชิ้น แต่คนร่วมงานกินจุ๊บที่เป็นหมูสับ

บทสรุป
         อาหารของชาวไทยดำในพิธีเสนเรือน จะต้องประกอบจากหมูหนึ่งตัว โดยมีรายการอาหารที่ต้องกระทำทุกครั้งที่กระทำพิธีเสนเรือนคือ 1. หมู 1 ตัว 2. แกงหน่อส้ม (แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่) 3. แกงบอน  4. จุ๊บผัก (ยำผัก) 5. ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู (ต้มจืดฟักใส่กระดูกหมู) 6. ไก่ซ้อง (ไก่ที่ต้มในน้ำแกงหน่อส้ม) 7. เลือดต้า (ลาบเลือดดิบ)   
         ความเชื่อที่ปรากฏในอาหารของชาวไทยดำมีดังนี้
         1. แกงหน่อส้ม (แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่) แกงหน่อส้มที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ความเชื่อของแกงหน่อส้มจะทำให้บ้านนั้นอยู่ดีมีสุข เพราะบ้านของชาวไทยดำในหนึ่งปีต้องมีการดองหน่อไม้ดองไว้กิน หากบ้านใดไม่มีการดองหน่อไม้ดองไว้จะทำให้บ้านนั้นอยู่ไม่เป็นสุข ไม่เจริญ เป็นกุศโลบายที่สั่งสอนลูกหลานของชาวไทยดำให้รู้จักเตรียมตัวไว้สำหรับยามขาดแคลนอาหารในฤดูกาลอื่น เพราะหน่อไม้จะมีเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ชาวไทยดำมีคำเปรียบเทียบว่า “แกงหน่อส้มคือแกงผู้ใหญ่ ต้มฟักคือกำนัน” หากกระทำงานใดจะขาดแกงหน่อส้มไม่ได้ แกงหน่อส้มนี้จึงจะต้องแกงทุกงานที่ชาวไทยดำประกอบขึ้นยกเว้น งานแต่งงานของชาวไทยดำ
         2. แกงบอน ที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ทำให้ชีวิตราบรื่น ไม่มีอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ซึ่งในการทำพิธีเสนเรือน หากขาดแกงบอนจะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้
         3. จุ๊บผัก (ยำผัก) ที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน  บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ จุ๊บผักมีความเชื่อว่า เป็นตัวแทนของอาหารทุกอย่าง อาหารในการเซ่นบรรพบุรุษแต่ละคน จะเป็นจุ๊บที่ทำจากหมูเป็นชิ้น แต่คนร่วมงานกินจุ๊บที่เป็นหมูสับ
         4. ไก่ซ้อง ที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ เป็นไก่เสียงทายดูที่ตีนไก่ ถ้าแบออกหรือเกยกัน จะไม่ดี ต้องโค้งเรียงกันอย่างเป็นระเบียบจะดีหากินขึ้น หากตีนไก่ขยุ้มเนื้อติดมาด้วยแสดงว่าจะเกิดลางร้าย คือ คนในครอบครัวจะเสียชีวิต “ซ้ายผู้มา ขวาผู้อยู่” คือ ซ้ายเป็นตัวแทนของหมอประกอบพิธี ขวาคือบ้านของคนที่เสนเรือน
         5. ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู (ต้มจืดฟักใส่กระดูกหมู) ที่ทำในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน บ่งบอกถึงความเชื่อดังนี้ ทำให้การทำมาหากินดีขึ้น ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ซึ่งในการทำพิธีเสนเรือน หากขาดต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู จะไม่สามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้
         จากการลงเก็บข้อมูลเรื่องความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีเสนเรือนของชาวไทยดำนั้น มีรูปแบบการทำที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง คือต้องประกอบอาหารจากหมูที่ทำพิธีเสนเรือนเท่านั้น อาหารที่ใช้พิธีเสนเรือนก็มีเอกลักษณ์เฉพาะ หากไม่มีหรือไม่ครบก็ไม่สามารถกระทำพิธีเสนเรือนได้ ได้แก่ แกงหน่อส้มใส่ไก่ (แกงหน่อไม้ดองใส่ไก่) ไก่ซ้อง ต้มมะแฟงใส่กระดูกหมู แกงบอน จุ๊บผักและเลือดต้า
         จะเห็นได้ว่าอาหารของชาวไทยดำ บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร มีลักษณะคล้ายกับอาหารของคนภาคกลาง แต่อาหารของชาวไทยทรงดำมีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งส่วนประกอบและวิธีทำ ชาวไทยทรงดำยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมของตนไว้ และยังคงความภาคภูมิในความเป็นชาติพันธุ์ไทยดำ เราสามารถเห็นอาหารของชาวไทยดำได้ในงานพิธีกรรมหรืองานทางการต่าง ๆ ของชาวไทยดำ ที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรได้จัดขึ้น ในฐานะที่เราเป็นคนนอกที่มองเห็นวัฒนธรรมของชาวไทยดำ มิควรที่จะปรับเปลี่ยน แต่ควรช่วยกันอนุรักษ์และส่งเสริม เพราะเป็นภูมิปัญญาและคติคำสอนที่ดีของแต่ละสังคมให้ดำรงอยู่บนรากเหง้าที่แท้จริง

คำสำคัญ : ความเชื่อ พิธีกรรมเสนเรือน ชาวไททรงดำ

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=05&nu=pages&page_id=2097

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2097&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,194

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 31,554

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 21,031

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,112

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,845

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,555

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 776

ปีใหม่ลูกข่าง

ปีใหม่ลูกข่าง

เป็นประเพณีเปลี่ยนฤดูกาลทำมาเลี้ยงชีพ จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ตรงกับเดือนอาข่า คือ “ท้องลาบาลา” คนทั่วไปนิยมเรียกประเพณีนี้ว่า ปีใหม่ลูกข่าง ประเพณีนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลทำมาหากิน ซึ่งภายหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์จากท้องไร่นา เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ฤดูแห่งการพักผ่อน ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย โดยผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมีการทำลูกข่าง “ฉ่อง” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,452

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,304

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 7,793